คืบหน้า โรงงานกิ่งแก้วระเบิด กรีนพีซ ออกแถลงการณ์ จี้ วราวุธ-ประยุทธ์ ผ่านร่างกฎหมายการปลดปล่อยและเคลื่อนย้ายมลพิษ เข้าสภาฯ ย้ำต้องลงมือทำเดี๋ยวนี้!
วันที่ 5 ก.ค.64 กรณี โรงงานหมิงตี้เคมีคอล จำกัด ตั้งอยู่เลขที่ 87 หมู่ที่ 15 ซอยกิ่งแก้ว 21 ตำบลบางพลีใหญ่ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งเป็นโรงงานผลิตเม็ดโฟมและเม็ดพาสติกขนาดใหญ่ บนเนื้อที่หลายสิบไร่ ได้เกิดเหตุไฟไหม้และเกิดการระเบิดอย่างรุนแรง จนทำให้มีรัศมีการทำลายสิ่งปลูกสร้างต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นโรงงาน บ้านเรือนประชาชน และแรงสั่นสะเทือนรวมถึงเสียงระเบิด
ระวัง! สารสไตรีน จากเหตุ โรงงานกิ่งแก้วระเบิด หายใจเข้าไปมากเสี่ยงถึงตาย
ธารา บัวคำศรี ผู้อำนวยการ กรีนพีซประเทศ กล่าวว่า “เราขอแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้งกับครอบครัวเจ้าหน้าที่กู้ภัยที่เสียชีวิตจากการปฏิบัติหน้าที่ และเป็นอีกครั้งหนึ่งในจำนวนนับครั้งไม่ถ้วนที่สังคมไทยโดยเฉพาะอย่างยิ่งชุมชนโดยรอบโรงงานอุตสาหกรรม ต้องเผชิญกับอุบัติภัยสารเคมีร้ายแรงที่ต้องบันทึกลงฐานข้อมูลอัน ยาวเหยียดของความเสี่ยงภัยทางอุตสาหกรรมในประเทศไทย โดยเฉพาะ ในจังหวัดสมุทรปราการซึ่งรัฐบาลประกาศให้เป็นเขตควบคุมมลพิษมาตั้งแต่ปี 2537”
อนึ่ง โรงงานหมิงตี้ เคมีคอล จำกัด อยู่ในเครืออุตสาหกรรม Ming Dih Group Corporation จากไต้หวัน โดยเป็นฐานการผลิตโฟม EPS(Expandable Polystyrene) [1] กำลังการผลิต 30,000 ตันต่อปีเพื่อจัดจำหน่ายในประเทศไทยและส่งออกไปทั่วโลกตั้งแต่ปี 2541[2] ข้อมูลจากชุดปฏิบัติการฉุกเฉิน กรมควบคุมมลพิษที่เข้าตรวจสอบค่าสารมลพิษในพื้นที่เกิดเหตุ ระบุว่าสารเคมีที่ถูกไฟไหม้คือสไตรีนโมโนเมอร์ ก่อให้เกิดสารก่อมะเร็งเมื่อมีการเผาไหม้ หากสูดดมจะมีผลต่อร่างกายและระบบประสาท อาการเบื้องต้นคือ ปวดหัว มึน ระคายเคืองต่อผิวหนัง แสบตาหากได้รับในปริมาณสูงอาจจะชักและเสียชีวิต การหายใจเข้าไปในระยะนานๆ แม้ว่าความเข้มข้นต่ำจะทำให้อาจมีอาการทางสายตา การได้ยินเสื่อมลงและการตอบสนองช้าลง
ธารา บัวคำศรี กล่าวเพิ่มเติมว่า “มาตรการของกรมควบคุมมลพิษและกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นการบรรเทาและเยียวผลกระทบเฉพาะหน้า นั้นยังไม่เพียงพอและไม่มีอะไรรับประกันว่า ชุมชนและสังคมไทยโดยรวมจะไม่เผชิญกับผลกระทบจากอุบัติภัยทางอุตสาหกรรมซ้ำซากเช่นนี้อีก สิ่งที่นายวราวุธ ศิลปอาชา รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) และประยุทธ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ต้องลงมือทำเดี๋ยวนี้คือ การผ่านร่างกฎหมายการปลดปล่อยและเคลื่อนย้ายมลพิษ (Pollutant Release and Transfer Registers-PRTR) เข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร เพื่อให้มีผลบังคับใช้ในทันที”
หลายประเทศทั่วโลกออกกฎหมายและนำเอา PRTR [3] ไปประยุกต์ใช้ ประโยชน์ของ PRTR เป็นที่ยอมรับทั้งจากหน่วยงานรัฐ ภาคอุตสาหกรรม และภาคประชาชน ในการเป็นข้อมูลพื้นฐานเพื่อกำหนดนโยบายสิ่งแวดล้อมรวมถึง
ธารา กล่าวปิดท้ายว่า “เราต้องเจอกับการสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินจากผลกระทบจากมลพิษอุตสาหกรรมซ้ำแล้วซ้ำเล่ามานานเกินไปแล้ว ถึงเวลาที่ผู้กำหนดนโยบายทั้งหลายต้องรับรองกฎหมาย PRTR ที่ก้าวหน้าเพื่อสร้างสมดุลระหว่างการพัฒนาเศรษฐกิจที่ยั่งยืนเป็นธรรมและการปกป้องสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชน
คืบ โรงงานกิ่งแก้วระเบิด กองไฟลูกใหญ่ยังปะทุ ห้างเมกาประกาศปิด
โรงงานกิ่งแก้ว ระเบิด อาสาดับเพลิงวัย 19 เสียชีวิตขณะปฏิบัติหน้าที่
Advertisement