Logo site Amarintv 34HD
Logo LiveSearch
Search
Logo Live
Logo site Amarintv 34HD
ช่องทางติดตาม AMARINTV
  • facebook AMARIN TV 34 HD
  • x AMARIN TV 34 HD
  • line AMARIN TV 34 HD
  • youtube AMARIN TV 34 HD
  • instagram AMARIN TV 34 HD
  • tiktok AMARIN TV 34 HD
  • RSS Feed AMARIN TV 34 HD
บทสวดเวียนเทียน วันอาสาฬหบูชา 2567 ต้องสวดบทไหน สวดอย่างไรให้ได้บุญ
โดย : amarintv

บทสวดเวียนเทียน วันอาสาฬหบูชา 2567 ต้องสวดบทไหน สวดอย่างไรให้ได้บุญ

15 ก.ค. 67
14:58 น.
|
4.7K
แชร์

รวมบทสวดเวียนเทียน วันอาสาฬหบูชา 2567 ต้องสวดบทไหน สวดอย่างไรให้ได้บุญ พร้อมคำบูชาและการเตรียมตัวก่อนเวียนเทียน เช็กได้เลยที่นี่

วันอาสาฬหบูชา 2567 วันขึ้น15 ค่ำ เดือน 8 ซึ่งวันอาสาฬหบูชาในปีนี้ ตรงกับวันเสาร์ที่ 20 กรกฎาคม 2567 หนึ่งในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนากัณฑ์แรก ธัมมจักกัปปวัตนสูตร ให้แก่ปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 ได้แก่ โกณฑัญญะ วัปปะ ภัททิยะ มหานามะ และอัสสชิ ซึ่งการแสดงธรรมในครั้งนั้น ทำให้เกิดความเสื่อมใสในพระธรรม บรรลุเป็นโสดาบัน เกิดการอุปสมบทเป็นพระอริยสงฆ์องค์แรก วาระใหญ่ที่ทำให้พระรัตนตรัยครบองค์ 3 คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์

เมื่อวันอาสาฬหบูชาเวียนมาถึง ชาวพุทธส่วนใหญ่มักนิยมเข้าวัดทำบุญตั้งแต่ช่วงเช้า ก่อนที่จะมีการเวียนเทียนในช่วงเย็น ตั้งแต่เวลา 16.00 น. เป็นต้นไป จนถึงเวลา 20.00 น. โดยประมาณ ซึ่งจุดมุ่งหมายของการเวียนเทียนในวันนี้ เพื่อรำลึกถึงเหตุการ์ณสำคัญที่เกิดขึ้นในสมัยพุทธกาล หรือเพื่อระลึกถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ 

การประกอบพิธีสำคัญในวันนี้ แบ่งออกเป็น 3 อย่าง ได้แก่ พิธีหลวง, พิธีราษฎร์ และ พิธีสงฆ์ โดยพิธีหลวง และ พิธีราษฎร์  จะมีการปฏิบัติธรรมด้วยการถือศีล เวียนเทียน และฟังธรรมเทศนา ส่วนในของพิธีสงฆ์จะมีการสวดมนต์ทำวัตรเย็นหรือค่ำ และสวดธัมมจักกัปปวัตนสูตร และมีการเวียนเทียน เช่นเดียวกับวันมาฆบูชา และวันวิสาขบูชา

 

บทสวดมนต์วันอาสาฬหบูชา

(หันทะ มะยัง อาสาฬหะปะณามะคาถาโย ภะณามะ เส)

อาสาฬหะปุณณะมายัง โย สัทธัมโม โหติ เทสิโต
เตนุปปันโน ปะฐะโม สังโฆ โกณฑัญโญ พุทธะสาสะเน
ธัมมะจักโกติ นาเมนะ วิสสุโต จะ ปะวัตติโต
ตัสสัตโถ อัฏฐะโก มัคโค จัตตาริ เจวะ สัจจานิ

เอเตสัง เทสะเนเนวะ อุปปันนัง ระตะนัตตะยัง
พุทโธ ธัมโม ภิกขุสังโฆ สัมปันนา พุทธะสาสะเน
เปเสสิ ภะคะวา สังเฆ กาตุง โลกานะ สังคะหัง
ละภิงสุ พะหุกา สัตตา โอกาสัง ปัตตุ นิพพุติง

ปัณณะระสี อะยันทานิ สัมปัตตา อะภิลักขิตา
ทีปะปุปผาทิหัตถา จะ หุตวา อิธะ สะมาคะตา
ปะทักขิณัง กะริสสามะ ติกขัตตุง คะรุเจติยัง
ภะคะวา ปะฏิคัณหาตุ อัมหากัง สักการัง อิมัง

ระตะนัตตะยานุภาเวนะ ระตะนัตตะยะเตชะสา
สัพเพ สัตตา ปุญญะภาคา นิททุกขา นิรุปัททะวา
อะระหันตา ปะพุชฌันตุ สะทา โคตะมะสาวะกา
การุญญัญจะ อุปาทายะ ภะคะวา ปะฏิคัณหาตุ

สักกาเร อิเม มัยหัง หิตายะ จะ สุขายะ จะ
จิรัง ติฏฐะตุ สัทธัมโม ตะถาคะตัปปะเวทิโต
สัมมาธารัง ปะเวสสันโต กาเลเทโว ปะวัสสะตุ
วุฒิภาวายะ สัตตานัง สะมิทธัง เนตุ เมทะนิง ฯ

 

คำบูชาดอกไม้ธูปเทียน วันอาสาฬหบูชา

ยะมัมหะ โข มะยัง ภะคะวันตัง สะระณัง คะตา โย โน ภะคะวา สัตถา
ยัสสะ จะ มะยัง ภะคะวะโต ธัมมัง โรเจมะ อะโหสิ โข โส ภะคะวา
อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ สัตเตสุ การุญญัง ปะฏิจจะ กะรุณายะโก หิเตสี
อะนุกัมปัง อุปาทายะ อาสา ฬ๎ หะปุณณะมิยัง พาราณะสิยัง อิสิปะตะเน
มิคะทาเย ปัญจะวัคคิยานัง ภิกขูนัง อะนุตตะรัง ธัมมะจักกัง ปะฐะมัง
ปะวัตเต ต๎วา จัตตาริ อะริยะสัจจานิ ปะกาเสสิ ฯ

 

ตัส๎มิญจะ โข สะมะเย ปัญจะวัคคิยานัง ภิกขูนัง ปะมุโข อายัส๎มา อัญญาโกณฑัญโญ
ภะคะวะโต ธัมมัง สุต๎วา วิระชัง วีตะมะลัง ธัมมะจักขุง ปะฏิละภิต๎วา ยังกิญจิ
สะมุทะยะธัมมัง สัพพันตัง นิโรธะธัมมันติ

 

ภะคะวันตัง อุปะสัมปะทัง ยาจิต๎วา ภะคะวะโต เยวะสันติกา เอหิภิกขุ อุปะสัมปะทัง
ปะฏิละภิ ต๎วา ภะคะวะโต ธัมมะวินะเย อะริยะสาวะกะสังโฆ โลเก ปะฐะมัง อุปปันโน
อะโหสิ พุทธะระตะนังธัมมะระตะนัง สังฆะระตะนันติ ติระตะนัง สัมปุณณัง อะโหสิ ฯ

 

มะยัง โข เอตะระหิ อิมัง อาสาฬ๎หะปุณณะมี กาลัง ตัสสะ ภะคะวะโต ธัมมะจักกัปปะ-
วัตตะนะกาละสัมมะตัง อะริยะสาวะกะสังฆะอุปปัตติกาละสัมมะ ตัญจะ ระตะนัตตะยะ-
สัมปุณณะกาละสัมมะตัญจะ ปัต๎วา อิมัง ฐานัง สัมปัตตา อิเม สักกาเร คะเหต๎วา อัตตะโน
กายัง สักการุปะธานัง กะริต๎วา ตัสสะ ภะคะวะโต ยะถาภุจเจ คุเณ อะนุสสะรันตา
อิมัง ถูปัง ( อิมัง พุทธะปะฏิมัง ) ติกขัตตุง ปะทักขิณัง กะริสสามะ ยะถาคะหิเตหิ
สักกาเรหิ ปูชัง กุรุมานา ฯ

 

สาธุ โน ภันเต ภะคะวา สุจิระปะรินิพพุโตปิ ญาตัพเพหิ คุเณหิ อะตีตารัมมะณะตายะ
ปัญญายะมาโน อิเม อัมเหหิ คะหิเต สักกาเร ปะฏิคคัณหาตุ อัม๎หากัง ทีฆะรัตตัง
หิตายะ สุขายะ ฯ

 

การเตรียมตัวก่อนการเวียนเทียน

  1. ก่อนเดินทางไปวัด หรือทำกิจกรรมทางพระพุทธศาสนา ควรอาบน้ำชำระร่างกายให้สะอาด พร้อมทั้งทำจิตใจให้เบิกบาน
  2. การแต่งกายไปวัด ควรเป็นชุดสุภาพเรียบร้อย แต่งกายให้เหมาะสมกับสถานที่ โดยทั่วไปนิยมสวมเสื้อสีขาว หากไม่มีสามารถสวมสีใดก็ได้ แต่ควรเลี่ยงการแต่งกายสีดำ หรือโทนสีเข้ม
  3. เตรียมเครื่องบูชา ได้แก่ ดอกไม้หรือพวงมาลัย, ธูป 3 ดอก, เทียน 1 เล่ม ให้พร้อม หากไม่มีสามารถซื้อได้ภายในบริเวณวัด
  4. ควรบูชาพระรัตนตรัยก่อนการเวียนเทียน โดยทั่วไปมักมีโต๊ะหมู่บูชาอยู่ด้านใน เมื่อเสร็จแล้วจึงค่อยเตรียมตัวในสถานที่ประกอบพิธี
  5. ควรเดินทางไปถึงวัดก่อนเวลาเริ่มเวียนเทียน สามารถเริ่มเวียนเทียนได้ตั้งแต่เวลา 16.00 - 20.00 น. หากต้องการให้มีพระสงฆ์นำเวียนเทียน ควรไปถึงก่อน 19.00 น. 

 

วิธีการเวียนเทียน วันอาสาฬหบูชา

การเวียนเทียนในวันอาสาฬหบูชาให้ได้อานิสงส์ ต้องเวียนประทักษิณาวรรต หรือเวียนวนไปทางขวาของอุโบสถ 3 รอบ พร้อมทั้งถือเครื่องบูชาระหว่างการประกอบพิธี และเพื่อให้ได้ซึ่งอานิสงส์อันสูงสุด ควรเวียนเทียนด้วยวิธีดังต่อไปนี้

 

1. เวียนเทียนรอบที่ 1 เพื่อระลึกถึงพระพุทธ

บทสวด : อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู 
อะนุตตะโร ปูริสะทัมมสาระถิ สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ

 

2. เวียนเทียนรอบที่ 2 เพื่อระลึกถึงพระธรรม

บทสวด : สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม สันทิฏฐิโก อะกาลิโก 
เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูฮีติ

 

3. เวียนเทียนรอบที่ 3 เพื่อระลึกถึงพระสงฆ์

บทสวด : สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเนยโย อัญชะลีกะระณีโย อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ

 

ทั้งนี้ เพื่อให้ได้อานิสงส์สูงสุดระหว่างการเวียนเทียน ควรสำรวมกาย วาจา ใจ พร้อมทั้งทำจิตใจให้สงบขณะที่เข้าร่วมพิธี อีกทั้งเพื่อไม่ให้เกิดอันตรายจากธูปหรือเทียน ทั้งแก่ตนเองและผู้อื่น ควรที่จะต้องรักษาระยะการเดิน ให้ห่างจากคนข้างหน้าด้วย

 

ที่มา : onab.go.th / lib.ru.ac.th / watpamahachai.net

Advertisement

แชร์
บทสวดเวียนเทียน วันอาสาฬหบูชา 2567 ต้องสวดบทไหน สวดอย่างไรให้ได้บุญ