ทั้งนี้ สถานการณ์การจำหน่ายอาหารตามสั่งและก๋วยเตี๋ยว เมนูหมูหลายพื้นที่เริ่มมีการปรับขึ้นราคากันอย่างต่อเนื่อง โดยส่วนใหญ่ทางร้านจำหน่ายได้ปิดป้ายแจ้งขออภัยลูกค้าว่าจำเป็นต้องปรับขึ้นราคา เนื่องจากหมูเนื้อแดงมีราคาสูงขึ้นจากที่เคยซื้อปกติ 160 บาท เป็น 200 บาท และราคาเริ่มทะลุเกิน 200 บาท ทำให้ต้นทุนเพิ่มสูงขึ้น
ขณะเดียวกัน พบว่ามีการปรับขึ้นราคาเมนูละ 5 บาท และบางร้านปรับขึ้นทีละ 10 บาทก็มี เช่น จากเดิมเคยขาย 35 บาทก็ปรับเป็น 40 บาท หรือขาย 40 บาท ก็ปรับเป็น 50 บาท เป็นต้น แต่ก็มีบางร้านที่ตัดสินใจเลิกขาย เปลี่ยนไปขายเมนูจากเนื้อสัตว์ชนิดอื่น หรือหยุดขายไปก่อนในช่วงนี้ เช่น ร้านหมูปิ้ง หมูทอดเจียงฮาย ตามริมถนน เป็นต้น
นอกจากนี้ ยังพบว่า บางร้านได้ปรับราคาเมนูอาหารชนิดอื่น ๆ สูงขึ้นตามไปด้วย อาทิ อาหารตามสั่งที่ หรือก๋วยเตี๋ยวที่ใช้ไก่เป็นวัตถุดิบ หรือใช้อาหารทะเลเป็นวัตถุดิบ ซึ่งทางร้านอ้างว่าต้นทุนเพิ่มสูงขึ้นด้วย
ด้านผู้บริโภคอยากให้กระทรวงพาณิชย์เข้ามาดูแล เพราะหากดูจากต้นทุนหมูเนื้อแดง ที่ปรับขึ้นจาก 160 บาทเป็น 200 บาท เพิ่มขึ้น 40 บาท แต่เนื้อหมู 1 กิโลกรัม สามารถทำอาหารตามสั่งได้ 20-30 จาน หรือทำก๋วยเตี๋ยวได้ 30-40 ชาม การปรับขึ้นราคาทีละ 5-10 บาท เป็นการเอากำไรเกินควรกว่าต้นทุนที่เพิ่มขึ้น และผลักภาระให้ผู้บริโภคเกินจำเป็น โดยเห็นว่า การปรับขึ้นราคา ควรจะขึ้นเท่าที่จำเป็น ส่วนอาหารที่ใช้วัตถุดิบอื่น ที่ไม่ใช่หมู ก็ควรที่จะคงราคาเดิม เพราะไม่ได้รับผลกระทบ
อย่างไรก็ตาม ผู้บริโภคยังมีความกังวลว่า การปรับขึ้นราคาตามต้นทุนหมูเนื้อแดงที่สูงขึ้นในครั้งนี้ จะเป็นการขึ้นแล้วขึ้นเลย เหมือนกับที่เคยเกิดขึ้นก่อนหน้านี้ ที่ไม่ว่าต้นทุนวัตถุดิบอะไรขึ้น เมื่อมีการปรับขึ้นราคา แล้วพอราคาวัตถุดิบลง ก็ไม่มีการปรับลงตาม
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
- หมูแพง ข้ามปี ปรับขึ้นอีก 6-8 บาท ราคาเกินกิโลกรัมละ 200 ทั่วประเทศ แม้ค้าโอดขาดทุนตั้งแต่ยังไม่ขาย
- หมูแพง ทำเดือดร้อนหนัก ร้านอาหาร แห่ขึ้นราคา-เปลี่ยนวัตถุดิบ
- นายกฯ สั่ง ก.พาณิชย์ เร่งแก้ หมูแพง วอนห้างร้านปลีก-ส่ง ช่วยตรึงราคา
Advertisement