ไม่กี่วันมานี้ ธนาคารพาณิชย์เบอร์ต้น ๆ ในไทยได้ทยอยประกาศงบกันออกมา
วันนี้ ทาง Spotlight เลยรวบรวมข้อมูลงบของ 3 แบงก์ใหญ่ที่มีกำไรมากสุดในไทยมาให้ พร้อมทั้งมุมมองเศรษฐกิจจาก CEO แต่ละท่าน จะเป็นอย่างมาดูกัน
- รายได้ 48,685 ล้านบาท เติบโต 0.01%
- กำไร 10,494 ล้านบาท ลดลง 12.3%
รายได้ลดลงจากอัตราตอบแทนที่ลดลง ส่วนรายได้จากธุรกิจอื่น อย่างเช่น ประกัน เติบโตขึ้น
ส่วนกำไรที่ลดลงมาจากค่าใช้จ่ายการตั้งสำรองที่เพิ่มขึ้น และ ปัจจัยตามฤดูกาล
- รายได้ดอกเบี้ย สัดส่วน 74.7%
- รายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ย 25.3%
- รายได้ 197,946 ล้านบาท เติบโต 2.8%
- กำไร 48,598 ล้านบาท เติบโต 14.6%
รายได้ทั้งปีเติบโตขึ้น สาเหตุมาจากอัตราผลตอบแทน และ ปริมาณการทำธุรกรรมที่เพิ่มขึ้น ส่วนรายได้จากธุรกิจอื่น อย่างเช่น ธุรกิจจัดการกองทุน เติบโตขึ้นเช่นกัน
ส่วนกำไรที่เพิ่มขึ้นมีสาเหตุมาจากการบริหารจัดการต้นทุนที่ดีจนเกิดประสิทธิภาพในการดำเนินงาน
- รายได้ดอกเบี้ย สัดส่วน 75.5%
- รายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ย 24.5%
- รายได้ 44,781 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 6.1% (เทียบกับตรมาสเดียวกันปีที่แล้ว)
- กำไร 10,404 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 17.4%
รายได้เพิ่มขึ้นจากธุรกิจการลงทุน ค่าธรรมเนียมและบริการ ส่งผลให้กำไรเติบโตขึ้น โดยรายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ยเติบโตขึ้น 53.7%
- รายได้ 175,811 ล้านบาท เติบโต 5.0%
- กำไร 45,211 ล้านบาท เติบโต 8.6%
รายได้ เพิ่มขึ้นจาก
- การปล่อยสินเชื่อมากขึ้น
- ผลตอบแทนจากสินทรัพย์ที่เพิ่มขึ้น
- ธุรกิจการลงทุน
ส่วนกำไรเพิ่มขึ้นจากรายได้ที่เพิ่มขึ้น
- รายได้ดอกเบี้ย สัดส่วน 76.2%
- รายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ย 23.8%
- รายได้ 43,829 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 3.0%
- กำไร 11,707 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 6.5%
รายได้เพิ่มขึ้นจาก ค่าธรรมเนียมธุรกิจ Wealth และ การลงทุนและการค้า โดยพอร์ตลงทุนของ SCB10X ธุรกิจที่ลงทุนในสตาร์ตอัปเกี่ยวกับคริปโตฯ พลิกจากขาดทุนเป็นกำไร
ส่วนกำไรเพิ่มขึ้นจากรายได้ที่เพิ่มขึ้น และค่าใช้จ่ายที่ลดลง
- รายได้ 172,373 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 0.7%
- กำไร 43,943 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1.0%
รายได้เพิ่มขึ้นจากส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยระหว่างผลตอบแทน กับ ต้นทุนที่ดีขึ้น
ส่วนกำไรเพิ่มขึ้นจากการควบคุมค่าใช้จ่ายได้ดี ค่าใช้จ่ายจากการขายธุรกิจแพลตฟอร์มส่งอาหาร Robinhood ไม่กระทบค่าใช้จ่ายโดยรวม
โดยมีการลดค่าใช้จ่ายตั้งสำรองเครดิตจากธุรกิจสินเชื่อ CardX ลง
การเติบโตในปีที่แล้วมาจากภาคการท่องเที่ยว และ การส่งออกสินค้าเทคโนโลยี เป็นหลัก
ส่วนภาคการผลิต การลงทุน และการใช้จ่ายของครัวเรือนยังอ่อนแอ โดยเฉพาะกำลังซื้อที่เพิ่มขึ้นได้ไม่มากจากปัญหาหนี้ครัวเรือนที่สูง
ส่วนในปี 2568 คุณ ขัตติยา มองว่า เศรษฐกิจไทยยังต้องเจอกับความไม่แน่นอนทางด้านการเมืองในสหรัฐฯ ปัญหาด้านเศรษฐกิจของจีน ไปจนถึง ปัญหาในประเทศอย่าง ภาคการผลิต และ หนี้ครัวเรือนที่สูง
ในปีที่แล้วเศรษฐกิจไทยเติบโตจากการท่องเที่ยวที่ฟื้นตัว และ การส่งออก
ด้านการท่องเที่ยวไทยได้ประโยชน์จากมาตรการยกเว้นวีซ่า และ กิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยว
ด้านการส่งออก สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ สินค้าเกษตร และสินค้าอุตสาหกรรมเกษตร เติบโตดี
ในปี 2568 ต้องติดตามการกีดกันทางการค้าของประเทศคู่ค้าหลัก ราคาพลังงาน และ สินค้าโภคภัณฑ์ ที่ผันผวนจากความขัดแย้งระหว่างประเทศ
ไปจนถึงปัญหาหนี้ครัวเรือนที่ต้องแก้ให้ได้ เพื่อไม่ให้ส่งผลต่อเศรษฐกิจระยะยาว
ในปีที่แล้วเศรษฐกิจไทยโตต่ำกว่าที่คาดไว้ต้นปีจากปัจจัยอย่างเช่น ความขัดแย้งทางการเมือง และ ปัญหาโครงสร้างในประเทศทำให้เศรษฐกิจฟื้นตัวได้ไม่เต็มที่
ไปจนถึงหนี้ครัวเรือนในระดับสูง ทำให้คนใช้จ่ายกันอย่างระมัดระวัง
ในปี 2568 เศรษฐกิจไทยคาดว่าจะเติบโต 2.4% โดยมีความเสี่ยงจากการกีดกันทางการค้าของคุณ โดนัลด์ ทรัมป์
ที่เรียกเก็บภาษีนำเข้าสินค้าไทย อย่างเช่น อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ รถยนต์ เครื่องจักร และ คอมพิวเตอร์
รวมถึงจีนที่ตอนนี้ มีกำลังการผลิตเกินความต้องการ เลยอาจทำให้สินค้าไทยแข่งขันได้น้อยลง ส่งผลให้การส่งออกชะลอตัว
ส่วนการลงทุนในภาคเอกชนคาดว่าจะฟื้นตัวได้ในระดับปานกลาง