Logo site Amarintv 34HD
Logo LiveSearch
Search
Logo Live
Logo site Amarintv 34HD
ช่องทางติดตาม AMARINTV
  • facebook AMARIN TV 34 HD
  • x AMARIN TV 34 HD
  • line AMARIN TV 34 HD
  • youtube AMARIN TV 34 HD
  • instagram AMARIN TV 34 HD
  • tiktok AMARIN TV 34 HD
  • RSS Feed AMARIN TV 34 HD
รัฐบาลแจง 22 ล้านถือบัตรคนจน 'ไม่ใช่คนจน' ย้ำ 'ยุคบิ๊กตู่คนจนลดลง'
โดย : อมรินทร์ทีวีออนไลน์

รัฐบาลแจง 22 ล้านถือบัตรคนจน 'ไม่ใช่คนจน' ย้ำ 'ยุคบิ๊กตู่คนจนลดลง'

6 พ.ย. 65
12:03 น.
|
898
แชร์

รัฐบาลแจงผู้ถือบัตรสวัสดิการกว่า 22 ล้านคนไม่ใช่คนจนทั้งหมด เส้นแบ่งความยากจนในไทย "ต้องมีรายได้ต่ำกว่า  2,802 บาท/เดือน" ย้ำ 'ยุคบิ๊กตู่คนจนลดลง'


น.ส.ทิพานัน ศิริชนะ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ขณะนี้กระทรวงการคลังได้ "ปิดรับ" การลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ปี 2565แล้ว โดยมีผู้ลงทะเบียนตั้งแต่วันที่ 5 กันยายน-31 ตุลาคม 2565 จำนวน 22,293,473 ราย (ข้อมูล ณ วันที่ 1 พฤศจิกายน 2565 เวลา 15.00 น.)

ผู้ที่ลงทะเบียนแล้วและผ่านขั้นตอนตรวจสอบสถานะแล้ว พบว่า "สถานะการลงทะเบียนสมบูรณ์" ไม่ต้องดำเนินการใดๆ ขอให้รอการประกาศผลการตรวจสอบคุณสมบัติในช่วงเดือนมกราคม 2566 ซึ่งการลงทะเบียนบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ จะต้องมีการตรวจสอบคุณสมบัติ ที่เข้าเงื่อนไข ซึ่งจะทำให้การใช้งบประมาณในการให้ความช่วยเหลือได้อย่างประสิทธิภาพ แก้ปัญหาตรงจุดและตรงกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น

ส่วนผู้ที่ "สถานะการลงทะเบียนไม่สมบูรณ์" สามารถตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลได้ที่ที่ว่าการอำเภอหรือสำนักงานเขต หากพบข้อมูลไม่ถูกต้อง ต้องติดต่อขอแก้ไขข้อมูล ที่หน่วยงานรับลงทะเบียนที่ตนเองยื่นเอกสารเท่านั้น ส่วนผู้ลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์ สามารถติดต่อขอแก้ไขข้อมูลที่หน่วยงานรับลงทะเบียนใดก็ได้ ซึ่งต้องดำเนินการแก้ไขให้แล้วเสร็จภายในวันพฤหัสบดีที่ 17 พฤศจิกายน 2565 นี้เท่านั้น

 

ย้ำคนถือบัตรคนจน ไม่ใช่คนจนทั้งหมด

"ต้องขอย้ำว่า จำนวนลงทะเบียนหรือผู้ที่ได้รับ "บัตรสวัสดิการ" ไม่ใช่จำนวนคนจนในประเทศไทย แต่เป็นกลุ่มที่รัฐบาลต้องการเข้าไปช่วยดูแลลดความเหลื่อมล้ำ พัฒนาคุณภาพชีวิตของกลุ่มเปราะบางให้ดีขึ้น เป็นหนึ่งในนโยบายในการแก้ไขปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำที่เป็นวาระสำคัญของชาติ" น.ส.ทิพานัน กล่าว

ที่ไม่ใช่คนจนทั้งหมด "เพราะทุกรัฐบาลมีเส้นเกณฑ์วัดความจน" เป็นตัวกำหนดว่า ต้องมีรายได้เท่าไรถึงจะเรียกได้ว่าเป็น "คนจน"

จากข้อมูลการสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน สำนักงานสถิติแห่งชาติ ที่มีการวิเคราะห์หลายมิติ ระบุว่า ในปี 2564 ประเทศไทยมีคนจนอยู่ที่ 4,404,616 ล้านคน คิดเป็น 6.32 % ของประชากรทั้งประเทศ 

สำหรับเกณฑ์ตัดสินว่าบุคคลนั้นเข้าข่ายจนหรือไม่จน ในปี 2564 คือ "รายได้ต่อเดือนต้องได้ต่ำกว่า 2,802 บาทต่อคน/ต่อเดือน" และหากพิจารณาข้อมูลย้อนไป 10 ปีจากสถิติ ยังพบว่า ในปี 2555 ยังมีคนจนอยู่ถึง 8,441,462 คน

น.ส.ทิพานัน กล่าวว่า ในระหว่างปี 2560-2565 รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ยังมุ่งมั่นแก้ปัญหาคนจนโดยใช้ Big data และระบบวิเคราะห์ข้อมูลแบบชี้เป้า โดยอ้างอิงฐานข้อมูลการพัฒนาคนแบบชี้เป้า (Thai People Map and Analytics Platform: TPMAP) โดยข้อมูลการสำรวจนี้จะแตกต่างจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ เป็นการนำข้อมูลคนที่ลงทะเบียนบัตรสวัสดิการแห่งรัฐมาตรวจสอบและลงพื้นที่โดยเจ้าหน้าที่เพื่อสำรวจสอบถามถึงความรุนแรงของปัญหาตามเกณฑ์ข้อมูลความจำเป็นพื้นฐานของกระทรวงมหาดไทย เช่น ในปี 2560 พบมีคนจน 1,702,499 คน จากการสำรวจ 35,999,061 คน

และล่าสุด "คนจนเป้าหมาย" ณ วันที่ 25 ม.ค. 2565 ในประเทศไทย ที่ต้องการความช่วยเหลือเร่งด่วนเหลือเพียง 1,025,782 คน จากการสำรวจ 36,103,806 คน และเมื่อแบ่งมิติปัญหาที่ต้องช่วยเร่งด่วนพบว่า

  1. ด้านสุขภาพ 218,757 คน
  2. ด้านความเป็นอยู่ 220,037 คน
  3. ด้านการศึกษา 272,518 คน
  4. ด้านรายได้ 506,647 คน
  5. ด้านเข้าถึงบริการภาครัฐ 3,335 คน 

    000_1sj42o

 

ดังนั้นจะเห็นได้ว่าไม่ว่าจะสถิติจากตัวชี้วัดใดทั้ง สำนักงานสถิติแห่งชาติ หรือ TPMAP จำนวนคนจนได้ลดลงต่อเนื่อง ยิ่งในช่วงการแก้ปัญหาความยากจนภายใต้การนำของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา จะเห็นว่าจำนวนลดลงไปหลายล้านคน

น.ส.ทิพานัน กล่าวว่า ดังนั้นจากยอดการลงทะเบียน 22,293,473 ราย ที่ยื่นลงทะเบียนบัตรสวัสดิการแห่งรัฐปี 2565 "จึงไม่ใช่จำนวน 'คนจน' ทั้งหมด" 

แต่ด้วยเงื่อนไขที่เปิดโอกาสให้คนที่มีรายได้ไม่เกิน 100,000 บาท/คน/ปี หรือแม้แต่ผู้มีบ้าน มีวงเงินกู้สำหรับที่อยู่อาศัยรวมไม่เกิน 1.5 ล้านบาท และมีเงินกู้สำหรับยานพาหนะรวมไม่เกิน 1 ล้านบาท ลงทะเบียนบัตรสวัสดิการแห่งรัฐได้ แต่หากรัฐบาลเลือกใช้เส้นความยากจนเป็นเกณฑ์ กำหนดรายได้ 33,624 บาท/คน/ปี หรือ 2,802 บาทต่อคน/ต่อเดือน จะทำให้การลงทะเบียนมีจำนวนลดลงทันที

น.ส.ทิพานัน กล่าวว่า แต่เพราะรัฐบาลต้องการช่วยเหลือดูแลประชาชน กลุ่มเปราะบางอื่นๆ เช่น กลุ่มพิการ กลุ่มด้อยโอกาส กลุ่มผู้สูงอายุ ผู้มีรายได้น้อย และกลุ่มคนจน ให้สามารถมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ลดความเหลื่อมล้ำลง ให้ความช่วยเหลือค่าใช้จ่าย ให้ใช้บริการพื้นฐานของรัฐ และมีมาตรการใหม่ๆใส่ในบัตรเพื่อดูแลตรงกลุ่ม ปี 2565 นี้จึงประชาสัมพันธ์อย่างทั่วถึง จนทำให้ประชาชนสนใจจำนวนมาก ที่สำคัญคอรัปชั่นไม่มีและสวัสดิการถึงมือประชาชน เป็นทุนชีวิต พร้อมกับสามารถกระตุ้นกำลังซื้อ ส่งผลกระทบต่อการผลิต ส่งผลต่อการจ้างงาน ทำให้ประเทศมีเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ บัตรสวัสดิการแห่งรัฐจึงเป็น นวัตกรรมลดความเหลื่อมล้ำที่ดีของ รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา

"แต่สิ่งฝ่ายค้านและพรรคเพื่อไทยต้องพึ่งระวังคือ หยุดด้อยค่าประชาชนจากสิทธิประโยชน์ที่ควรได้รับ หยุดดูถูกประชาชนที่ต้องการแบ่งเบาค่าใช้จ่าย หยุดตราหน้าประชาชนที่ลงทะเบียนว่าเป็น "คนจน" ต้องเลิกบิดเบือนข้อมูลที่ศึกษามาไม่ครบถ้วนไม่ถูกต้องแล้วนำไปสร้างวาทะกรรม ?คนจนเพิ่มขึ้น? จนสังคมและประชาชน 22,293,473 คนที่ลงทะเบียนสงสัยในความชัดเจนว่า ฝ่ายค้านและพรรคเพื่อไทยต้องการยกเลิกบัตรสวัสดิการแห่งรัฐใช่หรือไม่ หากเป็นเช่นนั้นก็ประกาศให้ชัดไปเลย" น.ส.ทิพานัน กล่าว

 

ประเทศอื่นๆ ใช้ฐานรายได้เท่าไรถึงแบ่งคนจน?

  • ธนาคารโลก - 1.9 ดอลลาร์/วัน     หรือเดือนละ 2,130 บาท
  • อินเดีย - 2.15 ดอลลาร์/วัน     หรือเดือนละ 2,405 บาท
  • จีน - 2.3 ดอลลาร์/วัน      หรือเดือนละ 2,573 บาท
  • มาเลเซีย - 2,208 ริงกิต/เดือน     หรือเดือนละ 17,425 บาท
  • สหรัฐ - 35 ดอลลาร์/วัน     หรือเดือนละ 39,150 บาท

*หมายเหตุ: ยกมาเฉพาะรายได้ต่อเดือน ยังไม่รวมเงื่อนไขอื่น ๆ 

 

หลักเกณฑ์ "บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ" ของไทย มีอะไรบ้าง?

  • สัญชาติไทย อายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์
  • การพิจารณารายได้ครัวเรือนโดยเฉลี่ยต่อคน ห้ามเกินคนละ 2 แสนบาทต่อปี 
  • รายได้บุคคลไม่เกิน 1 แสนบาทต่อปี

  • ไม่มีหรือมีทรัพย์สินทางการเงิน เช่น เงินฝากธนาคาร สลากออมทรัพย์ พันธบัตร ตราสารหนี้ รวมทั้งสิ้นไม่เกิน 1 แสนบาท

  • การถือครองกรรมสิทธิ์บ้านพร้อมที่ตินอยู่ ต้องเป็นบ้านหรือทาวน์เฮาส์ พื้นที่ไม่เกิน 25 ตารางวา

  • การถือครองกรรมสิทธิ์ห้องชุด ต้องมีพื้นที่ไม่เกิน 35 ตารางเมตร

  • การถือครองกรรมสิทธิ์ที่ดิน กรณีเป็นที่อยู่อาศัย และใช้ประโยชน์จากที่ดินเพื่อการเกษตร มีพื้นที่ได้ไม่เกิน 10 ไร่

  • การถือครองกรรมสิทธิ์ที่ดิน กรณีที่ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการอื่นที่ ไม่ใช่เพื่อการเกษตร มีพื้นที่ไม่เกิน 1 ไร่

  • ใช้บัตรประชาชนแทนบัตรสวัสดิการแห่งรัฐได้

  • ลงทะเบียนที่จุดรับลงทะเบียนได้แม้ไม่มีโทรศัพท์มือถือ

  • ผู้ถือบัตรสวัสดิการเก่า ต้องลงทะเบียนใหม่

 

แชร์
รัฐบาลแจง 22 ล้านถือบัตรคนจน 'ไม่ใช่คนจน' ย้ำ 'ยุคบิ๊กตู่คนจนลดลง'