โดยนางงามรุ่นพี่อย่าง บิ๊นท์ สิรีธร ลีห์อร่ามวัฒน์ นางสาวไทย ปี 2562 และมิสอินเตอร์เนชั่นแนล 2019 ที่ครองตำแหน่งต่อถึง 3 ปีซ้อน ได้ออกมาฟันธงว่า MUT 27 แอนชิลี สก๊อต-เคมมิส จะเป็นผู้มงกุฎ Miss Universe Thailand 2021 มาครอง โดยได้เขียนข้อความระบุว่า
“คืนหมาหอนของเวทีนางงามแล้ว! ตอนแรกคิดว่าจะออกมาเคาะดีไหม? แต่บิ๊นท์เองก็เป็นคนนึงที่ชอบดูนางงามมาตั้งแต่ก่อนเข้าวงการนี้ บวกกับไม่ได้มีส่วนได้ส่วนเสีย ผู้ให้คะแนน หรือเป็นกรรมการของเวที และคนนี้อาจไม่ได้เป็นผู้ชนะก็ได้ หรือถ้าคนอื่นได้ ก็เชียร์อยู่ดี เพราะชอบน้องๆมาก ดังนั้นจากการที่ติดตามรุ่นนี้มาตลอด
ขอเคาะ คนมง แอนชิลี เหตุผลคือ ชอบตั้งแต่น้องเปิดตัวมาเลย เพราะใบหน้าเต็มดวง หุ่นนักกีฬา อวบนิดๆ แต่มีสเน่ห์จัง บวกกับคอนเซปต์หรือสิ่งที่น้องตั้งใจมาประกวดคือ #realsizebeauty ก็ซื้อเลย
เพราะตอนแรกเราคิดว่าน้องจะมาพลัสไซส์บิวตี้แน่ๆ แต่พอเป็น realsize มันคือเชิงลึกลงไปที่ว่า ในวันนึงฉันอาจอ้วนกว่านี้ หรือผอมกว่านี้ แต่นั่นคือสิ่งที่ฉันทำแล้วพอใจ มีความสุข และรักร่างกายฉัน
ดังนั้น hashtag นี้มันลึกลงไปกว่า appearance ภายนอก แต่มันบอกถึงความรักและมั่นใจในตัวเองจากภายใน เราเกทเมสเสจเพราะว่าเราเคยอยู่ในจุดที่เป็นสาวอวบ แล้วมาประกวดนางงาม และไม่ meet standard
ซึ่งเข้าใจคนคอมเม้นท์ได้ เพราะในจุดนั้น เรายังอยู่ใน beautyqueen standard เราอาจพูดหรือนำสังคมได้ยาก ถ้าเราไม่ได้ทำให้คน ‘เชื่อมั่น’
ความเชื่อมั่นถ้าดูง่ายๆก็คือ คุณประสบความสำเร็จรึยังล่ะ ? ถ้าคุณจะพูดว่า สวยอย่างแตกต่างแบบคุณก็เป็นนางงามได้? เป็นได้จริงมั้ย? ถ้าจริง คนก็พร้อมจะฟังเธอ ว่าอะไรที่ทำให้เธอสำเร็จโดยไม่ต้อง meet standard ครบทุกข้อ
ซึ่งในวันที่บิ๊นท์ได้มงแล้ว คำถามจากน้องๆมาเยอะมากว่า ถ้าหนูไม่สวย หนูประกวดได้ไหมคะ? ถ้าโครงใหญ่ประกวดดีไหม กลัวคนล้อ? ปัญหานี้ถ้าดูให้ผิวเผินก็อาจไม่มีอะไร แต่มันคือเปลือกในใจของเด็กในการเติบโตเลยนะ
บางคนกั้นตัวเองจากการเป็นนางงาม เพราะคิดว่าตัวเขาไม่ meet standard บางคนไม่กล้าสมัครเป็นแอร์ เพราะคิดว่าสวยไม่พอ
แต่จริงๆแล้ว standard เรื่องความงามมันมีอยู่จริงรึป่าว? ก็ในเมื่อเราเกิดมาก็แตกต่างและ unique ขนาดนี้ ถ้าเรากำหนด standard ด้วยตัวเองจะดีกว่าไหม ในเมื่อเราเป็นคนเดียวที่รู้จักตัวเองที่สุด
ดังนั้นถ้าจะมีใครตั้ง standard อะไร คนคนนั้นควรเป็นเราเองเราเลยเห็นภาพน้องแอนว่า เขาคือรูปธรรมของ beauty diversity จริงๆ เราใช้คำนี้เพราะ beauty standard มันมีอยู่ในใจคนทุกคนอยู่แล้ว อย่างสเปคงี้ หรือแม้แต่เรื่องง่ายๆอย่างสีที่ชอบ
อย่างบิ๊นท์ชอบสีชมพูมาก แต่จะบอกว่า สีชมพูสวยกว่าสีฟ้าเยอะจ้ะ! สีฟ้าไม่เห็นสวยเลย ก็ไม่ใช่ เพราะบางจังหวะที่เรามองท้องฟ้า การเห็นสีฟ้ามันก็สวยในพื้นที่ของมันนะ เนี่ยแหละคือ beauty diversity
ซึ่งถ้าน้องแอนประสบความสำเร็จ น้องก็จะเป็นรูปธรรมนึงที่ทำให้ younger generation มั่นใจในตัวเองจริงๆ และเห็นคุณค่า และไม่ยอมให้มาตรฐานความสวยงามภายนอกมาสกัดตัวเองในการจะทำอะไรสักอย่าง รวมถึงการทำงานในรูปแบบอื่นด้วย ไม่ใช่แค่การเป็นนางงาม
เราจึงมองเห็นศักยภาพของน้องคนนี้ที่จะทำให้คนที่ได้เห็น มีพลังในการเดินต่อไปอย่างมั่นใจในความเป็นตัวเองจริงๆ ❤️
Advertisement