สมรสเท่าเทียม ! ส่องประเทศทั่วโลกมอบสิทธิให้ประชาชน
ไม่ว่าใครก็สมควรมีความรักที่ดี ไม่ว่าจะเป็นเพศใดรักเพศใด ทุกคนควรได้รับสิทธิที่จะรักและสิทธิตามกฎหมายที่เท่าเทียมกัน โดยความเทียมแบ่งออกเป็น 1.ความเท่าเทียมในการแสดงออก และ 2.ความเท่าเทียมทางกฎหมาย ซึ่งผู้คนในหลายประเทศก็กำลังต่อสู่เพื่อความเท่าเทียมนี้ เพื่อการสร้างครอบครัว เพื่อสิทธิประโยชน์ทางกฎหมายและสวัสดิการจากรัฐ เช่น สิทธิในการจดทะเบียนสมรส สิทธิในการจัดการทรัพย์สินของคู่สมรส สิทธิในการรับมรดกของคู่สมรส (หากอีกฝ่ายเสียชีวิต) สิทธิในการรับบุตรบุญธรรม สิทธิในการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาล สิทธิในการยินยอมให้คู่สมรสรักษาพยาบาล และสิทธิในการจัดการศพ
เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2567 ประเทศไทยได้สร้างประวัติศาสตร์ของความเท่าเทียม โดยที่ประชุมวุฒิสภาผ่านร่างกฎหมาย “สมรสเท่าเทียม” (คะแนนเสียงเห็นด้วย 130 เสียง ไม่เห็นด้วย 4 เสียง และงดออกเสียง 18 เสียง) ส่งผลให้ไทยกลายเป็นชาติแรกในอาเซียนที่มีกฎหมายแต่งงานบุคคลเพศเดียวกัน นับเป็นประเทศที่ 3 ในเอเชีย ต่อจากไต้หวันและเนปาล
ซึ่งหลังจากนี้ กฎหมายสมรสเท่าเทียมจะเข้าสู่ขั้นตอนการวินิจฉัยจากศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อตรวจสอบว่าไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ จากนั้นนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี จะนำร่างพระราชบัญญัติขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย หลังจากนั้นกฎหมายจะมีผลบังคับใช้จริง นับแต่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา 120 วัน
ในปี 2543 สภานิติบัญญัติของเนเธอร์แลนด์ได้ผ่านกฎหมาย และในปี 2544 เนเธอร์แลนด์ได้กลายเป็นประเทศแรกของโลกที่รับรองการแต่งงานของบุคคลเพศเดียวกัน กลายเป็นจุดเริ่มต้นให้อีกหลากหลายประเทศในยุโรปตะวันตกในการร่างกฎหมาย “สมรสเท่าเทียม”
สมรสเท่าเทียมกลายเป็นที่พูดถึงในประเด็นสิทธิขั้นพื้นฐานในการสร้างครอบครัว ประชาชนทุกคนควรสามารถเลือกที่เป็นหรือเลือกที่จะรักใครเพศใดก็ได้
Advertisement