ที่ประชุมเห็นชอบให้กำหนดเป้าหมายการจัดหาวัคซีนให้ได้อย่างน้อย 10 ล้านโดสในเดือนกันยายน และเร่งฉีดในกลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มโรคเรื้อรัง 7 โรค และหญิงตั้งครรภ์อายุครรภ์ 12 สัปดาห์ขึ้นไป เพื่อลดการเสียชีวิต โดยการฉีดวัคซีนในเดือนกันยายน จะใช้การปูพรมฉีดให้ครอบคลุม โดยมีเกณฑ์การจัดสรรคือ
ผู้ที่ได้รับวัคซีนเข็มแรก จะได้ต้องได้วัคซีนเข็มที่ 2 , เพิ่มความครอบคลุมโดยฉีดวัคซีนในผู้สูงอายุให้ได้อย่างน้อย 70% ในทุกจังหวัดภายในเดือนกันยายน ควบคุมการระบาดในพื้นที่ต่างๆ ตามสถานการณ์ และฟื้นฟูเศรษฐกิจและรองรับแผนเปิดการท่องเที่ยวในระยะถัดไป
อย่างไรก็ตาม กรณีที่จัดหาวัคซีนได้น้อยกว่า 10 ล้านโดส จำนวนการจัดสรรจะลดลงตามสัดส่วนวัคซีนที่จัดหาได้ ซึ่งการจัดสรรวัคซีนจะแบ่งเป็น กทม. 15% จังหวัดอื่นๆ 75% จังหวัดที่เน้นการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ 10 จังหวัด 8% และกลุ่มอื่นๆ เช่น องค์กรภาครัฐ ราชทัณฑ์ และการควบคุมการระบาดตามสถานการณ์อีก 2%
ขณะเดียวกัน มีแผนการจัดซื้อวัคซีนในเดือนสิงหาคม-กันยายน ซึ่งที่ประชุมได้เห็นชอบแล้วดังนี้ จองวัคซีนไฟเซอร์เพิ่มเติมอีก 10 ล้านโดส พร้อมให้องค์การเภสัชกรรมจัดหาวัคซีนซิโนแวค อีก 12 ล้านโดส และเจรจาจัดหาวัคซีนอื่นๆ เพิ่มเติมอีก 10 ล้านโดสภายในปี 2564
อนึ่ง ประเทศไทยมีการฉีดวัคซีนไปแล้วกว่า 23.5 ล้านโดส โดยในจำนวนนี้ มีการฉีดวัคซีนแบบไขว้เข็มไปแล้ว คือซิโนแวคกับแอสตราเซเนกา ไปแล้ว 9.7 แสนคน ยืนยันว่าไม่พบอาการไม่พึงประสงค์ และไม่พบผู้รับวัคซีนสูตรนี้เสียชีวิตจากโรคโควิด-19 โดยผลการทดสอบการฉีดวัคซีนแบบไขว้เข็ม 77 คน พบว่า กลุ่มที่ฉีดซิโนแวคและแอสตร้าเซนเนก้านั้น กระตุ้นภูมิได้สูงมาก โดยมีค่า gG antibody ต่อ Spike protein อยู่ที่ 3,962 ซึ่งมากกว่าซิโนแวค 2 เข็ม ซึ่งมีค่าเฉลี่ย gG antibody ต่อ Spike protein อยู่ที่ 1,006 และแอสตร้าเซนเนก้า 2 เข็ม ซึ่งมีค่าเฉลี่ย gG antibody ต่อ Spike protein อยู่ที่ 1,207
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
- กรมควบคุมโรค ชี้คนไทยฉีดวัคซีน ซิโนแวค มากที่สุด (ข้อมูล 15 ส.ค.) 11 ล้านโดส
- หมอมนูญ แนะควรหยุดสั่งซื้อ วัคซีนซิโนแวค จนกว่าจะมีรุ่นที่ครอบคลุมเชื้อทุกสายพันธุ์
- ฮ่องกง เผยวัคซีนไฟเซอร์ สร้างแอนติบอดี สูงกว่า ซิโนแวค ถึง 10 เท่า
Advertisement