1. ชายหญิงที่เป็นหมัน กล่าวคือมีความบกพร่องทางกายที่ไม่สามารถมีบุตรได้ จะสามารถทำการสมรสได้หรือไม่ เพราะเหตุใดจึงไม่มีกฎหมายบัญญัติห้ามการสมรสของผู้อยู่ในฐานะดังกล่าว
2. ชายหญิงที่สามารถมีบุตรได้ แต่เลือกที่จะใช้ชีวิตโดยไม่มีห่วงกังวลจึงตัดสินใจไม่มีบุตร จะสมรสได้หรือไม่ หรือเมื่อสมรสไปแล้วปรารถนาจะใช้วิถีชีวิตดังกล่าวจะเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนในสายตาของผู้มีความเห็นข้างต้นหรือไม่
3. การวางแผนครอบครัวหรือที่พูดกันภาษาปากว่า การคุมกำเนิด จะเป็นการฝ่าฝืนต่อวัตถุประสงค์ของการสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หรือไม่
4. เป็นความจริงเพียงใดที่การสมรสทุกกรณีจะต้องมุ่งให้มีการสืบทอดมรดกไปสู่ทายาท
5. เป็นความจริงเพียงใดที่ครอบครัวที่มีขึ้นจากการสมรสเท่าเทียม ร้อยละร้อย ไม่สามารถส่งต่อความผูกพันไปยังเครือญาติได้ ขณะเดียวกันครอบครัวที่เกิดจากการสมรสของชายหญิง จะเป็นประกันว่าจะมีความผูกพันกันระหว่างเครือญาติได้อย่างแน่นอน
6. การสร้างสถาบันครอบครัว เป็นไปเพื่อดำรงเผ่าพันธุ์ตามธรรมชาติเพียงประการเดียว หรือมีเหตุผลอื่นที่ไม่พึงมองข้ามประกอบด้วย
ประเด็นที่นำเสนอเหล่านี้เป็นตัวอย่างของการให้เหตุผลทางกฎหมาย ที่ผู้เขียนความเห็นทางกฎหมาย ไม่ว่าในรูปแบบใด ต้องระมัดระวังและตอบคำถามตัวเองเป็นเบื้องต้นว่า เหตุผลที่ให้ประกอบความเห็นนั้นเป็นความจริงเพียงไร มีช่องว่างหรือข้อโต้แย้งได้หรือไม่ มิฉะนั้นแล้วก็จะมีคำถามตามมาอีกมาก
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
- เก๋ ชลดา จดทะเบียนสมรส ในวันครบรอบ 12 ปี กับ ไฮโซพร้อม เผยข้อความสุดซึ้ง
- ปลัดอำเภออุ้มผาง ถึงกับอึ้ง ชายหญิงนามสกุลเดียวกัน มาขอจดทะเบียนสมรส
- ไม่โสดแล้วจ้า ไฮโซลูกนัท ควงแฟนสาว จดทะเบียนสมรส หลังฟังคำวินิจฉัยศาล รธน.
Advertisement