Hospitel คืออะไร หากป่วย โควิด-19 สามารถวอล์กอินเข้าไปพักเพื่อกักตัวได้เลยหรือไม่

17 เม.ย. 64

ตอบข้อสงสัย Hospitel คืออะไร หากป่วย โควิด-19 สามารถวอล์กอินเข้าไปพักเพื่อกักตัวได้เลยหรือไม่

สถานการณ์การแพร่ระบาดโรคโควิด-19 ของประเทศไทยระลอกใหม่พบผู้ติดเชื้อจำนวนมาก โดยวันที่ 17 เม.ย.64 ศบค.ได้รายงานสถานการณ์โควิด-19 ภายในประเทศไทย ล่าสุดพบติดเชื้อโควิดเพิ่มอีก 1,547 ราย รวมผู้ป่วยยืนยันสะสม 40,585 ราย หายป่วย 28,570 ราย รักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล 10,461 ราย เสียชีวิตเพิ่ม 2 ราย รวมผู้เสียชีวิตสะสม 99 คน

pexels-max-vakhtbovych-753500

ด้วยแนวโน้มของผู้ติดเชื้อที่มากขึ้นในหลายจังหวัด รวมถึงมีการยกระดับให้ 18 จังหวัดเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุด หรือ พื้นที่สีแดง ส่งผลให้เกิดปัญหาโรงพยาบาลมีเตียงไม่เพียงพอที่จะรองรับผู้ป่วยในระลอกใหม่นี้ แม้จะมีการตั้ง โรงพยาบาลสนาม เพื่อรองรับผู้ป่วยที่อาการไม่รุนแรง และลดความแออัดในโรงพยาบาล แต่โรงพยาบาลสนามก็มีข้อจำกัดเรื่องความเป็นส่วนตัว และความสะดวกสบาย กระทรวงสาธารณสุขจึงมีนโยบายจัดตั้ง “หอผู้ป่วยเฉพาะกิจ” หรือ Hospitel ขึ้น

Hospitel คืออะไร

Hospitel มาจากคำว่า Hospital (โรงพยาบาล) + Hotel (โรงแรม) คือ หอผู้ป่วยเฉพาะกิจ โดยได้ทำการปรับเปลี่ยนโรงแรมให้เป็นพื้นที่เฝ้าระวังอาการ สำหรับผู้ป่วยโรคโควิด-19 ที่อาการไม่รุนแรง และไม่ต้องใช้อุปกรณ์ครุภัณฑ์การแพทย์ที่ซับซ้อน

นายแพทย์ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) เผยถึงมาตรการ Hospitel รองรับผู้ป่วยโควิด-19 ว่า ขณะนี้ ได้นำโรงแรมมาเป็นสถานพยาบาลชั่วคราว (Hospitel) ดูแลผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่ไม่มีอาการ หรือรักษาในโรงพยาบาลหลัก 3-5 วันแล้วอาการดี โดยมีการตรวจและบันทึกอาการผู้ป่วยทุกวันผ่านเทเลเมดิซีนหรือไลน์กลุ่ม หากอาการเปลี่ยนแปลงจะย้ายกลับโรงพยาบาลหลักทันที มั่นใจได้ว่าผู้ป่วยจะได้รับการรักษาพยาบาลตามมาตรฐาน ขณะนี้ มี Hospitel ที่ขึ้นทะเบียนแล้ว 23 แห่ง จำนวน 4,900 เตียง ดูแลผู้ติดเชื้อแล้วเกือบ 2,000 เตียง เตรียมเพิ่มให้ได้ 5,000-7,000 เตียง ซึ่งจะช่วยลดแออัดในโรงพยาบาล รวมทั้งขณะนี้ กรุงเทพมหานครและปริมณฑลได้เตรียมเตียงจากโรงพยาบาลทุกสังกัด ทั้งกระทรวงสาธารณสุข กองทัพ ตำรวจ มหาวิทยาลัย และโรงพยาบาลเอกชน รวม 6,525 เตียง ใช้แล้ว 3,700 กว่าเตียง ส่วนหนึ่งสำรองไว้สำหรับผู้ที่มีอาการมาก ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ

pexels-vecislavas-popa-174323

หลักเกณฑ์การเปลี่ยนโรงแรมให้เป็น Hospitel

สำหรับการขึ้นทะเบียน Hospitel กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ จะตรวจประเมินมาตรฐาน ทั้งด้านโครงสร้าง สิ่งแวดล้อม การกำจัดขยะ น้ำเสีย ไม่มีผลกระทบต่อชุมชน มีการจัดบริการทางการแพทย์ตามมาตรฐาน โดยมีแพทย์ประจำ 1 คน พยาบาล 1 คนต่อ 20 เตียง เครื่องวัดอุณหภูมิแบบดิจิทัล เครื่องวัดความเข้มข้นของออกซิเจนในเลือด และเครื่องเอกซเรย์เคลื่อนที่ ทั้งนี้ ได้เปิดช่องทางให้ผู้ประกอบการสมัครร่วม Hospitel ทางออนไลน์ได้ โดย สบส.จะอนุมัติทางออนไลน์ด้วย เพื่อความสะดวกและรวดเร็ว ส่วนค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาจะใช้ประกันสุขภาพส่วนบุคคล และกองทุนสุขภาพตามสิทธิต่างๆ

pexels-max-vakhtbovych-753504

ผู้ป่วยโควิด-19 แบบไหน ที่ควรรับการรักษาในหอผู้ป่วยเฉพาะกิจ หรือ Hospitel

1) ผู้ป่วยยืนยันที่ไม่มีอาการหลังนอน รพ. 4-7 วัน เมื่อไม่มีภาวะแทรกซ้อนให้พักต่อที่ Hospitel จนครบ 10 วัน (และครบ 14 วันในกรณีสงสัยเชื้อกลายพันธุ์ : อังกฤษ บราซิล แอฟริกาใต้)

2) ผู้ป่วยยืนยันที่มีอาการ ไม่มีภาวะเสี่ยง/ภาวะร่วม หลังนอน รพ. 4- 7 วันเมื่ออาการดีขึ้นให้พักต่อที่ Hospitel จนครบ 10 วัน (และ14 วันในกรณีสงสัยเชื้อกลายพันธุ์ : อังกฤษ บราซิล แอฟริกาใต้)

3) ผู้ป่วยยืนยันโควิดที่มีอายุน้อยกว่า 50 ปี ที่ไม่มีอำกำร หรือ ไม่มีภาวะเสี่ยง/ภาวะอื่นร่วม เข้าพักรักษา สังเกตอาการที่ Hospitel จนครบ 10 วัน (และ 14 วันในกรณีสงสัยเชื้อกลายพันธุ์ : อังกฤษ บราซิล แอฟริกาใต้)

4) ทั้งนี้ผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษา ในหอผู้ป่วยเฉพาะกิจ แนะนำให้ เอกซเรย์ปอดทุกราย หากปอดผิดปกติควรอยู่โรงพยาบาล

อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยโรคโควิด-19 ไม่สามารถแจ้งความประสงค์ขอเข้าพัก Hospitel ได้โดยตรง แต่ต้องให้โรงพยาบาลเป็นผู้วินิจฉัยอาการ

advertisement

คุณอาจสนใจข่าวนี้

ข่าวยอดนิยม

ข่าวที่ได้รับความสนใจ