Logo site Amarintv 34HD
Logo LiveSearch
Search
Logo Live
Logo site Amarintv 34HD
ช่องทางติดตาม AMARINTV
  • facebook AMARIN TV 34 HD
  • x AMARIN TV 34 HD
  • line AMARIN TV 34 HD
  • youtube AMARIN TV 34 HD
  • instagram AMARIN TV 34 HD
  • tiktok AMARIN TV 34 HD
  • RSS Feed AMARIN TV 34 HD
สรุปมาตรการระยะสั้น ระยะยาว ควบคุม ปลาหมอคางดำ กรมประมงมั่นใจเอาอยู่ใน 3 ปี

สรุปมาตรการระยะสั้น ระยะยาว ควบคุม ปลาหมอคางดำ กรมประมงมั่นใจเอาอยู่ใน 3 ปี

17 ก.ค. 67
13:07 น.
|
714
แชร์

อธิบดีกรมประมง ตั้งโต๊ะตอบทุกคำถาม กรณีปลาหมอคางดำระบาดหนัก เผยมาตรการระยะสั้น ระยะยาว เอาอยู่ใน 3 ปี

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ ปลาหมอคางดำ ในประเทศไทยซึ่งพบตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560 และมีการแพร่ระบาดเป็นวงกว้างในพื้นที่ภาคกลาง เมื่อต้นปี 2567 โดยปัจจุบันพบการแพร่ระบาดใน 16 จังหวัด ได้แก่ จันทบุรี ระยอง ฉะเชิงเทรา ราชบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา นครปฐม เพชรบุรี สมุทรปราการ สมุทรสาคร สมุทรสงคราม นนทบุรี และกรุงเทพมหานคร

ล่าสุด กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้กำหนดเป็นวาระเร่งด่วนแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำขึ้น และได้ออก 5 มาตรการสำคัญ ได้แก่

451382322_516074720767034_762

สรุปมาตรการระยะสั้น สกัดการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำ หรือ ปลาหมอสีคางดำ

1. การควบคุมและกำจัดปลาหมอคางดำในแหล่งน้ำทุกแห่งที่พบการแพร่ระบาด

กรมประมง พร้อมแก้ไขกฎหมายซึ่งเป็นอุปสรรคในการใช้เครื่องมือประมงที่เหมาะสมเพื่อกำจัดปลาหมอคางดำ โดยมีการสำรวจข้อมูลการใช้เครื่องมือประมงที่ใช้ในการกำจัดปลาหมอคางดำ และได้มีการประกาศการอนุญาตผ่อนผันใช้เครื่องมือประมงอวนรุน ตามประกาศกรมประมง ทั้งนี้ ได้เปิดช่องทางให้จังหวัดที่มีความต้องการขออนุญาตผ่อนผันการใช้เครื่องมือประมงเพื่อกำจัดปลาหมอคางดำ เสนอเรื่องผ่านมติที่ประชุมคณะทำงานฯ มายังกองบริหารจัดการทรัพยากรและกำหนดมาตรการ เพื่อประกาศ ผ่อนผัน ตามเงื่อนไขและความเหมาะสม นอกจากนี้ กรมประมงเตรียมแต่งตั้งคณะทำงานพิจารณาการกำหนดเครื่องมือที่ใช้ทำการประมง เพื่อกำจัดปลาหมอคางดำขึ้น สำหรับอำนวยความสะดวกและเพิ่มความรวดเร็วในการขอใช้เครื่องของประมงพื้นบ้าน โดยกรมประมงได้ประสานความร่วมมือกับองค์กรประมงท้องถิ่น ชุมชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการควบคุม กำจัด ปลาหมอคางดำในทุกพื้นที่แพร่ระบาด

2. การปล่อยปลาผู้ล่า เพื่อกำจัดปลาหมอคางดำในแหล่งน้ำธรรมชาติ

การกำจัดปลาหมอคางดำในแหล่งน้ำธรรมชาติ โดยการปล่อยปลาผู้ล่าอย่างต่อเนื่อง โดยกรมประมงได้ปล่อยลูกพันธุ์ปลาผู้ล่าทั้งปลากะพงขาว ปลาอีกง และอื่นๆ ไปแล้วจำนวนกว่า 226,000 ตัว ลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ ใน 7 จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดสมุทรสาคร สมุทรสงคราม สมุทรปราการ เพชรบุรี กรุงเทพมหานคร ราชบุรี และสงขลา และยังมีโครงการจะปล่อยอย่างต่อเนื่องในทุกพื้นที่ ทั้งนี้ กรมประมงขอยืนยันว่า ปลาหมอคางดำขนาดโตเต็มวัย ไม่สามารถกินลูกพันธุ์ปลาผู้ล่าขนาด 4 นิ้วที่ปล่อยลงไปได้ และลูกพันธุ์ปลาผู้ล่าเหล่านี้สามารถกินลูกปลาหมอคางดำ ขนาดเล็กกว่า 3 เซนติเมตรเพื่อควบคุมประชากรที่มีปริมาณมากได้ โดยกรมประมงจะเลือกพันธุ์ปลาผู้ล่าและพื้นที่การปล่อย รวมถึงจำนวนการปล่อย ให้เหมาะสมกับระบบนิเวศของพื้นที่ที่สุด

3. การนำปลาหมอคางดำที่กำจัดออกจากระบบนิเวศไปใช้ประโยชน์

กรมประมงได้ประสานสมาคมผู้ผลิตปลาป่นไทย ในพื้นที่สมุทรสาครจำหน่ายให้กับโรงงานปลาป่น 2 แห่ง โดยมีการรับซื้อปลาหมอคางดำจากพื้นที่จังหวัดใกล้เคียง คือ กรุงเทพมหานครและราชบุรี รวมปริมาณการใช้ประโยชน์จากปลาหมอคางดำส่งโรงงาน เพื่อผลิตปลาป่น และกรมประมงได้ร่วมกับกรมพัฒนาที่ดิน (สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 10) จัดโครงการรณรงค์การทำน้ำหมัก ชีวภาพคุณภาพสูง (สูตรไนโตรเจนสูง) รับซื้อปลาหมอคางดำราคากิโลกรัมละ 7 - 8 บาท นอกจากนี้ เครือข่ายภาคประชาชนมีการนำปลาหมอคางดำที่จับจากระบบนิเวศไปใช้ประโยชน์ โดยมีแหล่งรับซื้อปลาหมอคางดำ ได้แก่ แพรับซื้อปลาขนาดเล็กเพื่อนำไปเป็นอาหารสัตว์ (ปลาสด) เพื่อใช้เป็นปลาเหยื่อเลี้ยงสัตว์น้ำและ ปลาเหยื่อลอบปู ที่สำคัญ กรมประมงจะเร่งหาพันธมิตรทั้งภาครัฐและเอกชนเพิ่มช่องทางการรับซื้อ และศึกษาวิจัยประโยชน์ในด้านอื่นๆ ของปลาหมอคางดำ เพื่อนำไปใช้สานต่อในอนาคต นอกจากน้ยังมีการนำเอาไปทำเป็นเมนูอาหารที่หลากหลาย เช่น ต้มยำ แกงส้ม ปลาแดดเดียว ทอดมัน ปั้นขลิบ ฯลฯ

736534

4. การสำรวจและเฝ้าระวังการแพร่กระจายปลาหมอคางดำในแหล่งน้ำธรรมชาติตามพื้นที่กันชนต่าง ๆ

กรมประมง ได้ดำเนินการจัดทำระบบแจ้งตำแหน่งการพบปลาหมอคางดำในรูปแบบออนไลน์สำหรับประชาชน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทราบบริเวณที่มีการแพร่กระจายของปลาหมอคางดำโดยประชาชนสามารถแจ้ง เบาะแสพิกัดที่พบการแพร่กระจายของปลาหมอคางดำได้ที่ https://shorturl.asia/3MbkG เพื่อเป็นข้อมูลให้เจ้าหน้าที่ลงพื้นที่สำรวจ ติดตามและ ดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป

5. การประชาสัมพันธ์ สร้างความตระหนักรู้ และการมีส่วนร่วม ในการกำจัดปลาหมอคางดำให้กับทุกภาคส่วน

กรมประมงจัดให้มีการประชาสัมพันธ์และสร้างการรับรู้เกี่ยวกับปลาหมอคางดำอย่างต่อเนื่อง ภายหลังจากหน่วยงานระดับจังหวัด ได้มีคณะทำงานแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำแล้ว สำนักงานประมงจังหวัดทั้ง 16 จังหวัด (ระบาด 14จังหวัดและกันชน 2 จังหวัด) ดำเนินการจัดกิจกรรมการประชาสัมพันธ์เชิงรุกเพื่อให้ประชาชนในพื้นที่ตื่นตัว

ในขณะนี้ทุกจังหวัดได้เริ่มดำเนินการตามแผนฯ เบื้องต้นไปแล้ว โดยมีหน่วยงานกรมประมงในพื้นที่ร่วมบูรณาการกับภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประมงท้องถิ่นและภาคประชาชนในการดำเนินการ นอกจากนี้ ร้อยเอกธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฯ ได้หารือกับนายกรัฐมนตรีเรียบร้อยแล้ว เบื้องต้นจะใช้เงินจากกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง ในระหว่างที่รอของบกลาง และได้สั่งการเร่งด่วนมายังอธิบดีกรมประมงให้เร่งจัดจุดรับซื้อปลาหมอคางดำในพื้นที่จังหวัดต่างๆ ภายใน 1 สัปดาห์ ในราคา 15 บาทต่อกิโลกรัม เพื่อเพิ่มแรงจูงใจให้กับประชาชนในการมีส่วนร่วมควบคุมและกำจัดปลาหมอคางดำในแหล่งน้ำทุกแห่งที่พบการแพร่ระบาด

451191795_516074700767036_180

สรุปมาตรการระยะยาว สกัดการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำ หรือ ปลาหมอสีคางดำ

กรมประมงจะนำ “โครงการวิจัย การเหนี่ยวนำชุดโครโมโซม 4n ในปลาหมอคางดำ” โดยโครงการดังกล่าวฯ กรมประมงได้มีแนวทางในการควบคุมการแพร่ขยายพันธุ์ของปลาหมอคางดำด้วยหลักการทางพันธุศาสตร์ โดยการศึกษาสร้างประชากรปลาหมอคางดำพิเศษที่มีชุดโครโมโซม 4 ชุด (4n) จากนั้นจะปล่อยปลาหมอคางดำพิเศษเหล่านี้ ลงสู่แหล่งน้ำเพื่อให้ไปผสมพันธุ์กับปลาหมอคางดำปกติที่มีชุดโครโมโซม 2 ชุด (2n)

การผสมพันธุ์นี้จะทำให้เกิดลูกปลาหมอคางดำ ที่มีชุดโครโมโซม 3 ชุด (3n) ซึ่งลูกปลาที่มีโครโมโซม 3 ชุดนี้จะกลายเป็นปลาหมอคางดำที่เป็นหมัน ไม่สามารถสืบพันธุ์ต่อได้ ในเบื้องต้นของการศึกษานี้จะทดลองในบ่อทดลองเลียนแบบธรรมชาติภายในศูนย์วิจัยและพัฒนาพันธุกรรมสัตว์น้ำเพชรบุรี และจะทยอยปล่อยอย่างน้อย 250,000 ตัว ภายในระยะเวลา 15 เดือน (กรกฎาคม 2567 - กันยายน 2568) คาดว่าสามารถเริ่มปล่อยพันธุ์ปลาได้อย่างช้าสุดในเดือนธันวาคม 2567 อย่างน้อยจำนวน 50,000 ตัว และเมื่อดำเนินการควบคู่กับวิธีการควบคุมอื่น ๆ เช่น การใช้ปลาผู้ล่า และการจับปลา ไปใช้ประโยชน์ ก็จะส่งผลให้การเพิ่มจำนวนปลาหมอคางดำรุ่นใหม่ลดลงจนสามารถควบคุมการระบาดได้ในอนาคต ภายใน 3 ปี

อย่างไรก็ตาม แม้ว่างานวิจัยนี้จะเป็นแนวทางที่มีศักยภาพในการแก้ปัญหาการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำได้อย่างดีเยี่ยม กรมประมงยังคงตระหนักถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมของสัตว์น้ำอื่น ๆ ในธรรมชาติ ดังนั้น จึงต้องดำเนินการศึกษาอย่างละเอียดและรอบคอบ เพื่อให้มั่นใจว่าการดำเนินการดังกล่าวจะไม่ส่งผลกระทบด้านลบต่อระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อม และสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างยั่งยืน นอกจากนี้ หลังจากปลาหมอคางดำเริ่มลดจำนวนลงกรมประมงจะเร่งการฟื้นฟูระบบนิเวศ โดยการปล่อยชนิดพันธุ์ปลาพื้นเมืองของไทยที่พบในระบบนิเวศเดิม จัดทำเขตอนุรักษ์เพื่อฟื้นฟูความหลากหลาย และสร้างเครือข่ายชุมชนในการอนุรักษ์และรักษาระบบนิเวศ รวมถึงเฝ้าระวังแจ้งเหตุ เพื่อคืนปลาพื้นเมืองไทยเหล่านี้กลับสู่ระบบนิเวศ สร้างสมดุลคืนความอุดมสมบูรณ์ให้กับแหล่งน้ำธรรมชาติดั้งเดิมอย่างยั่งยืน

Advertisement

แชร์
สรุปมาตรการระยะสั้น ระยะยาว ควบคุม ปลาหมอคางดำ กรมประมงมั่นใจเอาอยู่ใน 3 ปี