Logo site Amarintv 34HD
Logo LiveSearch
Search
Logo Live
Logo site Amarintv 34HD
ช่องทางติดตาม AMARINTV
  • facebook AMARIN TV 34 HD
  • x AMARIN TV 34 HD
  • line AMARIN TV 34 HD
  • youtube AMARIN TV 34 HD
  • instagram AMARIN TV 34 HD
  • tiktok AMARIN TV 34 HD
  • RSS Feed AMARIN TV 34 HD
การบินไทย ขาดทุนลดลง ผู้โดยสารเพิ่ม 180% รับอานิสงส์เปิดประเทศ
โดย : อมรินทร์ทีวีออนไลน์

การบินไทย ขาดทุนลดลง ผู้โดยสารเพิ่ม 180% รับอานิสงส์เปิดประเทศ

17 พ.ค. 65
16:00 น.
|
663
แชร์

บมจ.การบินไทย(THAI) แจ้งผลการดำนเนินงารไตรมาส 1 ปี 2565 มีผลขาดทุนสุทธิ 3,247 ล้านบาท ขาดทุนลดลง จากช่วงเดียวกันปีก่อนที่ขาดทุนสุทธิ 12,202.50 ล้านบาทหรือปรับปรับตัวดีขึ้น 73.4% โดยบริษัทฯ และบริษัทย่อยมีรายได้ไม่รวมรายการที่เกิดขึ้นครั้งเดียวรวม 11,181 ล้านบาท สูงกว่าปีก่อน 6,797 ล้านบาท หรือ 155%

 

เนื่องจากรายได้จากการขนส่งผู้โดยสารและสินค้าเพิ่มขึ้น 6,719 ล้านบาท หรือ 255.7% ขณะที่มีค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานไม่รวมรายการที่เกิดขึ้นครั้งเดียวรวม 14,348 ล้านบาท สูงกว่าปีก่อน 2,967 ล้านบาท จากปริมาณการผลิตและ/หรือปริมาณการขนส่งที่เพิ่มขึ้น รวมถึงราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลให้ขาดทุนจากการดำเนินงานก่อนต้นทุนทางการเงินไม่รวมรายการที่เกิดขึ้นครั้งเดียว 3,167 ล้านบาท ขาดทุนลดลงจากปีก่อน 3,830 ล้านบาท หรือ 54.7%

 

สำหรับในไตรมาส 1 ปี 2565 บริษัททำการบินและให้บริการเต็มรูปแบบในเส้นทางระหว่างประเทศ ตามที่รัฐบาลประกาศเปิดรับนักท่องเที่ยวตั้งแต่วันที่ 1 พ.ย. 2564 สอดคล้องกับปริมาณความต้องการเดนิทางรองรับการเดินทางของผู้โดยสารที่เพิ่มขึ้น 36 เส้นทางบินครอบคลุมภูมิภาคเอเชีย ยุโรป และออสเตรเลีย รวมถึงเส้นทางสนับสนุนโครงการ Phuket Sandbox อีกทั้งให้บริการขนส่งสินค้าทางอากาศร่วมกับการขนส่งผู้โดยสาร 30 เส้นทาง รองรับปริมาณความตอ้งการขนส่งสินค้าที่เพิ่มขึ้น

 

บริษัทฯและบริษัทย่อยมีปริมาณการผลิตด้านผู้โดยสาร (ASK) เพิ่มขึ้น 179.8% ปริมาณการขนส่งผู้โดยสาร (RPK) เพิ่มขึ้น 426.1% อัตราส่วนการบรรทุกผู้โดยสาร(Cabin Factor) เฉลี่ย 32.5% สูงกว่าปีก่อนที่เฉลี่ยอยู่ที่ 17.3% และมีจำนวนผู้โดยสารที่ทำการขนส่งรวม 1.02 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 142.9% ความต้องการขนส่งสินค้ามีปริมาณด้านการผลิตพัสดุภัณฑ์(ADTK) สูงกว่าปีก่อน 207.8% ปริมาณการขนส่งพสัดุภัณฑ์ (RFTK) สูงกว่าปีก่อน 128.3% อัตราส่วนการขนส่งพัสดุภัณฑ์ (Freight Load Factor) เฉลี่ยเท่ากับ 82.2% ขณะที่ก่อนเฉลี่ยเท่ากับ 110.8%

 

ทั้งนี้ ณ วันที่ 31 มีนาคม 2565 บริษัทฯ และบริษัทย่อยมีสินทรัพย์รวมจำนวน 162,423 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากวันที่ 31 ธันวาคม 2564 จำนวน 1,204 ล้านบาท หนี้สินรวมมีจำนวน 236,909 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจำนวน 4,439 ล้านบาท โดยมีส่วนของผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ และบริษัทย่อยติดลบจำนวน 74,486 ล้านบาท ติดลบเพิ่มขึ้นจำนวน 3,235 ล้านบาท โดยเป็นผลจากการขาดทุนจากการดำเนินงานของบริษัทฯ และบริษัทย่อย

 

ในช่วงไตรมาสที่ 1 ต่อเนื่อง 2 เดือนแรกของไตรมาสที่ 2 ของปี 2565 ปริมาณความต้องการเดินทางของผู้โดยสารมีการเติบโตต่อเนื่องอย่างมีนัยสำคัญ เป็นผลจากการที่รัฐบาลนำมาตรการ Test and Go กลับมาใช้ ดังจะเห็นได้จากจำนวนผู้โดยสารรวมเฉลี่ยของบริษัทฯ และสายการบินไทยสมายล์ในช่วง 10 วันแรกของเดือนพฤษภาคม 2565 เปรียบเทียบกับเดือนตุลาคม 2564 ปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็น 10,238 และ 10,870 คนต่อวันจาก 4,929 และ 269 คนต่อวัน สำหรับเส้นทางภายในประเทศและระหว่างประเทศตามลำดับ ขณะที่ปริมาณการขนส่งสินค้าเฉลี่ยต่อวันของบริษัทฯ กลับไปอยู่ในระดับร้อยละ 50 ของปี 2562 ก่อนการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19

 

สำหรับตั้งแต่ไตรมาสที่ 2 ของปี 2565 เป็นต้นไป การบินไทยและสายการบินไทยสมายล์ปรับเพิ่มความถี่เที่ยวบินไป-กลับในเส้นทางต่างๆ เพื่อรองรับปริมาณความต้องการเดินทางของผู้โดยสารทั่วโลกที่มีแนวโน้มฟื้นตัวอย่างรวดเร็วอันเป็นผลจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่เริ่มคลี่คลาย รัฐบาลประเทศต่างๆ ทั่วโลกทยอยยกเลิกหรือผ่อนคลายมาตรการควบคุมและจำกัดการเดินทางเพิ่มขึ้น

 

โดยในส่วนของประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2565 ที่ผ่านมา รัฐบาลได้ยกเลิกมาตรการการตรวจหาเชื้อไวรัสโควิด-19 เมื่อเดินทางเข้าประเทศสำหรับผู้โดยสารที่ได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์ และตรวจ RT-PCR ในวันที่ 4-5 หลังจากเดินทางมาถึงสำหรับผู้โดยสารที่ยังไม่ได้รับวัคซีนหรือได้รับแต่ยังไม่ครบตามเกณฑ์ ดังมีรายละเอียดเส้นทางบินที่มีการปรับเพิ่มความถี่และเปิดให้บริการใหม่ดังนี้

 

เส้นทางบินที่ปรับเพิ่มความถี่ในการให้บริการ

  • เชนไน (อินเดีย) จาก 5 เป็น 7 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ ตั้งแต่ 1 เมษายน 2565
  • เบงกาลูรู (อินเดีย) จาก 5 เป็น 7 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ ตั้งแต่ 1 เมษายน 2565
  •  นิว เดลี จาก 7 เป็น 14 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ ตั้งแต่ 1 เมษายน 2565
  • มุมไบ จาก 5 เป็น 7 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ ตั้งแต่ 1 เมษายน 2565
  •  ละฮอร์ (ปากีสถาน) จาก 3 เป็น 4 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ ตั้งแต่ 1 พฤษภาคม 2565
  • การาจี จาก 2 เป็น 3 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ ตั้งแต่ 1 พฤษภาคม 2565
  • อิสลามาบัด จาก 2 เป็น 3 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ ตั้งแต่ 1 พฤษภาคม 2565
  • ฮานอย จาก 7 เป็น 14 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ ตั้งแต่ 1 พฤษภาคม 2565
  • โฮจิมินห์ จาก 7 เป็น 14 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ ตั้งแต่ 1 พฤษภาคม 2565
  • พนมเปญ จาก 7 เป็น 14 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ ตั้งแต่ 1 พฤษภาคม 2565
  • เมลเบิร์น จาก 4 เป็น 7 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ ตั้งแต่ 17 พฤษภาคม 2565
  • ลอนดอน จาก 11 เป็น 14 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ ตั้งแต่ 29 พฤษภาคม 2565
  • จาการ์ตา จาก 3 เป็น 7 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ ตั้งแต่ 1 มิถุนายน 2565
  • ธากา (บังคลาเทศ) จาก 7 เป็น 10 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ ตั้งแต่ 1 มิถุนายน 2565
  • แฟรงก์เฟิร์ต จาก 10 เป็น 14 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ ตั้งแต่ 25 มิถุนายน 2565
  • ไทเป จาก 4 เป็น 7 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ ตั้งแต่ 1 กรกฎาคม 2565
  • สิงคโปร์ จาก 10 เป็น 14 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ ตั้งแต่ 1 กรกฎาคม 2565
  • โคเปนเฮเกน จาก 5 เป็น 7 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ ตั้งแต่ 1 กรกฎาคม 2565
  • มิวนิก จาก 5 เป็น 7 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ ตั้งแต่ 1 กรกฎาคม 2565
  • ซูริก จาก 5 เป็น 7 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ ตั้งแต่ 1 กรกฎาคม 2565

 

เส้นทางบินที่เปิดให้บริการเพิ่มเติม 

  •  ปีนัง 4 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ ตั้งแต่ 1 พฤษภาคม 2565
  • เวียงจันทน์ 3 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ ตั้งแต่ 1 พฤษภาคม 2565
  •  บาหลี (เดนปาซาร์) 4 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ ตั้งแต่ 1 พฤษภาคม 2565
  • เพิ่มเป็น 7 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ ตั้งแต่ 18 มิถุนายน 2565
  •  ไฮเดอราบัด วันละ 1 เที่ยวบิน ตั้งแต่ 13 พฤษภาคม 2565
  • ย่างกุ้ง วันละ 1 เที่ยวบิน ตั้งแต่ 1 มิถุนายน 2565
  • โตเกียว (ฮาเนดะ) วันละ 1 เที่ยวบิน ตั้งแต่ 1 กรกฎาคม 2565
  •  เกาสง (ไต้หวัน) วันละ 1 เที่ยวบิน ตั้งแต่ 1 กรกฎาคม 2565
  •  บรัสเซลส์ 3 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ ตั้งแต่ 2 กรกฎาคม ถึง 30 สิงหาคม 2565

 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

1.การบินไทย ทยอยขายทรัพย์สิน เอาเงินปลดหนี้แล้ว 1,400 ล้านบาท โละขายที่ดิน ตึก และหุ้น

 

2.สนมั้ย? เก้าอี้เครื่องบิน Limited "บินไทย" ไลฟ์ขายวันนี้ บ่าย 2 คู่ละ 35,000 บาท

 

3.การบินไทยเปิด 34 เส้นทางทั่วโลก พร้อมแจ้งแผนปรับโครงสร้างการเงิน แก้ปัญหาส่วนผู้ถือหุ้นติดลบกับ ตลท

 

4.การบินไทย ขาดทุนหนัก เกือบ 2 หมื่นล้านบาท หวังปีหน้าเริ่มมีกำไรตามแผนฟื้นฟูฯ

 

5.เปิดแล้ว Cargo-in-Cabin การบินไทย บริการขนสินค้า ในห้องโดยสาร หารายได้เพิ่ม

แชร์
การบินไทย ขาดทุนลดลง ผู้โดยสารเพิ่ม 180% รับอานิสงส์เปิดประเทศ