สรุปประเด็นร้อน "CPTPP" ความตกลงทางการค้าที่ "ไทย" อาจได้ไม่คุ้มเสีย?!

27 เม.ย. 63

27 เม.ย. 2563 "CPTPP" กลายเป็นประเด็นร้อนขึ้นมาอีกครั้ง เมื่อ กระทรวงพาณิชย์ ทำเรื่องไปถึงเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เพื่อขอให้คณะรัฐมนนตรีเห็นชอบ
การขอเจรจาเข้าร่วมความตกลง CPTPP ของไทย หลังจากที่คณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ หรือ กนศ. ที่มีนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ เป็นประธาน เห็นชอบไปเมื่อ
เดือนกุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา


แม้ตลอดมาในส่วนของภาคประชาชนจะไม่เห็นด้วย รวมถึง กระทรวงสาธารณสุข หน่วยงานของรัฐบาลเคยออกมาค้านสุดตัว พร้อมจัดทำรายงาน กางให้เห็นกันจะจะถึง "ความเสียหาย"
ที่จะกระทบต่อสุขภาพ
เศรษฐกิจ ตลอดจนความมั่นคงของประเทศ หากเข้าไปเป็นสมาชิก CPTPP



CPTPP
คืออะไร?
เดิมความตกลงทางการค้าเริ่มในปี 2006 ภายใต้ชื่อ TPP (Trans-Pacific Partnership)
มีสมาชิก 12 ประเทศ คือ
ญี่ปุ่น แคนาดา เม็กซิโก เปรู ชิลี ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ สิงคโปร์ มาเลเซีย บรูไน เวียดนาม และสหรัฐฯ ประเทศหัวเรือใหญ่ แต่ได้ถอนตัวไปเมื่อปี 2017
ทำให้คงเหลือ 11 ประเทศ ก่อนจะเปลี่ยนมาเป็น

CPTPP โดยมีชื่อเต็มว่า Comprehensive and Progressive Agreement of Trans-Pacific Partnership หรือ ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก เป็นความตกลงการค้าเสรีที่ครอบคลุมในเรื่องการค้า การบริการ และการลงทุนเพื่อสร้างมาตรฐานและกฎระเบียบร่วมกันระหว่างประเทศสมาชิก ทั้งในประเด็นการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา มาตรฐานแรงงาน กฎหมายสิ่งแวดล้อม รวมถึงกลไกแก้ไขข้อพิพาทระหว่างรัฐบาลและนักลงทุนต่างชาติ 

939549


อ้าง "ผลประโยชน์" ที่ไทยจะได้หากเข้าร่วม
1. เพิ่มโอกาสการส่งออกของไทยไปยังประเทศสมาชิก CPTPP

2. การลงทุนจากต่างประเทศ การเข้าร่วม CPTPP จะช่วยดึงดูดการลงทุนที่ต้องการใช้ไทยเป็นฐานการผลิตเพื่อส่งออกไปยังประเทศสมาชิก CPTPP ซึ่งหากไทยไม่เข้าร่วม เราอาจจะเสียโอกาสตรงนี้ให้มาเลเซียกับเวียดนามไป

3. เพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันทางการค้าของไทย จากการปรับปรุงกฎระเบียบภายในประเทศเพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐานของ CPTPP ที่ได้ชื่อว่าเป็นความตกลงทางการค้าคุณภาพสูง ตัวอย่างกฎเกณฑ์ที่ CPTPP สนับสนุน ได้แก่ กฎหมายสิทธิแรงงาน การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การสนับสนุนการแข่งขันอย่างเท่าเทียมระหว่างธุรกิจชาวท้องถิ่นและชาวต่างชาติ เป็นต้น

ซึ่งการปฏิรูปกฎหมายเหล่านี้จะเป็นผลบวกกับไทยในระยะยาว
นอกจากนี้ เพราะ CPTPP มีกฎเกณฑ์ที่ผ่อนปรนขึ้นกว่า TPP ทำให้ไทยได้ประโยชน์ในส่วนนี้เช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น ในอุตสาหกรรมยา TPP เคยบังคับให้ประเทศสมาชิกต้องยอมรับการผูกขาดด้านยาเพิ่มขึ้น ทำให้การเข้าถึงยาสามัญเป็นเรื่องยากสำหรับภาครัฐและประชาชนทั่วไป ค่าใช้จ่ายด้านการรักษาพยาบาลก็จะยิ่งสูงตาม แต่สุดท้ายข้อตกลงนี้ถูกระงับไป ไทยจึงไม่จำเป็นต้องเสียประโยชน์ส่วนนี้แล้ว หากต้องการเข้าร่วมกับ CPTPP

 

ในแง่ "ธุรกิจ" อาจเป็นเช่นนั้น แต่ "กระทรวงสาธารณสุข" เห็นต่าง ชี้เป็นการได้ไม่คุ้มเสีย มองให้ลึก CPTPP จะสร้างความเสียหายยับเยินแก่ประเทศ

ความกังวลต่อ การเข้าถึงยาต้านเชื้อไวรัสเอชไอวี และยามะเร็ง คนไทยอาจเข้าถึงยายากขึ้น เพราะการเข้าร่วมข้อตกลงดังกล่าว จะทำให้ใช้ยาที่มีสิทธิบัตรคุ้มครองโดยไม่ต้องขออนุญาตจากเจ้าของสิทธิบัตร (CL ยา) ได้ยากขึ้น


ซึ่งสอดคล้องกับ นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกฯ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวในที่ประชุมผู้บริหารกระทรวง ระบุว่าการจะแลกมาซึ่งผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจและการขยายตัวทางการค้า การส่งออก กับความมั่นคงของระบบสาธารณสุขไทย เป็นสิ่งที่ไม่คุ้มค่า และไม่มีอะไรเป็นหลักประกันได้ว่า การเข้าร่วมในข้อตกลง CPTPP ประเทศไทย จะได้ประโยชน์มากกว่าเสียประโยชน์

 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

"พิธา" ชูป้ายเบรก "CPTPP" ชี้เข้าล็อกอุ้มนายทุนใหญ่

advertisement

ข่าวยอดนิยม

ข่าวที่ได้รับความสนใจ