วันนี้(19 เม.ย.) สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต เผยแพร่ผลสำรวจความคิดเห็น ของประชาชนทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 1,243 คน กรณี “ข่าวหรือประเด็น” ที่ประชาชนอยากรู้ในช่วงโควิด-19 ระบาด ระหว่างวันที่ 13-17 เม.ย. 2563
เมื่อถามว่า ประชาชนอยากรับรู้ “ข่าวหรือประเด็นใดบ้าง? เกี่ยวกับโควิด-19″ พบว่า 79.85% คือ ระบุสถิติ/ตัวเลข/ข้อมูล เกี่ยวกับการระบาดของโรค รองลงมา 69.94% ระยะเวลาที่โรคจะหยุดระบาด และ 63.50% ยาที่รักษาโรคโควิด-19
เมื่อถามว่า ประชาชนอยากรับรู้ “ข้อมูลข่าวสารหรือประเด็นที่สนใจเกี่ยวกับโควิด-19” จากช่องทางใด พบว่า 81.01% ระบุโทรทัศน์ รองลงมา 66.37% เฟซบุ๊ก (Facebook) 58.97% ระบุ ไลน์ (Line)
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
นายกฯ ยัน ยังไม่เคอร์ฟิว 24 ชม. วอนรอฟังประกาศอย่าเชื่อข่าวปลอม
"พี่สาวธนาธร" ซัดคนปล่อยข่าวปลอมแจกเงิน หยุดซ้ำเติมประชาชน หลังทำคนรอเก้อนับพัน
เมื่อถามว่า ประชาชนอยากรับรู้ “ข้อมูลข่าวสารหรือประเด็นที่สนใจเกี่ยวกับโควิด-19” บ่อยเพียงใด พบว่า 60.34% ระบุ ทุกวัน รองลงมา 27.84% ทุกครึ่งวัน (ครึ่งวันเช้า – ครึ่งวันเย็น) และ 5.95 % ระบุทุกชั่วโมง
เมื่อถามว่า จากการเสพข่าวหรือประเด็นเกี่ยวกับโรคโควิด-19 ทุกวันนี้ ประชาชนเกิด”ความเครียด/วิตกกังวล” หรือไม่ พบว่า 58.57% ระบุเครียด/วิตกกังวล รองลงมา 41.43% ระบุไม่เครียด/ไม่วิตกกังวล
และเมื่อถามว่า”ความเครียด/วิตกกังวล” จากการเสพข่าวหรือประเด็นเกี่ยวกับโรคโควิด-19 ของประชาชน เกิดจากอะไร พบว่า 60.70% ระบุมีทั้งข่าวจริงและข่าวปลอม แยกแยะยาก รองลงมา 55.01% ระบุ ตัวเลข/จำนวนข้อมูลผู้ติดเชื้อและผู้เสียชีวิตจำนวนมาก และ 44.04% ระบุ การนำเสนอข้อมูลที่แตกต่างกัน หลากหลายข่าว
คถามสุดท้าย เมื่อถามว่า เมื่อมี “ความเครียด/วิตกกังวล” จากการเสพข่าวหรือประเด็นเกี่ยวกับโรคโควิด-19 ประชาชนทำอย่างไรให้หายเครียด พบว่า 72.40% ระบุ หากิจกรรมอื่นทำ เช่น เล่นเกมส์ ปลูกต้นไม้ คุยแชท เล่นโซเชียล ฯลฯ รองลงมา 59.29% ระบุ เสพข่าวอย่างมีสติ และ 46.04% ระบุใช้วิจารณญาณแยกแยะข่าวจริง ข่าวปลอม
Advertisement