Logo site Amarintv 34HD
Logo LiveSearch
Search
Logo Live
Logo site Amarintv 34HD
ช่องทางติดตาม AMARINTV
  • facebook AMARIN TV 34 HD
  • x AMARIN TV 34 HD
  • line AMARIN TV 34 HD
  • youtube AMARIN TV 34 HD
  • instagram AMARIN TV 34 HD
  • tiktok AMARIN TV 34 HD
  • RSS Feed AMARIN TV 34 HD
โรคอึเต็มท้อง ชื่อชวนขำ แต่อาการอันตราย ปล่อยทิ้งไว้สุขภาพทรุดหนัก

โรคอึเต็มท้อง ชื่อชวนขำ แต่อาการอันตราย ปล่อยทิ้งไว้สุขภาพทรุดหนัก

18 ก.ค. 67
15:05 น.
|
760
แชร์

สุขภาพการขับถ่ายที่ไม่ดี อาจเป็นต้นตอของ โรคอึเต็มท้อง ชื่อโรคที่ชวนขำ แต่ถ้าเป็นแล้วทรมาณทั้งร่างกาย ยิ่งละเลย ยิ่งเป็นเรื้อรัง อาการยิ่งทรุดหนัก

เพราะปัญหาเรื่องการขับถ่าย ไม่ใช่เรื่องที่น่าอาย แต่เป็นเรื่องที่ส่งผลกระทบโดยตรง ต่อร่างกายของเรา หากไม่ดูแลสุขภาพ ไม่ขับถ่าย หรือบริโภคอาหารที่ช่วยระบาย อาจเป็นต้นตอของ โรคอึเต็มท้อง และอาจเป็นปัญหาเรื้อรัง ที่ส่งผลต่อสุขภาพระยะยาว รวมไปถึงการใช้ชีวิตประจำวัน

โรคอึเต็มท้อง อาจเป็นชื่อโรคที่น่าขำ บางคนอาจคิดไม่ถึงว่ามีโรคนี้ด้วยหรือ แต่เรื่องนี้เกิดขึ้นกับ อ๋อม สกาวใจ พูนสวัสดิ์ นักแสดงมากฝีมือชื่อดัง ที่ได้ออกมาเล่าอาการของลูกชาย ที่ป่วยเป็นโรคอึเต็มท้อง จนร่างกายเกิดเป็นภาวะต่อต้านจนอ้วกหลายครั้ง ผ่านทางรายการ คุยแซ่บโชว์ ช่อง One 31

โดยคุณอ๋อมได้เปิดเผยถึงสาเหตุที่ลูกชายแอบคายมะละกอทิ้ง จนเธอและสามีต้องมีดุบ้าง ซึ่งตัวเธอรู้อยู่แล้วว่าลูกชายไม่ชอบทานผักผลไม้ แต่มีสาเหตุที่ต้องกิน เพราะก่อนหน้านี้ลูกชายเคยเป็นโรคอึเต็มท้อง เกิดจากการที่ไม่ถ่ายหนักในทุก ๆ วัน ทำให้เกิดอาการท้องผูก ใช้เวลา 2-3 วันกว่าที่จะถ่ายของเสีย และมารู้ว่าลูกป่วยเป็นโรคนี้ เมื่อตอนที่ลูกอ้วกระหว่างที่ป้อนข้าว แต่ป้อนไปแล้วก็อ้วกออก จนพาไปตรวจร่างกายจึงได้รับคำตอบว่าเป็นโรคดังกล่าว

 

chronic-constipation-1

 

โรคอึเต็มท้อง คืออะไร ?
โรคอึเต็มท้อง หรือ ภาวะอุจจาระตกค้าง (Chronic Constipation) คือ ภาวะที่ขับถ่ายอุจจาระออกไม่หมด มีอาการท้องผูกรุนแรง มีอุจจาระแห้งที่ลำไส้เป็นจำนวนมาก ส่งผลกระทบต่อระบบขับถ่าย เมื่อมีอุจจาระใหม่ก็จะไม่สามารถขับของเก่าออกได้

เนื่องจากอุจจาระส่วนต้น ถูกดูดน้ำกลับมาที่ส่วนปลาย ก่อให้เกิดเป็นก้อน และเมื่ออุจจาระที่ค้างอยู่ที่ลำไส้นานจนเกิดการแข็งตัว ก็จะทำให้ขับถ่ายไม่ออก หรือขับถ่ายออกได้ยาก เพราะลำไส้มีการขยายออก แรงที่จะหดกลับไม่เพียงพอ จนไม่สามารถทำการเบ่งออกมาได้

ซึ่งอาการอุจจาระตกค้าง สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน ไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่ แม้แต่คนที่ระบบขับถ่ายดี เข้าห้องน้ำทุกวันก็สามารถเป็นได้ หากปล่อยออกไม่หมด สำหรับผู้ป่วยบางราย อาจเกิดจากการเบ่งถ่ายที่ผิดวิธี บางรายอาจเกิดจากการกลั้นถ่ายได้เช่นกัน

 

สาเหตุ โรคอึเต็มท้อง
สาเหตุของโรคอึเต็มท้อง หรืออาการอุจจาระอุดตัน สามารถแบ่งออกได้ 2 แบบ ดังนี้

1.สาเหตุที่มาจากพฤติกรรม

  • การเบ่งถ่ายผิดวิธี เช่น การเบ่งถ่ายขณะหายใจเข้าแล้วแขม่วท้อง
  • การกลั้นอุจจาระ จากสถานการณ์ที่ไม่สามารถเข้าห้องน้ำขณะรู้สึกปวดได้
  • ผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยเรื้อรัง ที่เคลื่อนไหวน้อย
  • ทานอาหารไขมันสูง อาหารที่ย่อยยาก ไม่มีกากใย รวมถึงอาหารที่ทำให้ท้องอืด-แน่นท้อง
  • ขาดการออกกำลังกาย
  • ดื่มน้ำน้อย ดื่มน้ำไม่เพียงพอ
  • ผู้ที่ได้รับการผ่าตัดบ่อย จนลำไส้เป็นพังผืด มีซอกหลืบให้อุจจาระไปตกค้าง

 

2. สาเหตุที่มาจากความผิดปกติของร่างกาย

  • ผู้ป่วยที่มีอาการของโรคท้องผูก
  • ความผิดปกติของร่างกายบริเวณลำไส้
  • ผู้ป่วยที่ประสบอุบัติเหตุ ได้รับอาการบาดเจ็บบริเวณกระดูกสันหลัง
  • การใช้ยาที่มีคุณสมบัติลดการเคลื่อนไหวของลำไส้เป็นเวลานาน
  • โรคที่ทำให้เกิดผลกระทบกับการทานอาหาร

 

อาการภาวะอุจจาระตกค้าง สาเหตุโรค
สำหรับผู้ที่มีอาการท้องผูก จนเกิดเป็นภาวะตกค้าง ควบคู่กับการทิ้งไว้โดยไม่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมขับถ่าย อาจทำให้เกิดความผิดปกติกับร่างกาย ดังต่อไปนี้

  • ปวดท้องแบบบีบ ๆ ท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นท้อง ไม่สบายท้อง
  • คลื่นไส้ อาเจียน
  • ขับถ่ายไม่สะดวก ต้องใช้แรงในการเบ่ง
  • รู้สึกว่าอุจจาระไม่สุด หรืออุจจาระไม่หมดท้อง
  • มีความรู้สึกเจ็บ ระหว่างขับถ่าย
  • มีเลือดปนอุจจาระ
  • ปัสสาวะบ่อยจากการที่กระเพาะปัสสาวะถูกกดทับ
  • ปวดหลังส่วนล่าง
  • หายใจติดขัด หายใจได้ครึ่งเดียว ต้องหายใจลึกๆ ตลอดเวลา
  • รับประทานอาหารได้น้อยมาก เบื่ออาหาร
  • ขมคอ เรอเปรี้ยว และผายลมตลอดทั้งวัน
  • อ่อนเพลีย นอนไม่หลับ

 

chronic-constipation-2

 

การป้องกัน โรคอึเต็มท้อง

  1. ฝึกขับถ่ายให้เป็นเวลาทุกวัน อย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง โดยเฉพาะหลังตื่นนอนตอนเช้า และไม่ควรเกร็งขณะเบ่งถ่าย
  2. ฝึกเบ่งถ่ายให้ถูกวิธี ด้วยการโน้มตัวไปข้างหน้า เพื่อเพิ่มแรงเบ่งได้ดีขึ้น ร่วมกับการใช้มือกดท้อง เพื่อกระตุ้นลำไส้ให้ทำงานได้ดีขึ้น บริเวณด้านซ้ายล่าง
  3. ฝึกหายใจให้ถูกวิธี โดยหายใจเข้าท้องป่อง หายใจออกท้องแฟบ
  4. ลดการทานอาหารที่มีไขมันสูง เพิ่มการรับประทานอาหารที่มีกากใยสูง ร่วมกับอาหารที่มีโปรไบโอติก
  5. ดื่มน้ำให้พอเพียง
  6. ออกกำลังกายเป็นประจำ
  7. ปรึกษาแพทย์ เพื่อวินิจฉัยและรักษาอย่างถูกต้อง

 

อย่างไรก็ตามเมื่อมีอาการท้องผูก ไม่ควรหาซื้อยาระบายหรือยากระตุ้นลำไส้ มารักษาด้วยตัวเอง การรักษาที่ผิดวิธีอาจเป็นสาเหตุเรื้อรัง โดยเฉพาะยาที่มีส่วนผสมของมะขามแขก จะทำให้ลำไส้ไม่ทำงาน จนกระทบต่อสุขภาพและเกิดความผิดปกติแก่ลำไส้

แม้กระทั่งผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพดี หรือคนที่ออกกำลังกายสม่ำเสมอ คนที่ใส่ใจสุขภาพ ก็อาจเกิดอาการโรคอึเต็มท้องขึ้นได้ การขับถ่ายให้เป็นเวลา จะช่วยลดความเสี่ยงอุจจาระอุดตันได้ดีที่สุด ดังนั้นหากพบว่าการขับถ่ายเปลี่ยนไป หรือมีอาการต่าง ๆ ที่ผิดปกติ ควรรีบพบแพทย์เฉพาะทาง เพื่อทำการวินิจฉัยและรับการรักษาที่ถูกต้องและเหมาะสมต่อไป

 

ที่มา : โรงพยาบาลสมิติเวช (samitivejhospitals.com) / โรงพยาบาลเพชรเวช (petcharavejhospital.com)

Advertisement

แชร์
โรคอึเต็มท้อง ชื่อชวนขำ แต่อาการอันตราย ปล่อยทิ้งไว้สุขภาพทรุดหนัก