สาวโวย สสจ.แจ้ง ผลตรวจโควิด ผิดพลาด ต้องร่วมห้องกับผู้ติดเชื้อกลายเป็น กลุ่มเสี่ยงสูง

15 เม.ย. 64

สาวโวย สสจ.เชียงใหม่แจ้ง ผลตรวจโควิด ผิดพลาด จากปลอดเชื้อ กลายเป็น กลุ่มเสี่ยงสูง หลังไม่ป่วยแต่ต้องไปกักตัวกับผู้ติดเชื้อ

วันที่ 14 เม.ย. 64 รายงานจากจังหวัดเชียงใหม่ กรณีผู้ใช้เฟซบุ๊ครายหนึ่ง ซึ่งเป็นนักศึกษาหญิงมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้โพสต์บอกเล่าเรื่องราวและทวงถามความรับผิดชอบ หลังได้รับแจ้งผลการตรวจทางโทรศัพท์ว่าติดเชื้อโควิด-19 และต้องถูกส่งตัวเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลก่อนที่ต่อมาตรวจสอบผลตรวจพบว่าที่จริงแล้วไม่ติดเชื้อ

ดาราหนุ่ม "โปสการ์ด" เครียดกักตัวรพ.สนาม หมอ 2 ที่พูดไม่ตรงปอดติดเชื้อ

กรณีนี้เกิดขึ้นหลังจากที่นักศึกษาหญิงรายนี้เป็นผู้เสี่ยงสัมผัสโควิด-19 หลังจากเดินทางไปจังหวัดขอนแก่นด้วยเครื่องบินในวันที่ 1 เม.ย.64 แล้วกลับมาเชียงใหม่ด้วยเครื่องบินในวันที่ 6เม.ย.64 จากนั้นวันที่ 7 เม.ย.64 ไปกรุงเทพฯและกลับเชียงใหม่ในวันเดียวกันด้วยเครื่องบิน ก่อนเช้าวันที่ 8 เม.ย.64 ได้ไปตรวจเชื้อแต่ไม่ได้ตรวจเพราะคิวยาว และในวันที่ 9 เม.ย.64 จะได้รับการตรวจหาเชื้อที่โรงพยาบาลประสาท จ.เชียงใหม่ แล้วกลับบ้านที่จังหวัดลำปาง

วันที่ 10 เม.ย.64 ได้รับแจ้งผลทางโทรศัพท์ว่าติดเชื้อโควิด-19 พร้อมมีการประสานรถพยาบาลจากโรงพยาบาลลำปางเข้ารับการรักษาร่วมกับผู้ป่วยอีกราย แต่ต่อมาคืนวันที่ 12 เม.ย.64 ตรวจสอบผลการตรวจเมื่อวันที่ 9 เม.ย.64 ปรากฏว่าไม่ติดเชื้อและวันที่ 13 เม.ย. 64 ตรวจผลอย่างเป็นทางการยืนยันว่าไม่ติดเชื้อ ทำให้นักศึกษาหญิงรายนี้รู้สึกได้รับความเสียหายและทวงถามหาความรับผิดชอบจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ โดยโพสต์ดังกล่าวมีผู้แสดงความเห็นวิพากษ์วิจารณ์และแชร์ต่อจำนวนมาก

 

vlcsnap-2021-04-15-08h18m01s0_1

ทั้งนี้โพสต์ดังกล่าว ระบุว่า "สวัสดีค่ะ เราเป็นเจ้าของโพสที่เปิดเผยทล.ที่ไปเที่ยวขอนแก่นนะคะผลสรุปจริงๆ แล้ว "เราไม่ได้ติดเชื้อ" ค่ะ เคสของหนูเกิดจากการทำงานผิดพลาดของสาธารณสุขเชียงใหม่ที่บอกผลหนูผิดว่าหนูติดเชื้อ COVID-19 และประสานงานผิดพลาดกับรพ.ลำปาง เอกสารยืนยันอะไรไม่มีแล้วรับเข้ารับการรักษาได้อย่างไร ต้องมานอนรพ. 3 คืนและจากที่ไม่เสี่ยงไม่มีเชื้อกลายเป็นคนที่มีความเสี่ยงสูงกว่าเดิมเพราะได้พักรักษาตัวร่วมห้องกับผู้ติดโควิด ความผิดพลาดเกิดขึ้นได้แต่ต้องมีการแสดงความรับผิดชอบกับสิ่งที่เกิดขึ้นด้วย จะมาไล่ไทม์ไน์ให้ค่ะ

  • 9 เม.ย. - 11.00 น. ตรวจ swab ที่ รพ.ประสาทเชียงใหม่แล้วกลับบ้านที่ จ.ลำปาง
  • 10 เม.ย. - 10.30 น. มีเจ้าหน้าที่จาก สสจ.เชียงใหม่ โทรแจ้งว่าผลเป็นบวก(ติดเชื้อ) จะทำเรื่องประสานงานกับ รพ.ลำปางให้ 
    - 14.00 น.มีเบอร์จากรพ.ลำปางโทรมารับเรื่องมาจากสาธารณสุขเชียงใหม่ จะมารับตัวเข้ารับการรักษาส่วนตัวคิดว่าทั้ง 2 หน่วยงานต้องประสานงานมีเอกสารยืนยันว่าติดเชื้อจริงเพื่อเข้ารับการรักษา
  • 11 เม.ย. นอน รพ.และมีผู้ป่วยโควิดมารักษาในห้องเดียวกัน 1 คน
  • 12 เม.ย. - 22.20 น. พยาบาลโทรถามว่ามีใบเอกสารยืนยันไหมว่าเป็น ซึ่งเราไม่มี เข้าใจว่าทั้ง 2 หน่วยงานประสานกันและต้องมีเอกสารก่อนรับเข้าแล้ว งงมาก เลยประสานงานกับทางคณะบริหารธุรกิจให้ช่วยตามเรื่องให้ 
    - 22.35 น.เปิดผลตรวจทางออนไลน์ของเว็บพบว่า'ไม่ติดเชื้อ'
    - 23.50 น. แยกมานอนอีกห้องก่อน เพราะก็คงไม่แน่ใจผล งงกันไปหมดสรุปติดหรือไม่ติด
  • 13 เม.ย. - 08.00 น. รพ.ลำปางทำการตรวจเชื้อใหม่รอบ 2
    - 08.40 น. สสจ.เชียงใหม่โทรมาถามว่าอยู่ไหน รพ.อะไร แจ้งว่าผลคือไม่ติดเชื้อ แล้วจะประสานงานให้อีกทีขอเบอร์ต้นทางคนแรกที่โทรหาไป หลังจากนั้นเขาก็ไม่ติดต่อกลับมาว่าสรุปยังไง 
    -12.00 น. คณะบริหารธุรกิจโทรมาบอกว่ามหาลัยติดต่อให้แล้วทราบว่าผลไม่ติดเชื้อ
    -12.30 น. โทรขอใบยืนยันผลจาก สสจ.
    -13.00 น. สสจ.เชียงใหม่ส่งเอกสารยืนยันมาทางอีเมล ผลคือไม่ติดเชื้อ
    -15.00 น. ทาง รพ.ลำปาง ยืนยันผลรอบ 2 ว่าไม่ติดเชื้อ

เหตุการณ์ครั้งนี้สร้างความเสียหายหลายอย่างในวงกว้าง ทุกคนหวาดกลัว ร้านทุกร้านต้องปิดจ้างทำความสะอาดและบางคนก็เสียเงินเพื่อไปตรวจเพื่อ เพิ่มความเชื่อมั่นให้กับลูกค้าว่าร้านค้าตนเองปลอดภัย และทำให้ตนจากคนที่ 'ปลอดเชื้อ' กลายเป็น 'คนเสี่ยงสูง' รวมถึงสภาพจิตใจที่แย่มาก ทั้งคนที่ด่าและการทำงานที่ผิดพลาดอย่างร้ายแรงของหน่วยงาน แบบนี้จะรับผิดชอบยังไง เรื่องแบบนี้ไม่สมควรเกิดขึ้นกับใครทั้งนั้น 

เข้าใจว่าต้องตรวจกลุ่มเสี่ยงที่เข้ามาตรวจเป็นจำนวนมาก แต่ทางหน่วยงานที่รับผิดชอบควรมีความรับผิดชอบ มีความรอบคอบให้มากกว่านี้ไหม มันเป็นเรื่องใหญ่นะคะ เข้าใจว่าทางบุคลากรทางการแพทย์เจ้าหน้าที่ทำงานกันหนักมาก เห็นใจค่ะ แต่เรื่องแบบนี้ไม่ควรเกิดขึ้นกับใครจริงๆ ค่ะ มาแชร์ไว้ให้เป็นอุทาหรณ์ 

ฝากคำถามไว้นะคะ

1.ตรวจผิดไปแล้วกี่ราย?
2.สสจ.จะตรวจสอบใหม่ได้ทั้งหมดได้อย่างไร?
3.จะเยียวยายังไงสำหรับการที่เอาคนปลอดเชื้อไปรวมกับผู้ติดเชื้อกลายเป็นความเสี่ยงสูง?
4.มีคนติดจริงๆแต่แจ้งผลว่าไม่ติดไหม?

ถ้ามีแสดงว่าคนเหล่านี้ยังใช้ชีวิตปกติโดยไม่รู้ตัวถ้าเกิดคลัสเตอร์อีกความผิดใคร เข้าใจนะคะคนตรวจเยอะหลักหลายพันแต่เรื่องแบบนี้มันไม่ควรพลาดไหมคะคือไม่มีการ recheck (ตรวจสอบซ้ำ)ก่อนจะทำการแจ้งผู้เข้ารับการตรวจเหรอคะ

ขอโทษที่ทำให้ทุกคนตกใจมากๆ ค่ะ ตัวเราเองตกใจกว่าตอนรู้ว่าไม่ติดเชื้อแต่ตอนแรกที่โทรมาบอกว่าติดโควิด เรารับผิดชอบต่อสังคมเปิดเผยไทม์ไลน์ทุกอย่าง กลัวว่าคนที่ใกล้ชิด/ไปสถานที่เดียวกันจะติด ก็อยากให้ self-monitoring (ติดตามอาการตัวเอง) กันไป เข้าใจค่ะว่าทุกคนแพนิค และก็ขอบคุณมากๆ จากใจจริงค่ะสำหรับคนที่เข้าใจเราตอนเปิดทล.ขอบคุณจริงๆๆ ค่ะ แต่ยังไงก็ตามในสถานการ์ณแบบนี้ทุกคนก็ต้องดูแลตัวเองกันต่อไปค่ะขอบคุณทุกกำลังใจค่ะ 

ปล.รูปเอกสารได้รับอนุญาตให้เผยแพร่แล้วค่ะ เราเสียหายทุกทางยังไงช่วยเรารีหน่อยนะคะ ขอบคุณค่ะ”


ขณะที่จากการสอบถามทางสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่เกี่ยวกับกรณีที่เกิดขึ้นนั้น เบื้องต้นบอกว่าทราบเรื่องแล้วและทางคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดเชียงใหม่พร้อมทั้งสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใม่และหน่วยงานเกี่ยวข้องเตรียมประชุมหารือตรวจสอบข้อเท็จจริงอย่างละเอียดพร้อมทั้งจะมีการแจ้งให้ทราบต่อไป 

ทั้งนี้แม้ว่านักศึกษารายนี้จะถือเป็นผู้เสียหายจากการรับแจ้งผลผิดอย่างไรก็ตามมีผู้ต้องข้อสังเกตว่าเหตุใดเมื่อทราบว่าตัวเองเป็นผู้สัมผัสเสี่ยงแล้ว ยังมีการเดินทางไปมาหลายแห่ง โดยเฉพาะหลังการรับตรวจหาเชื้อแล้วแทนที่จะกักตัวอยู่ก่อนระหว่างรอฟังผล กลับเดินทางออกจากจังหวัดเชียงใหม่ไปจังหวัดลำปางซึ่งเป็นการก่อให้เกิดความเสี่ยงที่จะแพร่กระจายเชื้อเพิ่มไปยังผู้อื่น แม้จะอ้างว่าเดินทางด้วยรถส่วนตัวก็ตาม

ชาวเน็ตให้กำลังใจ บุคลากรทางการแพทย์ สละเวลามารับมือโควิด-19

นายกฯ เตรียมยกระดับคุมสถานการณ์โควิด-19 จ่อล็อกดาวน์ กทม. ปริมณฑล เชียงใหม่

advertisement

คุณอาจสนใจข่าวนี้

ข่าวยอดนิยม

ข่าวที่ได้รับความสนใจ