‘Easy E-receipt’ ร่างอวตารใหม่ที่จะมาแทน ‘ช้อปดีมีคืน’ ประจำปี 2567 นี้ มาตรการลดหย่อนภาษี กระตุ้นการใช้จ่าย เงื่อนไขรอบนี้คือ ‘ต้องออกใบกำกับภาษีเต็มรูปแบบ ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ ผ่านระบบ e-Tax Invoice & e-Receipt ของกรมสรรพากร’ โดยมีมูลค่าสูงสุดถึง 50,000 บาท
อีกหนึ่งหมวดสินค้าที่หลายคนยังไม่รู้ว่าสามารถนำมาใช้ลดหย่อนได้คือ บริการการซื้อ-ขายสินทรัพย์เพื่อการลงทุนทั้ง ‘หุ้น ทอง กองทุน คริปโทเคอร์เรนซี’ แต่จะลดหย่อนได้เท่าไหร่ มีเงื่อนไข ติดตามได้ที่นี่
สำหรับการบริการซื้อ-ขายหุ้น กองทุน กับบริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ที่เข้าร่วมโครงการ Easy E-Receipt นั้น นักลงทุน ‘ไม่สามารถนำยอดซื้อหุ้น/กองทุนทั้งหมดมาคำนวณได้’ แต่นักลงทุนสามารถ ‘นำค่าธรรมเนียมจากการซื้อขาย มาลดหย่อนภาษีได้’ภายใต้เงื่อนไขที่บริษัทกำหนด
สำหรับการซื้อขายหุ้นผ่านบล. ในประเทศไทย จะมีค่าธรรมเทียมในการซื้อขายเริ่มต้นอยู่ที่ราว 0.15 - 0.2% ยังไม่รวม Vat 7% ซึ่งหากคิดเล่นๆเป็นตัวอย่างว่าต้องการลงทุนเพื่อให้มีค่าธรรมเนียมถึงเพดาน 50,000 บาท จะต้อง
ซึ่งหากลงทุน 1 ล้านบาท จะเสียค่าธรรมเนียมราว 2,749.90 บาท (รวม Vat 7%) สำหรับโบรกเกอร์ส่วนใหญ่ที่มีอัตราค่าธรรมเนียม 0.257%
สำหรับการซื้อกองทุนรวมนั้น จะสามารถนำ ‘ค่าธรรมเนียมซื้อกองทุนรวม (Front-end fee)’ มาลดหย่อนภาษีได้ แต่ค่าธรรมเนียมการจัดการกองทุนรวม (Management Fee) ไม่สามารถนำมาลดย่อนภาษีได้ ซึ่งค่าธรรมเนียมซื้อกองทุนรวมจะอยู่ที่ราว 0.25 - 3% หากต้องการลงทุนให้ได้ลดหย่อนสูงสุด 50,000 บาท จะต้อง
อย่างไรก็ดี บางบลจ. ก็ออกมาประกาศแล้วว่า เนื่องจากค่าธรรมเนียมการซื้อกองทุนรวมของ บลจ. ไม่ได้อยู่ในระบบ e-Tax Invoice & e-Receipt ของกรมสรรพากร จึงไม่สามารถนำไปลดหย่อนภาษีตามมาตรการ Easy e-Receipt ได้ ดังนั้น ต้องตรวจสอบให้ดีครับว่าสถาบันการเงินนั้นๆเข้าระบบ e-Tax Invoice & e-Receiptหรือไม่
ด้านทองคำ และคริปโทเคอร์เรนซี ก็เข้าร่วมมาตรการ Easy E-Receipt เช่นกัน โดยเงื่อนไขเช่นเดียวกับหุ้นและกองทุน คือยอดซื้อทั้งทองคำ และคริปโทเคอร์เรนซีจะไม่สามารถนำมาคำนวณการลดหย่อนภาษีได้ แต่สามารถนำมาคำนวณได้เฉพาะ ‘ค่าบริการ’ ที่เกิดขึ้นจากการซื้อขาย ซึ่งในที่นี้ก็คือ
-ค่ากำเหน็จ จากการซื้อขายทองคำ : สมาคมค้าทองคำกำหนดประกาศค่ากำเหน็จแนะนำไว้ที่ขั้นต่ำ 500 บาทต่อหนึ่งบาททองคำ ซึ่งร้านขายทองนิยมตั้งค่ากำเหน็จที่ 500 - 800 บาทต่อบาททองคำ หากต้องการลงทุนซื้อทองเพื่อให้มีค่ากำเหน็จถึงเพดาน 50,000 บาท จะต้อง
(ราคาทองคำ ณ วันที่ 9 ม.ค. 66 : 34,150 บาท/บาททองคำ)
-ค่าธรรมเนียมที่ชำระสำหรับการซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล, ค่าธรรมเนียมที่ชำระสำหรับการถอนสินทรัพย์ดิจิทัล ถอนเงินบาท และ การใช้เหรียญแลกเป็นเครดิตค่าธรรมเนียม (Fee Credit) [กรณีนี้คือ เหรียญ Bitkub Coin หรือ KUB ของ Bitkub] : ตัวอย่างศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล (Exchange) ในไทยที่เข้าร่วมโครงการ Easy E-Receipt คือ Bitkub ซึ่งหากต้องการใช้บริการต่างๆ ของ Bitkub เพื่อให้ได้ใช้สิทธิ์ลดหย่อนเต็มจำนวนที่ 50,000 บาท จะต้อง
สำหรับกรณีการแลกค่าธรรมเนียมและการนำเครดิตค่าธรรมเนียมมาใช้ชำระค่าธรรมเนียมนั้น Bitkub ยกตัวอย่างการใช้สิทธิ์ดังนี้
หากนายบุญคับไม่ได้ใช้เครดิตค่าธรรมเนียมที่แลกมาเลย ในช่วงวันที่ 1 มกราคม - 15 กุมภาพันธ์ 2567 นายบุญคับจะไม่สามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ในกรณีนี้
ทั้งนี้ ต้องศึกษาเพิ่มเติมว่า บล. ร้านทอง หรือ Exchange เจ้าไหนเข้าร่วมมาตรการ Easy E-receipt บ้าง เพราะตอนนี้ก็มีบางธุรกิจที่ไม่ได้เข้าร่วมมาตรการอย่างเช่น บลจ.กรุงศรี, บลจ.อีสท์สปริง (ประเทศไทย) ที่ออกมาประกาศเมื่อวันที่ 3 ม.ค. ที่ผ่านมาว่า ค่าธรรมเนียมการซื้อกองทุนรวม (Front-end Fee) ของ บลจ. ไม่ได้อยู่ในระบบ e-Tax Invoice & e-Receipt ของกรมสรรพากร จึงไม่สามารถนำไปลดหย่อนภาษีตามมาตรการ Easy e-Receipt ระหว่างวันที่ 1 มกราคม – 15 กุมภาพันธ์ 2567 นี้ได้
เพื่อให้ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีจากการลดหย่อนสูงสุด 50,000 บาท และยังได้สินทรัพย์เพื่อการลงทุนตามสไตล์ที่ชอบไว้ในครอบครองรับปีใหม่ด้วย
ที่มา : กรมสรรพากร, iTax, Bitkub, สมาคมค้าทองคำ, บลจ. กรุงศรี, บลจ. อีสต์สปริง