เมื่อคืนที่ผ่านมา กระทรวงแรงงานสหรัฐ รายงาน ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ซึ่งเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อจากการใช้จ่ายของผู้บริโภค พุ่งขึ้น 7.9% ในเดือน ก.พ. เมื่อเทียบรายปี ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 40 ปี นับตั้งแต่เดือนม.ค.2525 และสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 7.8% นอกจากนี้หากเทียบรายเดือน ดัชนี CPI เพิ่มขึ้น 0.8% ในเดือนก.พ. สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 0.7%
ขณะเดียวกัน ดัชนี CPI พื้นฐาน ซึ่งไม่นับรวมหมวดอาหารและพลังงาน พุ่งขึ้น 6.4% ในเดือนก.พ. เมื่อเทียบรายปี ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 40 ปีเช่นกัน นับตั้งแต่เดือนส.ค.2525 สอดคล้องกับตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ ส่วนเมื่อเทียบรายเดือน ดัชนี CPI พื้นฐานดีดตัวขึ้น 0.5%
ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ผู้นำรัสเซีย กล่าวในวันที่สหรัฐฯ ประกาศคว่ำบาตรน้ำมันจากรัสเซียว่า
“การที่ชาติตะวันตกออกมาตรการคว่ำบาตรต่อรัสเซียจะส่งผลกระทบย้อนกลับไปสู่ชาติตะวันตกเอง โดยจะทำให้ราคาอาหารและพลังงานพุ่งขึ้น แม้ว่ารัสเซียเริ่มได้รับผลกระทบบ้างจากมาตรการคว่ำบาตร แต่ปูตินย้ำว่า เราเคยผ่านพ้นสิ่งเหล่านี้มาแล้ว ซึ่งครั้งนี้เราจะผ่านไปได้ และท้ายที่สุด สิ่งนี้จะทำให้แข็งแกร่งมากขึ้น มีอิสระมากขึ้น พึ่งพาตนเองได้มากขึ้น และมีอธิปไตยมากขึ้น"
สถานีโทรทัศน์ฟ็อกซ์ นิวส์ ได้เผยผลการวิจัยล่าสุดของยาร์เดนี รีเสิร์ช (Yardeni Research) ซึ่เป็นบริษัทด้านที่บรึกษา ระบุว่า ครัวเรือนชาวอเมริกันจะต้องจ่ายเงินค่าเชื้อเพลิงเบนซินเพิ่มขึ้นเกือบ 2,000 ดอลลาร์ และจ่ายค่าอาหารเพิ่มขึ้นแกือบ 1,000 ดอลลาร์ในปี 2565
นายเอ็ดเวิร์ด ยาร์เดนี ประธานบริษัทวิจัยยาร์เดนี ระบุว่า นั่นเป็นเงินเกือบ 3,000 ดอลลาร์ที่ภาคครัวเรือนจะต้องจ่ายเพิ่มขึ้นสำหรับสินค้าอุปโภคบริโภคและการบริการต่าง ๆ โดยราคาสินค้าและการบริการเหล่านี้ต่างก็ปรับตัวขึ้นอย่างรวดเร็ว"
รายงานระบุว่า การเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าและการบริการเป็นผลมาจากกราคาปลีกน้ำมันเบนซินของสหรัฐพุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ รวมทั้งภาวะเงินเฟ้อที่ภาคครัวเรือนของสหรัฐยังคงเผชิญอยู่ในขณะนี้
ขณะที่บิซิเนส อินไซเดอร์ (Business Insider) สื่อสหรัฐ อ้างอิงผลสำรวจใหม่ของเดอะ คอนเฟอเรนซ์ บอร์ด (The Conference Board) ระบุว่า ลูกจ้างชาวอเมริกันราว 62% กังวลว่าเงินเดือนของตนจะไม่ขึ้นตามราคาสินค้าที่สูงขึ้นผลสำรวจพบความกังวลดังกล่าวแตกต่างกันตามช่วงวัย โดยคนรุ่นมิลเลนเนียล (Millennials) เกือบ 3 ใน 4 กังวลเกี่ยวกับอัตราเงินเฟ้อที่พุ่งแซงการขยายตัวของรายได้ ขณะที่ชาวเบบี้บูมเมอร์ (Baby Boomers) ราว 59% มีความกังวลลักษณะเดียวกัน
ขณะที่ในสัปดาห์นี้ ราคาน้ำมันเบนซินขายปลีกของสหรัฐพุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์โดยราคาเฉลี่ยน้ำมันเบนซินขายปลีกของสหรัฐพุ่งขึ้นแตะระดับ 4.173 ดอลลาร์/แกลลอน ซึ่งเป็นระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ขณะที่พื้นที่บางแห่งของสหรัฐมีการจำหน่ายน้ำมันเบนซินเกินระดับ 5 ดอลลาร์/แกลลอน
ประธานาธิบดีโจ ไบเดน เคยประเมินว่า ราคาน้ำมันจะพุ่งขึ้นต่อไป อันเป็นผลจากมาตรการคว่ำบาตร ดังกล่าว แต่เขาให้สัญญาว่าจะดำเนินการทุกอย่างเพื่อลดผลกระทบต่อชาวอเมริกัน นอกจากนี้ ปธน.ไบเดนยังเตือนบริษัทน้ำมันของสหรัฐอย่าได้ฉวยโอกาสทำกำไรจากการโก่งราคาน้ำมัน ทั้งนี้ สหรัฐนำเข้าน้ำมันดิบและผลิตภัณฑ์น้ำมันเฉลี่ยมากกว่า 20.4 ล้านบาร์เรล/เดือนจากรัสเซียในปีที่แล้ว
โอเปกเตือน อย่าใช้พลังงานมาต่อรองทางการเมือง
ก่อนหน้านี้ นายโมฮัมหมัด บาร์คินโด เลขาธิการองค์การกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) ออกโรงเตือนในวันอังคาร (8 มี.ค.) ว่า โลกไม่อาจหาน้ำมันมาทดแทนส่วนแบ่งการส่งออกน้ำมันของรัสเซียได้ โดยเรียกร้องให้ทุกฝ่ายยุติการใช้พลังงานมาเป็นเครื่องต่อรองทางการเมือง ประเด็นสำคัญคือขีดความสามารถของโลกในการชดเชยภาวะขาดแคลนน้ำมันจากการส่งออกของรัสเซีย" นายบาร์คินโดกล่าวที่การประชุมพลังงานโลก CERAWeek ในเมืองฮิวสตัน รัฐเท็กซัส ประเทศสหรัฐ
ถ้อยแถลงของนายบาร์คินโดว่า
"ในทางปฏิบัติแล้วเป็นไปไม่ได้เลย ที่รัสเซียจะเดินหน้าส่งออกน้ำมันต่อวันต่อไปได้ตามปกติ ภายใต้มาตรการคว่ำบาตรทางการเงินที่นานาประเทศบังคับใช้กับรัสเซียจากผลพวงของวิกฤตยูเครน โดยระบุว่า การคว่ำบาตรเหล่านี้ "ถือได้ว่ารุนแรงที่สุดเท่าที่เคยมีมา ขณะนี้ เรายังไม่ประสบกับภาวะขาดแคลนน้ำมัน แต่มีแนวโน้มที่จะเกิดกรณีดังกล่าวจากผลพวงของการออกมาตรการคว่ำบาตรทางการเงินต่อรัสเซีย...คุณอาจต้องใช้เวทมนตร์ถึงจะสามารถเดินหน้าผลิตและส่งออกน้ำมันได้เท่ารัสเซีย"
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
มาตามนัด! สหรัฐแบนน้ำมันรัสเซีย ดันราคาพุ่งสูงสุดในรอบ 14
มาแล้ว! น้ำมัน 130 เหรียญ แพงสุดในรอบ 13 ปี
นายกสั่งตรึงดีเซล 30 บาท/ลิตรจนกว่าจะตรึงไม่ได้