Logo site Amarintv 34HD
Logo LiveSearch
Search
Logo Live
Logo site Amarintv 34HD
ช่องทางติดตาม AMARINTV
  • facebook AMARIN TV 34 HD
  • x AMARIN TV 34 HD
  • line AMARIN TV 34 HD
  • youtube AMARIN TV 34 HD
  • instagram AMARIN TV 34 HD
  • tiktok AMARIN TV 34 HD
  • RSS Feed AMARIN TV 34 HD
วิจัยใหม่พบ "ค้างคาว" ในไทย ซุกไวรัสคล้ายสายพันธุ์ก่อโรคโควิด-19

วิจัยใหม่พบ "ค้างคาว" ในไทย ซุกไวรัสคล้ายสายพันธุ์ก่อโรคโควิด-19

13 ก.พ. 64
14:09 น.
|
8.6K
แชร์

วิจัยใหม่ พบฝูง "ค้างคาวเกือกม้า" ทางตะวันออกไทย ซุกไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ที่ก่อให้เกิดโรคโควิด-19

วันนี้(13 ก.พ.64) สำนักข่าวซินหัวรายงาน ผลการศึกษาฉบับใหม่พบว่าค้างคาวฝูงเล็กในภาคตะวันออกของไทยเป็นพาหะของไวรัสโคโรนา ซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงกับไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (โควิด-19)

สำนักข่าวสปุตนิก (Sputnik) ของรัสเซียอ้างผลการศึกษาที่เผยแพร่ในวารสารเนเจอร์ คอมมิวนิเคชันส์ (Nature Communications) เมื่อวันอังคาร (9 ก.พ.) ว่าไวรัสสายพันธุ์ใหม่นี้ถูกพบในเลือดของค้างคาวเกือกม้า 5 ตัว ที่อาศัยอยู่ในถ้ำจำลองของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแห่งหนึ่ง

คณะนักวิจัยจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยพบว่าเลือดของค้างคาวฝูงนี้มีรหัสพันธุกรรมเหมือนกับของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่สูงถึงร้อยละ 91.5

“เราจำเป็นต้องเฝ้าระวังสัตว์ต่างๆ ให้มากขึ้น” หวังหลินฟา ศาสตราจารย์จากโรงเรียนแพทย์แห่งมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์และมหาวิทยาลัยดุ๊กแห่งสหรัฐฯ (Duke-NUS Medical School) ในสิงคโปร์ ผู้มีส่วนร่วมในการศึกษาครั้งนี้ กล่าวกับผู้สื่อข่าว “เราจำเป็นต้องเฝ้าระวังและตรวจสอบพื้นที่นอกพรมแดนจีนด้วย เพื่อค้นหาต้นกำเนิดที่แท้จริงของโรคโควิด-19”

ก่อนหน้านี้ เมื่อ 10 ก.พ.64  เจ้าหน้าที่จากองค์การอนามัยโลก (WHO) และผู้เชี่ยวชาญของทางการจีน แถลงข่าวร่วมกันเมื่อวันอังคาร (9 ก.พ.) โดยยืนยันว่า ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (SARS-CoV-2) ที่ทำให้เกิดไวรัสโควิด-19 อาจระบาดอยู่แล้วในภูมิภาคอื่น ก่อนที่จะถูกพบที่เมืองอู่ฮั่น ตอนกลางของจีน เมื่อปลายปี พ.ศ. 2562

เหลียง ว่านเหนียน ผู้เชี่ยวชาญจากคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติของจีน กล่าวว่า การสำรวจระยะเวลาเกือบ 1 เดือนของทีมงานที่นำโดยองค์การอนามัยโลก ไม่พบหลักฐานว่าไวรัสดังกล่าวอยู่ในเมืองอู่ฮั่นก่อนการระบาดเมื่อปลายปี 2562 และไม่พบว่ามีสัตว์ชนิดใดเป็นพาหะนำโรคโควิด-19 มาติดต่อยังมนุษย์ แต่ถึงกระนั้น ก็เชื่อว่า ไวรัสชนิดนี้น่าจะมีจุดเริ่มต้นมาจากสัตว์ แต่ยังไม่ทราบชนิด

ด้านปีเตอร์ เบน เอมบาเรก หัวหน้าทีมงานขององค์การอนามัยโลก กล่าวว่า การสอบสวนครั้งนี้พบข้อมูลใหม่ แต่ข้อมูลใหม่นี้ก็ไม่ได้เปลี่ยนแปลงภาพกว้างของการระบาดนัก และทีมงานก็พยายามหาต้นตอของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 ในธรรมชาติ อย่างเช่น ค้างคาว แต่ก็มีแนวโน้มว่าไม่ได้มาจากเมืองอู่ฮั่นอยู่ดี นอกจากนียังระบุว่าเป็นไปไม่ได้ที่เชื้อไวรัสโควิด-19 จะถูกปล่อยออกมาจากห้องปฏิบัติการ (ห้องแล็บ) ของรัฐบาลจีนในเมืองอู่ฮั่น ตามกระแสข่าวลือที่เคยแพร่สะพัดในโลกออนไลน์

Advertisement

แชร์
วิจัยใหม่พบ "ค้างคาว" ในไทย ซุกไวรัสคล้ายสายพันธุ์ก่อโรคโควิด-19