'โรคแพ้ร้อน' อาการป่วยอย่างหนึ่งที่มักเกิดขึ้นได้เมื่ออยู่ในสภาพอากาศร้อนจัดนานจนเกินไป สามารถป้องกันได้ด้วยการดื่มน้ำให้เพียงพอ
ในช่วงเดือนเมษายนของทุกปี เป็นเวลาที่บ้านเรามีสภาพอากาศร้อนจัดที่สุดของปี มาพร้อมกับโรคที่น่าเป็นห่วง ยิ่งในปัจจุบันอากาศร้อนเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิม เนื่องจากปัจจัยต่างๆ ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นทั่วโลก จึงทำให้สภาพอากาศเปลี่ยนแปลงไป จนบางครั้งร่างกายของมนุษย์อย่างเราก็ไม่สามารถที่จะปรับตามทันได้
โรคแพ้ร้อน อาการป่วยอย่างหนึ่งที่มักเกิดขึ้นได้ในสภาพอากาศที่ร้อนจัด เนื่องจากร่างกายไม่สามารถระบายความร้อนได้ทันการระบายความร้อนออกจากร่างมีอยู่สองทางคือการนำ การพาและการแผ่รังสี ซึ่งได้แก่การดื่มน้ำเย็นๆ เช็ดตัวด้วยผ้าเย็น เข้าในที่ร่ม สวมหมวกหรือให้ลมโกรก อีกวิธีคือการระเหยของเหงื่อ
อุณหภูมิของอากาศ ความชื้นและแสงแดด เป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งเสริมให้เกิดอันตรายจากความร้อน นอกจากอุณหภูมิของอากาศและแสงแดดแล้ว ความชื้นของอากาศก็มีส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดอาการป่วยจากอากาศร้อน เนื่องจากเหงื่อที่ระเหยออกจากร่างกายอันเป็นกระบวนการปรับอุณหภูมิของร่างกายตามปกติ จะระเหยได้ดีหรือไม่ ขึ้นอยู่กับความชื้นของอากาศเป็นสำคัญ ถ้าความชื้นสูงเหงื่อจะระเหยได้น้อยและอันตรายจากความร้อนจะเกิดขึ้นได้ง่าย แม้บางครั้งอากาศไม่ร้อนนักแต่ความชื้นสูง โอกาสที่เป็นลมแพ้ร้อน จนถึงตายก็อาจเกิดขึ้นได้ โดยเฉพาะผู้ที่สุขภาพไม่แข็งแรง หรือสูงอายุและพักผ่อนน้อยเมื่อร่างกายไม่สามารถจัดการกับความร้อนที่เกิดขึ้นภายในหรือที่ร่างกายรับเข้ามาได้ทัน ก็จะเกิดอาการต่างๆ คือ
หมดสติแพ้ร้อน (Heat Syncope, Heat collapse)
เพลียหน้าร้อน (Heat Exhaustion)
ลมแพ้ร้อน (Heat Stroke)
จากทั้งหมด 3 อาการ ลมแพ้ร้อน หรือ Heat Stroke เป็นอาการที่รุนแรงที่สุด หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีอาจทำให้ถึงขั้นเสียชีวิตได้ แต่จะไม่พบบ่อยนัก ส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นกับคนที่ออกกำลังกายอย่างหนักในช่วงอากาศร้อน หรือคนที่ตากแดดอยู่ท่ามกลางอากาศร้อนเป็นเวลานาน
เช่น ร้อน อึดอัดเหมือนมีไฟสุมอยู่ในอกและในกล้ามเนื้อ หายใจขัด และหอบถี่ ปากแห้งผาก สายตาฝ้ามัว และ คลื่นไส้อาเจียน บางครั้งมีความคิดประหลาดๆ และเอะอะอาละวาด ซึ่งเป็นอาการที่แสดงว่าสมองได้รับเลือดไปเลี้ยงไม่พอ หากยังขืนออกกำลังกายหรือการได้รับความร้อนยังดำเนินต่อไป ก็จะเกิดเป็นลมแพ้ร้อน โดยจะมีอาการโซเซ และหมดสติในที่สุด ผิวหนังจะแห้ง (เพราะเหงื่อหยุดไหล) และร้อน แต่บางครั้งผิวหนังอาจเย็นชืดได้ (จากการที่เส้นเลือดใต้ผิวหนังหดตัว) อุณหภูมิในร่างกายจะร้อนจัด (41 องศาเซลเซียสหรือมากกว่า) อาจมีชักกระตุกร่วมด้วย
อาการของลมแพ้ร้อนเกิดขึ้นเมื่อมีความร้อนสะสมอยู่ในร่างกายเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ จนในที่สุดศูนย์ควบคุมอุณหภูมิในร่างกายจะเสียการทำงานชั่วคราว และผลจากการขาดน้ำร่วมกับหัวใจวายชนิดผลงานสูง อาจทำให้การผลิตเหงื่อหยุดชะงักลง ซึ่งจะกลับทำให้อุณหภูมิของร่างกายสูงขึ้นอีก
อาการลมแพ้ร้อน มีอยู่ 2 ประเภท คือ แบบที่พบในผู้สูงอายุหรือจากการกินยาบางอย่าง เช่นยาขับปัสสาวะ ยาแก้แพ้ แอมเฟตามีน และที่เกิดจากการออกกำลังกาย
วิธีรักษาโรคลมแพ้ร้อน
วิธีการรักษาแก้ไขเบื้องต้นคือพยายามทำให้อุณหภูมิในร่างกายลดลง และทำให้ปริมาณเลือดที่ไหลเวียนมีเพียงพอ โดยวางผู้ป่วยในท่าแก้ช็อก คือให้ศีรษะต่ำ และยกเท้าสูง ราดน้ำลงบนตัวผู้ป่วย จะเป็นน้ำอะไรก็ได้ที่อยู่ใกล้ตัว ถ้าเป็นน้ำแข็งได้ยิ่งดี หรือไม่ก็ใช้ผ้าชุบน้ำเย็นเช็ดตามตัว กันคนมุงออกไป พยายามให้ผู้ป่วยอยู่ในที่โล่งมีลมโกรก ควรพยายามลดอุณหภูมิในร่างกายของผู้ป่วยให้เหลือ ๓๙ องศาเซลเซียสภายในหนึ่งชั่วโมง เมื่อผู้ป่วยเริ่มรู้สึกตัวดีขึ้นแล้ว ควรให้ดื่มน้ำเกลือแร่ เช่น น้ำส้มคั้น น้ำผลไม้อื่นๆ ให้ดื่มน้ำมากๆ หากให้การโรงพยาบาลทันที
การป้อนกันการเกิดอาการโรคแพ้ร้อน
การป้อนกันการเกิดอาการโรคแพ้ร้อนที่สำคัญที่สุดคือ การดื่มน้ำให้เพียงพอทั้งก่อน ระหว่าง และหลังการออกกำลังกาย และผู้ที่ออกกำลังกายประจำควรกินอาหารที่มีโพแทสเซียมมากๆ เช่น น้ำผลไม้ หรือผลไม้ต่างๆ เป็นประจำ
นอกจาก โรคแพ้ร้อน อหิวาตกโรค โรคบิด อุจจาระร่วง ไข้รากสาดน้อยหรือไทฟอยด์ และโรคอาหารเป็นพิษอื่นๆ ก็เป็นโรคที่สามารถเกิดขึ้นกับเราในช่วงที่อากาศร้อนได้เช่นกัน จะต้องระมัดระวังด้วยการกินอาหารและน้ำที่สะอาด ถูกต้องตามหลักสุขอนามัย
ข้อมูลจาก : กระทรวงสาธารณสุข
Advertisement