วัคซีนจอห์นสันแอนด์จอห์นสัน (Johnson & Johnson) เป็นวัคซีนของบริษัทจอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน ประเทศอังกฤษ โดยก่อนหน้านี้ในยุโรป มีการฉีดให้กับกลุ่มอาสาสมัครทั้งวัยหนุ่มสาวและผู้สูงอายุในปริมาณเพียงหนึ่งโดส และพบว่ามีความปลอดภัยและสามารรถกระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกันในกลุ่มทดลองดังกล่าว
สธ.เผยผลสอบสวนเบื้องต้น ผู้ป่วยเส้นเลือดโป่งพอง เสียชีวิตไม่เกี่ยวกับ วัคซีนโควิด
ดร.พอล สโตฟเฟลส์ หัวหน้านักวิทยาศาสตร์ของจอห์นสันแอนด์จอห์นสัน กล่าวว่า "ข้อมูลทดลองทางคลินิกในระยะที่ 1 และระยะที่ 2 บ่งชี้ว่า การฉีดวัคซีนโดสเดียวสามารถสร้างแอนติบอดีในระดับคงที่ได้ ข้อมูลนี้ช่วยให้บริษัทมั่นใจว่าวัคซีนจะมีประสิทธิภาพสูงในการป้องกันไวรัสโควิด-19"
ในส่วนของนักวิทยาศาสตร์ของบริษัทได้ทำการทดลอง ด้วยการสุ่มฉีดวัคซีนที่เรียกว่า Ad26.COV2.S และยาหลอกในปริมาณมากน้อยสลับกันไปในกลุ่มวัยผู้ใหญ่ที่แข็งแรง อายุ 18-55 ปี และผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป โดยอาสาสมัครบางรายในช่วงอายุ 18-55 ปี จะได้รับวัคซีน 2 โดส
ทั้งนี้ ผลการทดลองพบว่า หลังได้รับวัคซีนผ่านไป 28 วัน ร่างกายของอาสาสมัครส่วนใหญ่สามารถผลิตแอนติบอดีที่มีความเป็นกลาง ซึ่งนักวิจัยเชื่อว่ามีบทบาทสำคัญในการช่วยปกป้องเซลล์ในร่างกายให้ปลอดภัยจากไวรัสโควิด-19
ผลการทดลองยังระบุว่า เมื่อผ่านไป 57 วัน อาสาสมัครทุกรายจะมีแอนติบอดีดังกล่าวในร่างกาย ไม่ว่าจะได้รับวัคซีนกี่โดสหรืออายุเท่าใดก็ตาม โดยในกลุ่ม 18-55 ปี จะมีระดับแอนติบอดีคงที่อย่างน้อย 71 วัน
ด้านสำนักงานยาแห่งยุโรป (EMA) ได้ให้การอนุมัติการใช้วัคซีนของบริษัทจอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน สำหรับผู้ที่มีอายุมากกว่า 18 ปี จากการตรวจสอบและประเมินข้อมูลของทางบริษัท โดยศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งสหรัฐ (CDC) ออกแถลงการณ์ระบุว่า วัคซีนต้านไวรัสโควิด-19 ของบริษัทจอห์นสัน แอนด์จอห์นสัน สามารถนำมาใช้ฉีดเป็นวัคซีนเข็มที่ 2 ทดแทนวัคซีนของไฟเซอร์และโมเดอร์นา หากผู้รับวัคซีนเข็มแรกมีอาการแพ้วัคซีนของทั้งสองบริษัท
อย่างไรก็ตาม ผลข้างเคียงของวัคซีนที่พบได้บ่อยคือ มีอาการไข้ เหนื่อยล้า ปวดศีรษะและกล้ามเนื้อ และมีอาการเจ็บปวดบริเวณจุดที่ฉีด โดยอาการดังกล่าวจะพบน้อยลงในกลุ่มผู้สูงอายุที่ได้รับวัคซีนหนึ่งโดส รวมถึงผู้ที่ได้รับวัคซีนในปริมาณที่น้อยกว่า
ขณะที่วานนี้ ( 25 มี.ค. 64 ) นายแพทย์ไพศาล ดั่นคุ้ม เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยว่า จากการที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ซึ่งมีหน้าที่ในการพิจารณาขึ้นทะเบียนวัคซีนโควิด-19 ได้อำนวยความสะดวก และเปิดช่องทางพิเศษในการยื่นคำขอขึ้นทะเบียน เพื่อให้สามารถอนุมัติทะเบียนได้อย่างรวดเร็วนั้น ล่าสุดวัคซีนของจอห์นสันแอนด์จอห์นสัน โดยบริษัท แจนเซ่น-ซีแลก จำกัด ซึ่งเป็นภาคเอกชนที่มายื่นขอขึ้นทะเบียนได้รับอนุมัติทะเบียนจาก อย. แล้วเป็นรายที่ 3 ต่อจากวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า ของบริษัท แอสตร้าเซนเนก้า (ประเทศไทย) จำกัด ที่ได้รับอนุมัติทะเบียนไปเมื่อวันที่ 20 มกราคม 2564 และวัคซีนโคโรนาแวค ของบริษัท ซิโนแวค นำเข้าโดยองค์การเภสัชกรรม ซึ่งได้รับอนุมัติทะเบียนเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2564
นอกจากนี้ ยังมีวัคซีนของบริษัท บารัต ไบโอเทค เทคโนโลยี ประเทศอินเดีย นำเข้าโดยบริษัท ไบโอจีนีเทค จำกัด อยู่ระหว่างการยื่นเอกสารแบบต่อเนื่อง หรือ rolling submission และสำหรับวัคซีนอื่น ๆ ได้แก่ วัคซีนโมเดอร์นา ของประเทศสหรัฐอเมริกา วัคซีนสปุตนิก ไฟว์ ของประเทศรัสเซีย และวัคซีน ซิโนฟาร์ม ของประเทศจีน ได้มีการเข้าหารือกับ อย. เพื่อเตรียมการยื่นคำขอขึ้นทะเบียนวัคซีนโควิด-19 แล้ว
เลขาธิการฯ อย. กล่าวเพิ่มเติมในตอนท้ายว่า ผู้รับอนุญาตนำเข้ายา หรือผู้รับอนุญาตที่เป็นโรงพยาบาลเอกชน หรือ ภาคเอกชนอื่น ที่สนใจยื่นขอขึ้นทะเบียนวัคซีนโควิด-19 สามารถยื่นเอกสารเพื่อขอประเมินคุณภาพ ประสิทธิผล และความปลอดภัยของวัคซีน อย. พร้อมอำนวยความสะดวก โดยได้ระดมผู้เชี่ยวชาญจากภายในและภายนอก อย. มาร่วมพิจารณา ถ้ายื่นเอกสารครบถ้วนตามที่กำหนดจะใช้เวลาในการประเมินและพิจารณาอนุญาตประมาณ 30 วัน โดย อย. คำนึงถึงคุณภาพความปลอดภัยของวัคซีนตามมาตรฐานสากลเป็นสำคัญ เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงวัคซีนได้อย่างปลอดภัย
โควิดกรุงเทพ ยอดรวม 2,055 ราย ไทม์ไลน์ผู้ติดเชื้อใหม่โยง 5 ตลาดย่านบางแค
สธ.พบผู้ป่วยเส้นเลือดโป่งพองแตก เสียชีวิตหลังฉีด วัคซีนโควิด เร่งสอบสวนโรค
Advertisement