รัสเซียเผยคลิปลับ "ซาร์ บอมบา" ปรมาณูลูกใหญ่สุดในประวัติศาสตร์

27 ส.ค. 63

รัสเซียเผยคลิปลับ "ซาร์ บอมบา" ระเบิดปรมาณูลูกใหญ่สุดในประวัติศาสตร์ ในปี 2504 รุนแรงกว่าระเบิดปรมาณูที่ถล่มฮิโรชิมากว่า 3.3 พันเท่า

สำนักงานนิวเคลียร์แห่งชาติรัสเซีย ปล่อยคลิปวีดีโอสารคดีการทดสอบระเบิดไฮโดรเจนที่ชื่อว่า ซาร์ บอมบา (Tsar Bomba) ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม ปี 2504 ในยุคสมัยที่รัสเซียยังเป็นสหภาพโซเวียต โดยผู้ทำหน้าที่บันทึกภาพต้องเผชิญความยากลำบากในการบันทึกภาพระเบิดนิวเคลียร์นี้ ที่มีความร้อนอานุภาพทำลายล้าง 50 เมกะตัน หรือเทียบเท่าความรุนแรงของระเบิดแบบดั้งเดิม 50 ล้านตัน ซึ่งรุนแรงกว่าระเบิดนิวเคลียร์ที่สหรัฐทิ้งถล่มเมืองฮิโรชิมาของญี่ปุ่นถึง 3,333 เท่า

screenshot(19)

กล้องที่ตั้งอยู่ห่างจากจุดทดสอบระเบิดไกลออกมาหลายร้อยกิโลเมตร บันทึกช่วงเวลาเกิดลูกไฟขนาดใหญ่ลอยสูงขึ้นท้องฟ้าเป็นเวลานาน 40 วินาที ก่อนที่แรงระเบิดจะค่อย ๆ ขยายขึ้นเป็นดอกเห็ด ขณะที่ภาพที่บันทึกได้เพิ่มเติมจากเครื่องบินอีกลำ ซึ่งอยู่ห่างออกมาเกือบ 200 กิโลเมตร บันทึกกลุ่มควันที่มีลักษณะเป็นดอกเห็ดลอยพุ่งสูงขึ้นท้องฟ้าที่ระดับ 213,000 ฟุตเหนือพื้นดิน หรือสูงกว่าระดับที่เครื่องบินโดยสารใช้บินถึง 6 เท่า

screenshot(16)

สำนักงานนิวเคลียร์แห่งชาติรัสเซีย เผยแพร่คลิปที่เป็นความลับมานานเกือบ 60 ปีนี้ เมื่อวันที่ 20 สิงหาคมที่ผ่านมา เพื่อเฉลิมฉลองวาระครอบรอบ 75 ปี ของการก่อตั้งสำนักงาน โดย ซาร์ บอมบา คือระเบิดนิวเคลียร์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีการสร้างขึ้น และได้รับการพัฒนาในช่วงเวลาตึงเครียดมากที่สุดของสงครามเย็น เพื่อแข่งขันกับสหรัฐ

screenshot(21)

ในปี 2497 สหรัฐ ทดสอบระเบิดนิวเคลียร์ขนาดใหญ่ที่สุดที่ใช้ชื่อว่า แคสเซิล บราโว และจุดระเบิดในหมู่เกาะมาร์แชล โดยมีอานุภาพทำลายล้าง 15 เมกะตัน หลังจากนั้น กองทัพโซเวียตก็พยายามแซงหน้า ด้วยการพัฒนาระเบิดนิวเคลียร์ที่มีขนาดใหญ่กว่าในปี 2504 ซึ่งเป็นที่มาของระเบิด ซาร์ บอมบา ซึ่งกลายมาเป็นระเบิดที่มีอานุาภาพทำลายร้างรุนแรงที่สุดในโลกเท่าที่เคยมีการสร้างขึ้น ซึ่งระเบิดลูกนี้ ได้รับการขนย้ายโดยรถไฟ จากฐานทัพอากาศ โอเลนยา และย้ายขึ้นเครื่องบินทิ้งระเบิดระยะไกล Tu-95

ในวันที่ 30 ตุลาคม เครื่องบินทิ้งระเบิดลำนี้ ก็บินขึ้นเหนือเกาะเซเวอร์นี ซึ่งตั้งอยู่ภายในวงกลมอาร์กติก และทิ้งระเบิดที่ผูกติดกับร่มชูชีพ เพื่อชะลอเวลาให้เคร่องบินมีเวลามากพอใจการบินออกจากระยะแรงกระแทก

screenshot(22)

advertisement

คุณอาจสนใจข่าวนี้

ข่าวยอดนิยม