วันคเณศชยันตี 2567 หนึ่งในเทศกาลของศาสนาฮินดู หรือวันที่ประสูติพระพิฆเนศ ซึ่งปีนี้ตรงกับวันอังคารที่ 13 ก.พ. 2567 เชื่อว่าเป็นวันประสูติแห่งองค์พระคเณศ ซึ่งจะตรงกับวันขึ้น 4 ค่ำ ในช่วงกลางเดือนมกราคม ถึงเดือนกุมภาพันธ์ โดยในวันนี้เมื่อก่อน ชาวอินเดียมักจะประกอบพิธีกันที่บ้านภายในครอบครัว แต่ในปัจจุบันหลายคนเปลี่ยนวิธี จากที่หลากหลายขั้นตอน ให้เป็นที่สะดวกและเข้ากับยุคสมัยมากขึ้น
วันคเณศชยันตี 2567 กับความเชื่อในอดีต
ความเชื่อในวันคเณศชยันตี เป็นความเชื่อจากคัมภีร์มุทฺคลปุราณะ และความเชื่อของชาวมราฐี ในรัฐมหาราษฏระ ที่ขึ้นชื่อว่าเป็นรัฐที่มีผู้บูชาต่อพระคเณศมากที่สุด โดยเชื่อว่า วันคเณศชยันตี เป็นวันประสูติขององค์พระคเณศ ส่วนเทศกาลคเณศจตุรถี เป็นวันเฉลิมฉลองให้แก่องค์พระคเณศที่เสด็จมายังโลกมนุษย์ จะเรียกอีกชื่อว่า "คเณศ มโหตฺสว" หมายถึง การเฉลิมฉลองอันยิ่งใหญ่
สมัยก่อนผู้ที่เลื่อมใสศรัทธา จะนำเอาดินผสมเครื่องหอมปั้นเป็นองค์พระคเณศเพื่อบูชา และจะถวายขนมลาดูขนมโปรด พร้อมกับสวดมนต์บูชาตลอดจนครบ 4 วัน จากนั้นจึงนำเอาเทวรูปที่ปั้นมาไปลอยส่งเสด็จ ถือเป็นอันเสร็จสิ้นพิธีบูชาพระคเณศในช่วงคเณศชยันตี
ด้วยยุคสมัยที่เปลี่ยน วิธีการกราบสักการะบูชาองค์พระคเณศในวันนี้จึงเปลี่ยนไป แต่แก่นแท้ของการกราบสักการะบูชานี้คือเพื่อแสดงความเคารพ และนำมาซึ่งความสงบสู่จิตใจ ต้องทำด้วยความตั้งใจ ความศรัทธาต่อองค์พระพิฆเนศ อันเป็นการสร้างสติปัญญาและสิริมงคลให้กับชีวิต
ข้อควรปฏิบัติ วันคเณศชยันตี 2567
ของบูชา วันคเณศชยันตี
1. ถวายผงเจิม ข้าวสาร เช่น ผงซินดู ผงจันทร์ หรือผงหอม วิธีการจะใช้นิ้วนางข้างขวาแตะไปที่ผงหอม แล้วทำการเจิมที่หน้าผากเทวรูป หรือจักระสำคัญอื่น ใช้ข้าวสารโปรยไว้ยังที่ประทับของเทวรูป ไม่ใช้ข้าวสารย้อมสี สมบูรณ์ ไม่แตกหัก
2. ถวายดอกไม้พวงมาลัย สามารถถวายพวงมาลัยดอกไม้ได้ทุกชนิด พระคเณศทรงโปรดดอกชบา ใช้สีอะไรก็ได้ และอีกสิ่งที่ไม่ควรพลาดนั้นคือ หญ้าแพรก ถ้าเป็นพวงมาลัยให้คล้องที่เทวรูปได้เลย
3. ถวายธูป กำยานหอม ขั้นตอนทีสำคัญ โดยเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ถ้าเป็นธูปสามารถจุดกี่ดอกก็ได้ แต่ถ้าหากใช้เป็นกำยาน จะใช้เพียง 1 แท่ง
4. ถวายดวงไฟ ประทีบ หมายถึงการถวายแสงสว่าง จะใช้เป็นตะเกียงน้ำมัน หรือเทียนแท่ง ในการถวายบูชาก็ได้ อีกทั้งยังสามารถจุดเป็นคู่ หรือดวงเดียวก็ได้ตามสะดวก
5. ถวายอาหาร เช่นผลไม้ตามฤดูกาล จะถวายกี่ชนิดกี่อย่างก็ได้ ยกเว้นเนื้อสัตว์ และไข่ ส่วนขนมหวาน พระคเณศทรงโปรดขนมลาดู ในช่วงคเณศชยันตีนิยมถวายลาดูงาดำเป็นพิเศษ
สุดท้ายคือขั้นตอนพิธีอารตีไฟ คือ การเวียนประทีปหรือดวงไฟวนตามเข็มนาฬิกา ซึ่งจะเวียนขวาเท่านั้น จะวน 3 หรือ 9 รอบ
วิธีไหว้วันคเณศชยันตี
จุดประทีป และธูปบูชา หน้าองค์พระพิฆเนศ
สวด "โอม ศรี คเณศายะ นะมะหะ" (9 หรือ 108 จบ)
ตามด้วยบทคเณศคายตรี "โอม กัง คณปัตเย นะโม นะมะหะ ศรี สิทธิวินายักกา นะโม นะมะหะ อัสถะวินายักกา นะโม นะมะหะ คณปติ บับปา โมรยา"
"โอม เอกกะทันตายะ วิทมาเฮ
วักกระตุนดายะ ธีมาฮิ
ตันโน ตันติ ประโจดายาตือ"
แล้วกล่าวขอขมา "ข้าพเจ้าชื่อ... อยู่บ้านเลขที่... หากสิ่งใดก็ตามที่ลูกเคยกระทำผิด ได้ล่วงเกินพระองค์ทั้งกาย วาจา ใจ ทั้งรู้ตัวและมไรู้ตัว ลูกกราบขอขมาพระองค์โปรดเมตตา และจากวันนี้เป็นต้นไป ขอให้ข้าพเจ้าเป็นบุตรที่พระองค์เมตตาและเอ็นดู"
หลังจบบทคเณศคายตรี ให้ถวายดอกไม้, ผลไม้, ข้าวสาร, ฝ้ายสีแดง-เหลือง น้ำปัญจมฤต (น้ำนม นมเปรี้ยว น้ำอ้อย น้ำผึ้ง เป็นต้น) ที่ขาดไม่ได้เลยคือขนมลาดูงา นำของไหว้ เก็บไว้รับประทาน หรือนำไปแจกเป็นทาน หรือคนในครอบครัว
ฤกษ์ไหว้ วันคเณศชยันตี ไหว้ได้กี่โมง
วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2567 เวลาที่สะดวกที่สุด จะเวลาไหนก็สามารถทำได้ อย่างไรก็ตามหากไม่สะดวกทำขั้นตอนอารตีไฟก็ไม่เป็นไร ขึ้นอยู่กับความสะดวกของแต่ละคน เพียงแต่ต้องกราบไหว้ด้วยความศรัทธา เมื่อมีความศรัทธา เชื่อว่าก็จะได้รับความสำเร็จ สมปรารถนาทุกประการจากพระองค์
Advertisement