สักการะพระบรมสารีริกธาตุ อีกหนึ่งการเสริมสิริมงคลสำหรับพุทธศาสนิกชนทั้งหลาย ที่ได้ไปสักการะบูชาเมื่อวันมาฆบูชา 2567 ที่ผ่านมา ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง โดยเป็นการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ ในวันที่ 28 กรกฎาคม 2567 กระทรวงวัฒนธรรมจึงได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ และพระอรหันตธาตุของพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะ จากสาธารณรัฐอินเดีย มาประดิษฐานเป็นการชั่วคราว ณ ประเทศไทย
โดยพระบรมสารีริกธาตุและพระอรหันตธาตุ ได้ถูกอัญเชิญมาประดิษฐานเป็นการชั่วคราว ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง และเปิดให้ประชาชนเข้าสักการบูชา ตั้งแต่วันที่ 24 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา จนถึงวันที่ 3 มีนาคม 2567 เวลา 09.00-20.00 น. จากนั้นจะอัญเชิญไปประดิษฐานใน 3 จังหวัดตามภูมิภาคต่าง ๆ ให้ประชาชนได้เข้าสักการบูชา ดังนี้
ทั้งนี้ ในทุกวันตั้งแต่เวลา 17.00 น. จะจัดพิธีเจริญพระพุทธมนต์ เสริมสิริมงคลให้กับศาสนิกชนที่เข้ากราบสักการะ โดยแต่ละพื้นที่จะมีพิธีเจริญพระพุทธมนต์ตามอัตลักษณ์ของแต่ละพื้นที่อย่างยิ่งใหญ่
ความเป็นมาของพระบรมสารีริกธาตุ
พระบรมสารีริกธาตุเป็นปูชนียธาตุอันทรงคุณค่า สำหรับพุทธศาสนิกชน เพราะเป็นธาตุที่เกิดขึ้นมาจากการปฏิบัติธรรมของพระพุทธเจ้า จนกระทั่งได้บรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณ ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า เป็นสิ่งสำคัญในการโน้มน้าวดึงดูดจิตใจของผู้มีศรัทธา ให้เกิดความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา เหตุที่เกิดพระบรมสารีริกธาตุจำนวนมากขึ้นนั้น เกิดจากพุทธประสงค์ก่อนที่พระพุทธเจ้าจะเสด็จดับขันธปรินิพพาน
ซึ่งพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน (พระสมณะโคดม) ทรงเล็งเห็นว่า พระองค์มีเวลาปฏิบัติพุทธกิจเพียง 45 พรรษา นับว่าน้อยมาก เมื่อเทียบกับพระพุทธเจ้าองค์ก่อน ๆ หมู่สัตว์ทั้งหลายเกิดมาไม่ทันสมัยพระองค์มีมากนัก หากได้อัฐิธาตุของพระองค์ไปอุปัฏฐากบูชาจะได้บุญกุศลมาก พระองค์จึงอธิษฐานให้พระบรมสารีริกธาตุของพระองค์แตกย่อยลงเป็น 3 สัณฐาน รวม 8 ทะนาน ให้กระจายไปทั่วทิศานุทิศ
การที่พระบรมสารีริกธาตุนั้น ประดิษฐานอยู่ในโลกทำให้เราเชื่อมั่นว่า พระพุทธเจ้านั้นอยู่กับเราตลอดไป แม้ว่าพระองค์จะเสด็จดับขันธ์ปรินิพพานไปนานแล้วก็ตาม พระบรมสารีริกธาตุจึงเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของพุทธศาสนิกชนและช่วยให้มีการสืบทอดอายุพระพุทธศาสนาให้ยืนยาวตลอดมา
ความหมายและขนาดของ พระบรมสารีริกธาตุ
พระบรมสารีริกธาตุ คือ พระอัฐิธาตุขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จะแตกต่างจากอัฐิของพระอริยสาวกและบุคคลทั่วไป มี 3 ขนาด คือ
1. ขนาดเล็ก ประมาณเมล็ดพันธุ์ผักกาด มีสีดังดอกมะลิตูม
2. ขนาดกลาง ประมาณเมล็ดข้าวสารหักครึ่ง มีสีดังแก้วมุกดา
3. ขนาดใหญ่ ประมาณเมล็ดถั่วเขียวผ่าซีก มีสีดังทองอุไร
ความศักดิ์สิทธิ์ และวิธีอัญเชิญ
พระบรมสารีริกธาตุนั้นมีความศักดิ์สิทธิ์ สามารถเพิ่มหรือลดจำนวนได้เอง โดยสามารเสด็จไปไหนมาไหนเองแม้ว่าจะบรรจุไว้ในภาชนะที่ปิดสนิทดีสักเท่าใดก็ตาม เชื่อกันว่าหากผู้กราบไหว้สักการบูชาไม่ดูแลรักษานำไปประดิษฐานไว้ในสถานที่ที่ไม่สมควร หรือขาดการถวายความเคารพแล้วพระบรมสารีริกธาตุอาจเสด็จหายจากสถานที่นั้น ๆ ก็เป็นได้ โดยทางตรงกันข้าม หากได้รับการปฏิบัติบูชาดี ผู้กราบไหว้สักการบูชา มีกาย วาจา ใจ สะอาดบริสุทธิ์ อยู่ในศีลธรรม พระบรมสารีริกธาตุก็อาจเพิ่มจำนวนได้ วิธีอัญเชิญโดยทั่วไป มีดังนี้
บทสวดบูชา สักการะพระบรมสารีริกฐธาตุ
การจะบูชาพระบรมสารีริกธาตุและพระธาตุนั้น ก่อนอื่นต้องชำระร่างกาย ทำจิตใจให้สะอาดผ่องใส และจัดหาดอกมะลิใส่ภาชนะเป็นเครื่องสักการบูชาตั้งด้านหน้า ณ สถานที่ที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุแล้วจุดธูป เทียนตั้งใจให้เป็นสมาธิ กราบ ๓ ครั้ง แล้วกล่าวคำบูชาดังนี้
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (๓ จบ)
"อะหัง วันทามิ ทูระโต อะหัง วันทามิ ธาตุโย อะหัง วันทามิ สัพพะโส"
นอกเหนือจากการบูชาด้วย "อามิสบูชา" คือ การบูชาด้วยดอกไม้ ธูป เทียนและเครื่องหอมต่าง ๆ แล้ว การบูชาด้วยการ "ปฏิบัติบูชา" คือ การเจริญจิตภาวนาซึ่งเป็นวิธีที่พระพุทธองค์ทรงสรรเสริญ เป็นอีกวิธีหนึ่ง ที่สมควรปฏิบัติควบคู่กันไปด้วย
การกราบไทว้สักการบูชาพระบรมสารีริกธาตุและพระธาตุ มีผู้รู้ได้กล่าวไว้ว่ามีอานิสงส์ ดังนี้
นอกจากนี้ยังได้อานิสงส์เป็นอนุสติ 10 อีกด้วย คือ
ที่มา : กรมการศาสนา
Advertisement