สดร.เผยภาพปรากฎการณ์หายาก ดวงจันทร์บังดาวอังคาร คืน 17 เมษายน 2564 อีก 19 ปี กว่าจะได้เห็นอีก!
วันที่ 18 เม.ย.สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เผยภาพ “ดวงจันทร์บังดาวอังคาร” คืน 17 เมษายน 2564 ก่อนดาวอังคารแตะขอบดวงจันทร์ เวลา 20:09 น. บันทึกภาพ ณ อุทยานดาราศาสตร์สิรินธร อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ และขณะดาวอังคารโผล่พ้นออกจากดวงจันทร์ เวลา 21:26 น. บันทึกภาพ ณ หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา ฉะเชิงเทรา ปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ดังกล่าวหาชมยากในไทย กระแสในโซเชียลมีเดียคึกคัก สดร. จัดถ่ายทอดสดทางเพจเฟซบุ๊ก NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ มีประชาชนให้ความสนใจติดตามชมกว่าหลายพันคน
ชวนรอดู ดวงจันทร์บังดาวอังคาร คืนนี้ (17 เม.ย.) หากพลาดต้องรออีก 19 ปี
สำหรับบรรยากาศการเฝ้าติดตามชมปรากฏการณ์ดังกล่าว แม้ว่าสภาพท้องฟ้าจะมีเมฆมากและฝนตกเกือบทุกภูมิภาคในไทย แต่ก็ยังสามารถสังเกตเห็นได้หลายจังหวัด อาทิ เชียงใหม่ นนทบุรี ฉะเชิงเทรา ตราด ระยอง ชลบุรี นครราชสีมา ร้อยเอ็ด สุรินทร์ ขอนแก่น เลย ศรีสะเกษ ระนอง ภูเก็ต สงขลา ยะลา ฯลฯ
การบังกันของวัตถุท้องฟ้า (Occultations) เป็นปรากฏการณ์ที่วัตถุท้องฟ้าหนึ่งเคลื่อนที่ผ่านหน้ามาบังอีกวัตถุหนึ่งเมื่อสังเกตจากแนวสายตา อาทิ ดวงจันทร์บังดาวเคราะห์ ดวงจันทร์บังดาวฤกษ์ ดาวเคราะห์บังดาวฤกษ์ ดาวเคราะห์บังกันเอง เป็นต้น
เราสามารถใช้ปรากฏการณ์นี้คำนวณหาระยะห่างระหว่างโลกกับดวงจันทร์ คำนวณหาขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของวัตถุ ตรวจหาและศึกษาโครงสร้างของชั้นบรรยากาศ รวมถึงการใช้ตรวจหาวงแหวนของดาวเคราะห์ชั้นนอกได้อีกด้วย เป็นอีกหนึ่งปรากฏการณ์สำคัญที่เป็นประโยชน์ต่อวงการวิจัยดาราศาสตร์
ดวงจันทร์บังดาวอังคาร เป็นปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ที่หาชมยาก เกิดขึ้นไม่บ่อยนัก และนานทีจะสังเกตการณ์ได้ในประเทศไทย #ครั้งต่อไปที่สามารถสังเกตได้ในไทย อีก 19 ปีข้างหน้า จะเกิดขึ้นวันที่ 22 มีนาคม 2583 เวลาประมาณ 00:15 น.
คืนนี้ 13 ธ.ค. ถึงเช้ามืด ชมฝนดาวตก "เจมินิดส์" นักดาราศาสตร์เผยช่วงเวลา "สวยที่สุด"
ชวนดูปรากฏการณ์ "ดาวอังคาร" เข้าใกล้โลก 6 และ 14 ต.ค. นี้
Advertisement