Logo site Amarintv 34HD
Logo LiveSearch
Search
Logo Live
Logo site Amarintv 34HD
ช่องทางติดตาม AMARINTV
  • facebook AMARIN TV 34 HD
  • x AMARIN TV 34 HD
  • line AMARIN TV 34 HD
  • youtube AMARIN TV 34 HD
  • instagram AMARIN TV 34 HD
  • tiktok AMARIN TV 34 HD
  • RSS Feed AMARIN TV 34 HD
"5 นาที" อาจนานเกินไป สำหรับการยื้อชีวิตผู้ป่วย "หัวใจหยุดเต้น"
โดย : สุขภาพและความงาม

"5 นาที" อาจนานเกินไป สำหรับการยื้อชีวิตผู้ป่วย "หัวใจหยุดเต้น"

14 พ.ค. 67
12:41 น.
|
746
แชร์

ภาวะหัวใจหยุดเต้น คืออะไร สาเหตุหัวใจหยุดเต้น หมอเผยหัวใจหยุดเต้นนานกว่า 5 นาที เสี่ยงสมองตาย หรือหากฟื้นขึ้นมาก็อาจกลายเป็นผู้พิการ

จากกรณีการเสียชีวิตของ น.ส.เนติพร เสน่ห์สังคม หรือ บุ้ง ทะลุวัง นักกิจกรรมทางการเมือง ตามรายงานเบื้องต้น ระบุว่า บุ้งหัวใจหยุดเต้น เจ้าหน้าที่ได้ทำการปั๊มหัวใจ ก่อนเร่งนำตัวส่ง รพ.ธรรมศาสตร์ กระทั่งเสียชีวิตลง 

ภาวะหัวใจหยุดเต้น คืออะไร

หัวใจหยุดเต้น (Cardiac Arrest) คือ ภาวะหัวใจไม่มีการบีบตัว ทำงานผิดปกติ หรือทำงานช้าลง ทำให้ไม่มีการไหลเวียนเลือด ทำให้ไม่มีการลำเลียงออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย ทำให้เกิดการทำงานผิดปกติที่อวัยวะต่างๆ
เห็นได้ชัดคือ การทำงานของสมอง ซึ่งเมื่อไม่มีเลือดไปเลี้ยงสมอง ทำให้หมดสติ

และหากหัวใจหยุดเต้นนานกว่า 5 นาที มีโอกาสเกิดความเสียหายต่อเนื้อสมองได้มาก การช่วยเหลืออย่างรวดเร็วและถูกวิธี จึงส่งผลอย่างมากต่อการรอดชีวิต เพราะหากช่วยเหลือล่าช้าโอกาสการรอดชีวิตจะลดลงและถ้าสมองขาดเลือดนานเกินไปผู้ป่วย อาจจะฟื้นแต่อาจกลายเป็นผู้พิการได้

สาเหตุ หัวใจหยุดเต้น

ความผิดปกติต่างๆ ทางหัวใจอาจนำไปสู่ภาวะหัวใจหยุดเต้น เช่น
- โรคหลอดเลือดหัวใจ
- โรคกล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติ
- ลิ้นหัวใจผิดปกติ เช่น ลิ้นหัวใจรั่ว ลิ้นหัวใจตีบตัน เป็นต้น
- ภาวะหัวใจพิการแต่กำเนิด
- สาเหตุอื่นๆ เช่น ร่างกายขาดออกซิเจนอย่างรุนแรง ออกกำลังกายหักโหม การตกเลือด การเสียเลือดจำนวนมาก มีระดับเกลือแร่บางชนิดผิดปกติ เช่น โพแทสเซียมหรือแมกนีเซียม เป็นต้น

ขั้นตอนช่วยเหลือผู้ป่วย หัวใจหยุดเต้น

หัวใจหยุดเต้น ผู้ป่วยจะเกิดอาการวูบหมดสติ เนื่องจากสมองขาดเลือดไปเลี้ยง อาจจะมีอาการชักเกร็งกระตุกร่วมด้วย ผู้ป่วยไม่หายใจ และคลำชีพจรไม่ได้ซึ่งถือว่าเป็นภาวะฉุกเฉินที่ต้องมีการกู้ชีพ (CPR) ทันที เพื่อให้มีออกซิเจนจากปอดไปเลี้ยงสมอง อย่างเพียงพอจนกว่าการทำงานของหัวใจจะกลับมาเต้นปกติ โดยใช้เครื่องกระตุกหัวใจอัตโนมัติ (AED)

หากไม่มีผู้เชี่ยวชาญการทำ CPR หรือ สถานที่เกิดเหตุไม่มีเครื่องกระตุกหัวใจอัตโนมัติ (AED) และใช้ไม่เป็น ให้ ตั้งสติ และรีบโทรแจ้ง 1669 เพื่อให้เจ้าหน้าที่เร่งเข้าช่วยเหลือผู้ป่วยได้อย่างทันท่วงที

หัวใจหยุดเต้น

รวบรวมข้อมูลจาก : กรมการแพทย์, รามาแชนแนล

Advertisement

แชร์
"5 นาที" อาจนานเกินไป สำหรับการยื้อชีวิตผู้ป่วย "หัวใจหยุดเต้น"