ทำความรู้จัก พระกฤษณะ หนึ่งในเทพฮินดูที่นิยมบูชา เทพแห่งความรัก เปิดวิธีสวดบูชา เนื่องในวันประสูติพระกฤษณะ 26 สิงหาคม 2567
พระกฤษณะ หนึ่งในเทพฮินดูที่หลายคนนิยมบูชา เทพแห่งความรัก เทพแห่งการปกครอง ร่างอวตารปางที่ 8 จาก 10 ของพระนารายณ์ เชื่อกันว่าผู้ที่บูชาพระกฤษณะโดยสม่ำเสมอ จะส่งผลให้ชีวิตมีความรุ่งเรือง และอยู่เย็นเป็นสุข มีความรักที่อบอุ่นสมหวัง
Amarin Horoscope จะพาไปทำความรู้จักกับ พระกฤษณะ ให้มากขึ้น เนื่องด้วย วันประสูติพระกฤษณะ 2567 ที่ตรงกับวันจันทร์ที่ 26 สิงหาคม 2567 ที่จะถึงนี้ พร้อมเปิดวิธีการบูชาพระกฤษณะ และบทบูชาพระกฤษณะเป็นอย่างไรมาดูกันค่ะ
พระกฤษณะ คือใคร
พระกฤษณะ คือ อวตารปางที่ 8 ในอวตารทั้ง 10 ของพระนารายณ์หรือพระวิษณุ ในนิกายไวษณวะได้กล่าวไว้ว่า พระกฤษณะถือกำเนิดมาเพื่อทำลายลุงผู้เป็นอสูร นามว่าพญากังสะ หรือ อสูรกังสะ ที่ปลอมตัวมากเป็นกษัตริย์ สร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชน
เมื่อครั้งอวตารมาเป็น พระกฤษณะ เป็นบุตรของ พระวสุเทพ และนางเทวกี ผู้ที่ถูกขังเพราะคำทำนายโหร โดยได้ทำนายไว้ว่าทารกในครรภ์ของนางเทวกีจะเป็นผู้วิเศษ พญากังสะเจ้าเมืองกลัวการถูกล้มล้าง จึงได้สั่งขังหวังทำลายทิ้ง แต่ความพยายามไม่เป็นผลสำเร็จ เนื่องจากเทวดาได้บันดาลให้ทารกได้ย้ายไปอยู่ในครรภ์ผู้อื่น ทารกนี้จึงได้กำเนิดมา
ลักษณะของพระกฤษณะ
ของไหว้พระกฤษณะ
วิธีการบูชาพระกฤษณะ
การบูชาพระกฤษณะ ผู้ที่บูชาต้องมีศึกษามหากาพย์ มหาภารตะ และคัมภีร์ภควัทคีตา ควบคู่ไปด้วยกันการบูชาจึงจะเกิดผล
บทบูชาพระกฤษณะ
ฮะเร กฤษณะ ฮะเร กฤษณะ
กฤษณะ กฤษณะ ฮะเร ฮะเร
ฮะเร รามะ ฮะเร รามะ
รามะ รามะ ฮะเร ฮะเร
ขอความรัก พระกฤษณะ หรือ พระแม่ลักษมี
ตามความเชื่อของชาวฮินดูระบุว่า พระแม่ลักษมี เป็นเทพแห่งความงดงาม ความร่ำรว จะโดดเด่นในเรื่องของความร่ำรวย โชคลาภ และความอุดมสมบูรณ์มากกว่า ในขณะที่ พระกฤษณะ เป็นเทพแห่งความรัก การปกครอง จะโดดเด่นเรื่องความรักมาเป็นอันดับแรก
แต่ที่มีการบูชาสักการะพระแม่ลักษ เพื่อขอพรในเรื่องของความรัก สันนิษฐานกันว่ามาจากเรื่องเล่าและความเชื่อในอวตารหนึ่ง ที่ครองรักและให้กำเนิดกามเทพ อาจเป็นไปได้ว่าเพราะเป็นแม่ของกามเทพ จึงมีส่วนในเรื่องของความรักด้วย ดังนั้นแล้ว ไม่ว่าจะเป็นการบูชาพระแม่ลักษมี หรือ การบูชาพระกฤษณะ เพื่อขอพรในเรื่องความรัก ย่อมไม่มีผิดถูกแต่อย่างใด หรือจะขอพรจากทั้งสององค์เลยก็ไม่ผิด ขึ้นอยู่กับความเชื่อส่วนบุคคลทั้งนั้น
ที่มา : ชุมชนคนรักฮินดู (hindumeeting.com) / สยามคเณศ ดอทคอม (siamganesh.com) / ฝ่ายพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ (library.wu.ac.th)
Advertisement