องค์การอนามัยโลก (WHO) แถลง เฝ้าติดตามกลุ่มผู้ติดเชื้อโอมิครอนสายพันธุ์ย่อยใหม่สองสายพันธุ์คือ “BA.4” และ “BA.5” จากเดิม 4 สายพันธุ์ "BA.1, BA.1.1, BA.2, และ BA.3"
เมื่อวันที่ 12 เมษายน ที่ผ่านมา ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ ได้โพสตข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Center for Medical Genomics ระบุว่า
องค์การอนามัยโลกประกาศเพิ่มความระมัดระวังโอมิครอนสายพันธุ์ย่อยอีก 2 สายพันธุ์ “BA.4” และ “BA.5” จากติม 4 สายพันธุ์ "BA.1, BA.1.1, BA.2, และ BA.3"
จากการสืบค้นจากฐานข้อมูลรหัสพันธุกรรมโควิดโลก"GISAID" (4/12/2565) ยังไม่พบ BA.4 และ BA.5 ในประเทศไทย
ปรับปรุง 13/4/2565 เวลา 8:25
องค์การอนามัยโลก (WHO) แถลงเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา (11/4/2565) ว่ากำลังเฝ้าติดตามกลุ่มผู้ติดเชื้อโอมิครอนสายพันธุ์ย่อยใหม่สองสายพันธุ์คือ “BA.4” และ “BA.5” ประมาณ 30-40 คนเพื่อปรพะเมินว่า
1.สายพันธุ์ BA.4 และ BA.5 จะแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วเหนือกว่า BA.2 หรือไม่ เพราะจากการวิเคราะห์รหัสพันธุกรรมทั้งจีโนมพบว่า BA.5 แตกต่างไปจากไวรัสอู่ฮั่นดั้งเดิมเกือบ "100 ตำแหน่ง" ซึ่งมากที่สุดเท่าที่พบมา รองลงมาคือ BA.4 จากการวิเคราะห์รหัสพันธุกรรมทั้งจีโนมพบว่า BA.4 แตกต่างไปจากไวรัสอู่ฮั่นดั้งเดิมถึง "90 ตำแหน่ง" (ภาพ 1)
จากการศึกษาธรรมชาติของการกลายพันธุ์ของไวรัสโคโรนา 2019 พบว่าตำแหน่งกลายพันธุ์บนจีโนมที่เพิ่มขึ้นมีความแปรผันตรงกับความเร็วของการแพร่ระบาด ด้วยเหตุนี้ทำให้ WHO ขอร้องให้ทุกประเทศทั่วโลกช่วยกันจับตามองสองสายพันธุ์นี้เป็นพิเศษ (ภาพ2)
2. สายพันธุ์ BA.4 และ BA.5 จะก่อให้เกิดอาการของโรคโควิด-19 ที่รุนแรงมากกว่าโอไมครอน สายพันธุ์ย่อย "BA.1" และ "BA.2" ที่กำลังระบาดอยู่ในขณะนี้หรือไม่
จากการตรวจสอบรหัสพันธุกรรมทั้งจีโนมของไวรัสโคโรนา 2019 จากฐานข้อมูลโควิดโลก “GISAID” จำนวน "10,220,862 ตัวอย่าง" จากทั่วโลกพบ
-สายพันธุ์ BA.4 ประมาณ "83 ตัวอย่าง" และ
-สายพันธุ์ BA.5 เพียง "37 ตัวอย่าง" ชึ่งไม่ถึงหลักร้อยทำให้คาดคะเนว่า ไวรัสทั้งสองสายพันธุ์อาจจะมีวิถีวิวัฒนาการที่ยังไม่สามารถเข้าได้กับสิ่งแวดล้อมขณะนี้
จากการสืบค้นฐานข้อมูลรหัสพันธุกรรมโควิดโลก"GISAID" เมื่อ 4/12/2565 ยังไม่พบ BA.4 และ BA.5 ในประเทศไทย (ภาพ3)
สรุปว่าขณะนี้ WHO กำลังเฝ้าระวังโอมิครอนสายพันธุ์ย่อยอยู่ 6 สายพันธุ์ กล่าวคือ BA.1, BA.1.1, BA.2, BA.3, BA.4 และ BA.5) และสายพันธุ์ลูกผสมอีกประมาณ 8 สายพันธุ์ คือ XD,XF, XE, XG,XH,XL,XK, และ XJ (ภาพ2)
สายพันธุ์ BA.4 และ BA.5 มีรหัสพันธุกรรมคล้ายคลึงกับโอมิครอน "BA.2" มาก โดยมีการกลายพันธุ์ต่างไปจากโอมิครอน BA.2 ประมาณ 2 ตำแหน่งบนส่วนของหนามคือ L452R ที่ไปเหมือนกับเดลต้า และ แลมป์ดา และ F486V ซึ่งไม่ค่อยเจอในสายพันธุ์อื่นๆ
จึงจำเป็นต้องเร่งศึกษาการกลายพันธุ์ที่เปลี่ยนแปลงส่วนหนามเพื่อทำความเข้าใจผลกระทบจากการหลบเลี่ยงภูมิคุ้มกันของไวรัสสองสายพันธุ์ใหม่นี้
อนึ่งไวรัสโคโรนา 2019 มีการกลายพันธุ์อยู่ตลอดเวลาแต่มีเพียง “การกลายพันธุ์บางตำแหน่งเท่านั้น” ที่สามารถส่งผลกระทบต่อความสามารถของไวรัสในการแพร่ระบาดหรือหลบเลี่ยงภูมิคุ้มกันที่ได้รับมาก่อนหน้าจากการฉีดวัคซีนหรือการติดเชื้อตามธรรมชาติ รวมถึงส่งผลกระทบต่อการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของความรุนแรงของโรคโควิด-19
เช่นกรณีของ BA.2 ซึ่งแพร่ระบาดไปทั่วโลกถึงร้อยละ 94 สามารถติดต่อได้อย่างรวดเร็วเหนือกว่าไวรัสโคโรนา 2019 ทุกสายพันธุ์ที่เคยระบาดมาก่อนหน้านี้ (ยกเว้น BA.4 และ BA.5) แต่หลักฐานจนถึงตอนนี้ชี้ให้เห็นว่า BA.2 ไม่น่าจะก่อให้เกิดโรคร้ายแรงได้เหมือนเดลตา บีตา อัลฟา ในอดีต
สำนักงานความมั่นคงด้านสุขภาพของสหราชอาณาจักร (The UK's Health Security Agency) ซึ่งถอดรหัสพันธุ์กรรมโควิด-19 ทั้งจีโนม จากตัวอย่างทั่วโลก (whole genome sequencing) กล่าวเมื่อสัปดาห์ที่แล้วว่าพบ BA.4 ในแอฟริกาใต้ เดนมาร์ก บอตสวานา สกอตแลนด์ และอังกฤษ ตั้งแต่วันที่ 10 ม.ค. ถึง 30 มี.ค.
ส่วนสายพันธุ์ BA.5 เมื่อสัปดาห์ที่แล้วยังพบอยู่เฉพาะในแอฟริกาใต้ แต่ในวันจันทร์ (11/12/2565) นี้กระทรวงสาธารณสุขของบอตสวานารายงานว่าพบผู้ติดเชื้อ BA.4 และ BA.5 แล้วสี่ราย อายุระหว่าง 30 -50 ที่ได้รับการฉีดวัคซีนครบถ้วน โดยมีอาการไม่รุนแรง (mild symptoms)
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
-เปิด 6 สาเหตุหลักที่ทำให้เกิดอาการ Long COVID ใครไม่ติดถือว่าโชคดี
-สธ.เผย วัคซีนโควิดต้าน โอมิครอน BA.2 ได้ดีกว่า BA.1 แต่ต้องฉีดเข็มกระตุ้นจึงจะมีภูมิคุ้มกันเพียงพอ
-ภาวะ Long Covid คืออะไร อาการที่พบบ่อย ศบค. แนะสังเกตตัวเอง หากเป็นนานกว่า 2 เดือนให้รีบพบแพทย์
Advertisement