ย้อนรอยคดีดัง อาชญากรข้ามชาติ จงใจแพร่เชื้อ HIV ให้ผู้อื่นโดยเจตนาผิดกฎหมายหรือไม่ หลังชาวเน็ตสงสัยกรณีนักศึกษา one night stand 7 เดือน
จากกรณีของนักศึกษามหาวิทยาลัยดังแห่งหนึ่ง โพสต์ข้อความสารภาพผิด หลังตนเองได้ไปเที่ยวสถานบันเทิงและจบด้วย one night stand กับผู้ชายมาแล้วกว่า 7 เดือน โดยที่ตัวเธอนั้นระบุเอาไว้ว่าเธอป่วย HIV แต่กำเนิด และไปเที่ยวเพราะอกหักตอนนี้รู้สึกผิดมาก เป็นห่วง อยากให้ทุกคนไปตรวจ พร้อมเธอบอกให้ "อโหสิกรรม" ให้เธอด้วย
ภายหลังจากที่โพสต์ดังกล่าวของเธอถูกเผยแพร่สู่โลกออนไลน์ก็ได้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์เป็นอย่างมาก ถึงพฤติกรรมที่ไม่รับผิดชอบต่อสังคม พร้อมกับบางส่วนยังได้ตั้งข้อสงสัยว่า การกระทำของเธอนั้นผิดกฎหมาย หรือสามารถถูกดำเนอนคดีตามกฎหมายได้หรือไม่
ย้อนไปเมื่อปี 2560 มีคดีของชาวต่างชาติรายหนึ่งซึ่งจงใจแพร่เชื้อ HIV สู่ผู้อื่น ทั้งชายและหญิง อีกทั้งยังพยายามก่อคดีกับผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปีอีกด้วย โดยกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวถึงกรณีตำรวจทำการจับกุม นายเซเดนิก ไฟยเฟอร์ อายุ 50 ปี สัญชาติเช็ก ในฐานะเป็นอาชญากรข้ามชาติ ก่อคดีล่วงละเมิดทางเพศ
นพ.เจษฎา โชคดำรงสุข ขณะนั้น ดำรงตำแหน่งเป็น อธิบดีกรมควบคุมโรค (คร.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า เชื้อเอชไอวีไม่ได้ติดต่อกันง่ายๆ สามารถติดต่อได้แค่ 3 ช่องทางหลัก คือ การมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน การใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน และการถ่ายทอดเชื้อเอชไอวีจากแม่สู่ลูก
นพ.สุเมธ องค์วรรณดี กล่าวว่า สำหรับคนที่เคยมีเพศสัมพันธ์กับชายคนดังกล่าว หากเพิ่งมีเพศสัมพันธ์ภายใน 1 - 2 วันนี้ สามารถไปพบแพทย์เพื่อแจ้งการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ปลอดภัย ซึ่งแพทย์จะจ่ายยาเพร็พ (Prep) ให้กิน ซึ่งยานี้จะต้องกินภายใน 24 - 48 ชั่วโมง ภายหลังจากการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ปลอดภัย กินต่อเนื่อง 28 วัน จากนั้นจึงควรตรวจเลือดว่ามีเชื้อหรือไม่ หากไม่มีก็สามารถหยุดกินยาได้ ซึ่งยาตัวนี้เป้นยาตัวเดียวกับที่เวลาบุคลากรทางการแพทย์เกิดอุบัติเหตุถูกเข็มตำ หรือกรณีถูกข่มขืน ซึ่งจะได้รับยานี้เพื่อป้องกันการติดเชื้อ
อย่างไรก็ตาม หากมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ปลอดภัย ไม่ได้ป้องกัน ก็ขอให้ไปทำการตรวจหาการติดเชื้อ ซึ่งทุกคนมีสิทธิตรวจฟรีปีละ 2 ครั้งที่โรงพยาบาลรัฐทุกแห่ง ซึ่งสามารถทราบผลได้ในวันเดียว และหากมีการติดเชื้อก็จะได้รับยาต้านไวรัสฟรีตามสิทธิ
นพ.ธนรักษ์ ผลิพัฒน์ กล่าวว่า พ.ร.บ. โรคติดต่อ พ.ศ. 2558 ไม่ครอบคลุมเอาผิดผู้ติดเชื้อรายนี้ เพราะจะครอบคลุมในเรื่องของโรคติดต่อเฉียบพลัน อย่างกรณีโรคเมอร์ส หรือโรคทางเดินหายใจตะวันออกกลาง หากผู้ป่วยจงใจแพร่เชื้อให้แพทย์ แบบนี้เอาผิดได้ แต่กรณีผู้แพร่เชื้อเอชไอวี ไม่เคยมีมาก่อน
นอกจากนี้เว็บไซต์ hivnorge ยังได้ระบุข้อมูลเอาไว้ว่า ท่านไม่มีหน้าที่ในการให้ข้อมูลใด ๆ ว่าท่านเป็นผู้หนึ่งที่ใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับเชื้อเอชไอวี (hiv) แต่กระนั้นเรายังคงแนะนำให้ท่านเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวให้แพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป/แพทย์ประจำตัวของท่าน (fastlege) ทราบ ทั้งนี้ก็เพื่อให้แพทย์สามารถดำเนินการติดตามสุขภาวะของท่าน ว่าได้รับการดูแลเป็นอย่างดี และตรวจสอบให้แน่ใจว่าการรักษาอื่นใดที่ท่านได้รับอยู่จะไม่ส่งผลกระทบต่อการทำงานของยารักษาโรคเชื้อเอชไอวี (hiv) ที่ท่านได้รับ และที่สำคัญยิ่งไปกว่านั้นคือแพทย์ควรทราบว่าคนไข้ของตนเป็นผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นผู้ป่วยโรคติดเชื้อเอชไอวี (hiv)
กฎหมายอาญามาตรา ๒๓๗ บัญญัติเกี่ยวกับการแพร่เชื้อโรคที่เป็นโรคติดต่ออันตรายระหว่างมนุษย์ เนื้อหาในมาตรานี้กล่าวถึงการแพร่เชื้อและการทำให้ผู้อื่นมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ แต่ในที่นี่หมายถึงการแพร่กระจายเฉพาะเชื้อที่มีอันตรายเท่านั้น การทำให้ผู้อื่นติดเชื้อเอชไอวี (hiv) จึงเป็นส่วนหนึ่งซึ่งถูกกำหนดไว้ภายใต้บทบัญญัติของกฎหมายในมาตรานี้ แต่ทั้งนี้ก็ยังคงมีข้อยกเว้นหลายประการ
Advertisement