กรมอนามัยกระทรวงสาธารณสุข เผยผลสำรวจอนามัยโพลต่อประเด็นความกังวลและความรู้สึกต่อการฉีดวัคซีนโควิด-19 พบสถานการณ์การติดเชื้อและเสียชีวิตที่เพิ่มขึ้นในแต่ละวัน ส่งผลให้ประชาชนมีความกังวลใจและรู้สึกต้องการฉีดวัคซีนโควิด–19 เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 56.5 พร้อมแนะวิธีการเตรียมตัวเมื่อไปฉีดวัคซีน และยังคงเคร่งครัดปฏิบัติตนตามมาตรการ DMHTTA และประเมินความเสี่ยงผ่านเว็บไซต์ “ไทยเซฟไทย”
กรมอนามัยกระทรวงสาธารณสุข เผยผลสำรวจอนามัยโพลต่อประเด็นความกังวลและความรู้สึกต่อการฉีดวัคซีนโควิด-19 พบสถานการณ์การติดเชื้อและเสียชีวิตที่เพิ่มขึ้นในแต่ละวัน ส่งผลให้ประชาชนมีความกังวลใจและรู้สึกต้องการฉีดวัคซีนโควิด–19 เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 56.5 พร้อมแนะวิธีการเตรียมตัวเมื่อไปฉีดวัคซีน และยังคงเคร่งครัดปฏิบัติตนตามมาตรการ DMHTTA และประเมินความเสี่ยงผ่านเว็บไซต์ “ไทยเซฟไทย”
นายแพทย์สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยว่า จากการสำรวจผลอนามัยโพล เมื่อช่วงวันที่ 14 เมษายน ถึง 2 พฤษภาคม 2564 มีจำนวนผู้ตอบแบบสอบถาม 11,093 คน ต่อประเด็นเรื่องความกังวลและความรู้สึกต่อการฉีดวัคซีน โควิด-19 พบว่าในภาพรวมประชาชนมีความกังวลใจเพิ่มขึ้นตามช่วงเวลาที่มีจำนวนผู้ป่วยและจำนวนผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะหลังวันที่ 23 เมษายน 2564 ที่มีจำนวนผู้ป่วยมากกว่า 2,000 ราย ส่งผลให้ประชาชนมีความกังวลถึงร้อยละ 97.8 และความรู้สึกอยากฉีดวัคซีนได้มีการเปลี่ยนแปลงความคิดตามสถานการณ์ซึ่งพบแนวโน้มที่ต้องการฉีดวัคซีนเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะในช่วงที่มีข่าวการเสียชีวิตของนักแสดงตลกชื่อดังและมีจำนวนผู้เสียชีวิตเกิน 20 ราย ยิ่งเป็นความกังวลใจทำให้ประชาชนอยากฉีดวัคซีนเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 56.5
อธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยอีกว่า ขณะนี้แม้ว่าประชาชนจะมีความต้องการฉีดวัคซีนเพิ่มมากขึ้นแต่สิ่งสำคัญคือการป้องกันตัวเองตามมาตรการ DMHTTA ซึ่งจากข้อมูลอนามัยโพลล่าสุดพบว่าประชาชนส่วนใหญ่มีการสวมหน้ากากตลอดเวลาเมื่อไปในที่สาธารณะถึงร้อยละ 97.8 รองลงมาคือการตรวจวัดไข้ก่อนเข้าออกในสถานที่ต่างๆ ร้อยละ 95.2 และล้างมือด้วยสบู่และน้ำหรือเจลแอลกอฮอล์ ร้อยละ 91
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
- ยอดลงทะเบียนจองฉีด วัคซีนโควิด ผ่าน หมอพร้อม ล่าสุด 5 วันทะลุ 1 ล้านราย
- ศบค.เตรียมเปิด รพ.สนาม ที่เมืองทองธานี ตั้งเป้าฉีดวัคซีนให้ได้เดือนละ 15 ล้านโดส
- แก้ไขแล้ว! นิวยอร์กไทมส์ลบ ไทย ออกจากประเทศนำเข้าวัคซีน ไฟเซอร์
สำหรับพฤติกรรมสุขภาพที่ประชาชนยังไม่ค่อยได้ปฏิบัติตามมาตรการคือ การทำความสะอาดพื้นผิวสัมผัสร่วม โดยมีพฤติกรรมดังกล่าวเพียง ร้อยละ 69.3 และมีการลงทะเบียนในแอปพลิเคชัน “ไทยชนะ” ร้อยละ 70.2 จึงต้องเน้นย้ำให้ถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัด นอกจากนี้ ขอความร่วมมือประชาชนประเมินความเสี่ยงตนเองทุกวันว่าเป็นกลุ่มเสี่ยงหรือใหม่ผ่านแอปพลิเคชันต่างๆ ที่ทางราชการกำหนดหรือเลือกใช้การประเมินตนเองผ่านเว็บไซต์ “ไทยเซฟไทย” ที่ช่วยคัดกรองเพื่อลดความเสี่ยงการติดเชื้อและการแพร่กระจายเชื้อโควิด-19 สู่ครอบครัว เพื่อนร่วมงานและชุมชน รวมถึงลดความรุนแรงหากมีความเสี่ยงหรือติดเชื้อโควิด-19 ซึ่งจะนำไปสู่การรักษาหรือพบแพทย์ได้เร็วขึ้น
Advertisement