Logo site Amarintv 34HD
Logo LiveSearch
Search
Logo Live
Logo site Amarintv 34HD
ช่องทางติดตาม AMARINTV
  • facebook AMARIN TV 34 HD
  • x AMARIN TV 34 HD
  • line AMARIN TV 34 HD
  • youtube AMARIN TV 34 HD
  • instagram AMARIN TV 34 HD
  • tiktok AMARIN TV 34 HD
  • RSS Feed AMARIN TV 34 HD
สอนให้ลูกมี Self-Esteem เทคนิคเลี้ยงลูกอย่างไร ให้ภูมิใจในตัวเอง

สอนให้ลูกมี Self-Esteem เทคนิคเลี้ยงลูกอย่างไร ให้ภูมิใจในตัวเอง

9 ส.ค. 67
14:49 น.
|
1.2K
แชร์

เปิดตำราให้พ่อแม่มือใหม่ เทคนิคเลี้ยงลูก สอนให้ลูกมี Self-Esteem เลี้ยงอย่างไรให้ภูมิใจในตัวเอง เพราะคุณค่าจากตัวเองสร้างได้ตั้งแต่เด็ก

เพราะขั้นตอนแรกของการมี Self-Esteem คือการยอมรับและเชื่อมั่นในตัวเอง ซึ่งการปลูกฝังให้กับแต่ละคนสามารถทำได้ตั้งแต่ยังเด็ก ยิ่งครอบครัวที่เต็มไปด้วยความพร้อม ยิ่งช่วย สอนให้ลูกมี Self-Esteem ที่เป็นการสร้างได้ตั้งแต่ยังเด็ก บางครั้งการที่มองข้ามเรื่องแบบนี้ อาจทำให้เด็กเกิดความรู้สึกไม่คู่ควร เกิดความสงสัยในตัวเอง จนนำไปสู่การมองโลกในแง่ร้าย ดังนั้นแล้วการปลูกฝั่งให้ลูกรู้สึกถึงความมีคุณค่าตั้งแต่เด็ก จะช่วยให้เติบโตได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเสริมสร้างความมั่นใจในตนเองให้มากขึ้น

Self-Esteem คืออะไร ?
ในทางจิตวิทยาแล้ว Self-Esteem หมายถึง "ความภาคภูมิใจในตัวเอง" การเห็นความสำคัญและการเห็นคุณค่าในตนเอง เป็นเหตุผลมาจากการประเมินตนเองจากความรู้สึกต่าง ๆ มีอิทธิพลมาจากทั้งทางร่างกาย จิตใจ สภาพแวดล้อม รวมไปถึงการอบรมเลี้ยงดูจากครอบครัว

เด็ก ๆ จะรู้สึกดีกับตัวเองก็ต่อเมื่อได้ทำอะไรสำเร็จด้วยตัวเอง เมื่อรู้ว่าทำได้ก็จะเกิดแนวโน้มพยายามในเรื่องใหม่ ๆ เมื่อเกิดการเหตุคุณค่าในตัวเอง หากพบข้อผิดพลาดก็จะทำให้เกิดความยอมรับในตัวเอง แม้จะเคยเจอเรื่องล้มเหลวมาก่อน จะช่วยให้เด็กเกิดความรู้สึกภาคภูมิใจในการลองทำซ้ำ ๆ หากความภาคภูมิใจในตัวเองน้อยเกินไป จะทำให้เด็กไม่มีความมั่นใจ ปิดกั้นการเรียนรู้เรื่องใหม่ ๆ พร้อมด้วยความรู้สึกทำไม่ได้ และเกิดการยอมแพ้บ่อยครั้ง จากการไม่สามารถรับมือกับความล้มเหลวที่อาจเกิดขึ้นได้

ผลกระทบต่อเด็ก หากความภาคภูมิใจในตัวเองลดลง
ระดับความภาคภูมิใจในตัวเอง ถือเป็นหนึ่งในเรื่องที่มีผลกระทบต่อชีวิต และบุคลิกภาพแตกต่างกันไปตามแต่ละบุคคล หากเด็กแสดงออกภายนอกถึงการขาดความมั่นใจ มีโอกาสที่จะทำให้เด็กกลัวสิ่งแวดล้อใหม่ รวมไปถึงโอกาสในการเรียนรู้เรื่องราวใหม่ ๆ ทำให้เกิดเป็นการจำกัดความรู้ ความสามารถของตนเองไปโดยปริยาย แต่ถ้าเด็กที่มีความมั่นใจมาก พร้อมกับมีความภาคภูมิใจในตัวเอง เด็กคนดังกล่าว ก็มักจะชอบเผชิญกับสถานการณ์ใหม่ ๆ ด้วยทัศนคติในทางบวก โดยมีแง่มุมที่ต่างไปดังนี้

  • ความสัมพันธ์กับผู้อื่น
  • ทัศนคติ
  • ความสามารถในการตัดสินใจ หรือการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า
  • การเผชิญกับสิ่งใหม่ ๆ
  • ความคิดสร้างสรรค์
  • การตอบสนองต่อแรงกดดันจากกลุ่มเพื่อน
  • ความสามารถในการไปให้ถึงเป้าหมาย
  • การประสบความสำเร็จในโรงเรียน

pic1

การเลี้ยงลูกเห็นคุณค่าในตัวเอง ให้มี Self-Esteem
ขั้นตอนแรกของการเห็นคุณค่าในตัวตน เริ่มจากการนับถือในตัวเอง ซึ่งเป็นสิ่งที่พ่อแม่ต้องสร้างให้ลูกอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ติดเป็นนิสัยหยั่งรากลึก เพื่อที่เมื่อใดที่มีเห็ตุการณ์มาเคารพตัวตน ความนับถือในตัวเองก็จะไม่สั่นคลอน โดยสามารถฝังสิ่งนี้ ได้ตั้งแต่วัยทารกแบเบาะเป็นต้นไป

  • วัยทารก : การเลี้ยงดูที่ทำให้เด็กรู้สึกอบอุ่น ตอบสนองลูกอย่างเหมาะสม การรับรู้ว่าตนเป็นที่รักผ่านการเอาใจใส่ดูแล ถือเป็นจุดเริ่มต้นในการปลูกฝังได้ดี
  • วัยเตาะแต่ (1-2 ปี) และวัยเด็ก (3-6 ปี) : เป็นช่วงวัยที่สามารถทำอะไรได้ตัวเองมากขึ้น พัฒนาการกล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ เจริญเติบโตและแข็งแรงขึ้น ปล่อยให้ลูกได้ลองทำสิ่งต่าง ๆ ด้วยตัวเอง พร้อมกับพูดชมในความพยายามของลูกอยู่เสมอ เพื่อเป็นการสะสมทักษะใหม่ ๆ
  • วัยรุ่นวัยเรียน (7-15 ปี) : เด็กวัยนี้ต้องการความมั่นคงทางด้านจิตใจ อาจต้องใช้เวลาและการรับฟังอย่างตั้งใจ พร้อมทั้งสนับสนุนให้ลูกเข้าใจอารมณ์ ความรู้สึก ความต้องการ ไปพร้อมกับการสอนให้ลูกยอมรับในตัวเอง เข้าใจความแตกต่าง และต้องเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ลูก ยอมรับในสิ่งที่ลูกเป็น ไม่ใช่สิ่งที่พ่อแม่อยากให้ลูกเป็น

 

วิธีเลี้ยงลูกให้มีความมั่นใจในตัวเอง
ความมั่นใจในตัวเองมีความสำคัญต่อตัวเด็กอย่างชัดเจน เพราะจะช่วยในแง่การใช้ชีวิตต่อตัวเด็ก เด็กที่มีความมั่นใจในตัวเองที่อยู่ในระดับปกติ จะช่วยในแง่ของการรับมือจากแรงกดดัน ประสบการณ์ชีวิตในด้านต่าง ๆ เป็นเสมือนบันทึกการเดินทางชีวิตของเด็ก เป็นจุดเริ่มต้นของรากฐานความเป็นอยู่ที่ดี หากได้รับการปลูกฝังที่ดี ก็เป็นเสมือนกุญแจนำทางชีวิตที่สำคัญของเด็ก ซึ่งเรื่องเหล่านี้เป็นทักษะที่สามารถสร้างขึ้นได้ โดยใช้วิธีการเหล่านี้

1. การแสดงความรัก
ทำให้ลูกรู้ว่าพ่อแม่รักเขาไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น แสดงให้เห็นถึงความรักและความห่วงใย แม้ว่าลูกจะทำผิดพลาด เลี่ยงการวิพากษ์วิจารณ์อย่างรุนแรง จะช่วยเสริมคุณค่าในตนเอง แม้ว่าเขาจะรู้สึกไม่ดีกับตัวเองก็ตาม

2. สอนให้ลูกรู้จักวิธีการตั้งเป้าหมาย
การกำหนดและบรรลุเป้าหมายที่ท้าทายให้เป็นจริง ช่วยให้เด็กรู้สึกมีความสามารถมากขึ้น มีความตั้งมั่น และยึดมั่นในเป้าหมาย การบรรลุเป้าหมาย ไม่ว่าจะเป็นระยะสั้นหรือระยะยาว ก็จะสามารถช่วยทำให้เด็กรู้สึกเข้มแข็ง และเรียนรู้ทักษะที่จำเป็นสำหรับการบรรลุเป้าหมายตลอด

pic2

3. ชื่นชมในความพยายาม
ต้องให้ลูกรู้ว่าพ่อแม่ภูมิใจในความพยายาม โดยไม่คำนึงถึงผลลัพธ์ของเขา ต้องทำให้ลูกรู้ว่า พ่อแม่เห็นคุณค่าของสิ่งที่ทำ และสอนให้รู้ว่าในทุกการกระทำต้องใช้ความพยายาม ในการพัฒนาทักษะใหม่ และผลลัพธ์ก็ไม่ได้เกิดขึ้นทันทีเสมอไป

4. หลีกเลี่ยงการเปรียบเทียบกับลูกคนอื่น
การเปรียบเทียบทางสังคม อาจทำให้เด็กรู้สึกด้อยค่า การเปรียบเทียบจะทำให้เด็กสงสัยในความสามารถของตัวเอง และคิดว่าตนเองไม่สามารถทำได้ดังที่ตั้งเป้า สุดท้ายก็จะหมดความมั่นใจไปเอง

5. ช่วยลูกเอาชนะความกลัว ความล้มเหลว
ความกลัว หรือความล้มเหลว เป็นขั้นแรกที่ขัดขวางเด็ก โดยทำให้ไม่มีความพยายาม และไม่สามารถบรรลุศักยภาพขั้นสูงสุด จนเกิดเป็นความมั่นใจที่ลดลง พ่อแม่ต้องสอนให้ลูกรู้จักความท้าทาย หรือความพ่ายแพ้บ้าง โดยต้องสอนให้รู้ว่าเรื่องในเชิงลบ ก็จะสามารถนำเราไปสู่ความสำเร็จได้เช่นกัน

6. เปิดโอกาสให้ลูก พบกับคนที่คิดบวกและมีความมั่นใจ
ยิ่งเด็กอยู่ท่ามกลางบุคคลที่มีความมั่นใจและคิดบวก ก็จะทำให้เด็กมีแนวโน้มที่จะกลายเป็นคนที่มีความมั่นใจ และมองโลกในแง่บวกมากขึ้น

7. ไม่ควรช่วยลูกมากเกินไป ปล่อยให้ลูกล้มเหลวบ้าง
เด็กจำเป็นต้องรู้ว่าความล้มเหลว เป็นเรื่องปกติที่จะรู้สึกเศร้า ควรต้องให้เรียนรู้ว่าการที่จะประสบความสำเร็จ บางครั้งอาจต้องเต็มไปด้วยการเอาชนะอุปสรรค

8. กระตุ้นให้ลูกได้ลองสิ่งใหม่ ๆ
เด็กที่ขาดความมั่นใจ มักจะไม่กล้าลองทำหรือท้าทายใหม่ ๆ ลองให้ลูกได้ทำกิจกรรม และพัฒนาทักษะใหม่ สิ่งนี้จะทำให้เด็กมีความมั่นใจว่าสามารถรับมือกับสิ่งที่จะเข้ามาได้

9. แสดงความเห็น หากลูกกระทำไม่ถูกต้อง
พ่อแม่จะต้องใช้คำวิจารณ์อย่างสร้างสรรค์ โดยแสดงความคิดเห็นถึงการกระทำที่ไม่ถูกต้อง พยายามชี้ให้ลูกเห็นถึงสิ่งที่ถูกต้องจริง ๆ และเมื่อลูกประพฤติตัวไม่เหมาะสม ให้เน้นที่พฤติกรรมของปัญหานั้น แทนการสื่อสารที่ตำหนิว่าเขาไม่ดี

 

การสอนให้ลูกมี Self-Esteem ให้โอกาสเด็กได้รู้สึกมีความสามารถ มีความมั่นใจ และแสดงออก จะทำให้เด็กรู้สึกเห็นคุณค่าในตนเอง เมื่อสิ่งเหล่านั้นเกิดขึ้น พ่อแม่คือแรงสนับสนุนคนสำคัญ ที่จะทำให้ลูกสามารถรับรู้ได้ว่า เขาจะมีครอบครัวคอยช่วยเหลือสนับสนุนอยู่ข้าง ๆ เสมอ ลูกก็จะเติบโตเป็นคนที่มีความมั่นใจ มีความสุข และประสบความสำเร็จในชีวิต

 

ที่มา : netpama (netpama.com / netpama.com)

Advertisement

แชร์
สอนให้ลูกมี Self-Esteem เทคนิคเลี้ยงลูกอย่างไร ให้ภูมิใจในตัวเอง