เปิดคาถาบูชา "ครูกายแก้ว" และวิธีขอพรบรมครูผู้เรืองเวทให้สมหวัง พร้อมเปิดพิกัดที่สายมูไม่ควรพลาดไปสักการะ
"ครูกายแก้ว" มีประวัติความเป็นมาอย่างไร?
"ครูกายแก้ว" หรือที่หลายๆ คนอาจรู้จักกันในนามของ "พ่อใหญ่ บรมครูผู้เรืองเวท" นี้ มีที่มาเท่าที่ปรากฎว่ามากับพระธุดงค์ที่จังหวัดลำปาง จากการที่พระรูปนี้ได้ธุดงค์ไปทำสมาธิที่ปราสาทนครวัดนครธม ประเทศกัมพูชา และต่อมาก็ได้มอบครูกายแก้วนี้ให้กับลูกศิษย์นั่นก็คือ อาจารย์ถวิล มิลินทจินดา หรือ พ่อหวิน นักร้องเพลงไทยเดิมของกองดุริยางค์ทหาร ผู้เป็นอาจารย์ของท่านอาจารย์สุชาติ รัตนสุข ผู้สร้างองค์ปฐมของครูกายแก้วขึ้นในประเทศไทย
ในครั้งแรกที่อาจารย์สุชาติได้รับมอบครูกายแก้วมานั้น องค์ครูมีขนาดเล็ก เป็นลักษณะคนนั่งหน้าตักเพียงแค่ประมาณ 2 นิ้วเท่านั้น และต่อมาครูกายแก้วก็ปรากฎกายให้อาจารย์สุชาติได้เห็น ในตอนนั้นเองอาจารย์สุชาติก็ได้ทำการวาดภาพของครูกายแก้วจากจินตนาการ และทำการหล่อรูปองค์ครูขึ้นเป็นองค์แรก มีลักษณะเป็นองค์ยืน คล้ายคนแก่ นำไปไว้ที่สำนัก จุดประสงค์ก็เพื่อเป็นการบูชาครูนั่นเอง
โดยรูปร่างลักษณะขององค์ครูกายแก้วที่อาจารย์สุชาติสร้างขึ้นมานั้น เป็นลักษณะของผู้บำเพ็ญกึ่งมนุษย์กึ่งนก มีปีกด้านหลัง มีเขี้ยวทองเพื่อสื่อถึงนกการเวก อ้างอิงตามหลักฐานที่ปรากฎอยู่บนกำแพงบายน ที่มีประวัติของการเวกซึ่งเป็นพวกนักดีดสีตีเป่า ถือเป็นครูของศาสตร์ศิลป์ทั้งหลายในยุคของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ของกัมพูชา
ปัจจุบันองค์ปฐมแบบยืนของครูกายแก้วนั้นถูกย้ายไปไว้ที่บ้านของคุณสุวรรณี เต็มเจริญสุข ส่วนองค์ต่อมาที่เป็นแบบองค์นั่งก็ถูกเก็บเอาไว้บูชาที่บ้านของท่านอาจารย์สุชาติเอง แต่หากว่าใครอยากจะกราบไหว้ขอพรองค์ครูกายแก้ว ก็สามารถไปได้ที่เทวาลัยพระพิฆเนศห้วยขวาง ที่นั่นมีองค์ครูกายแก้วแบบนั่งเช่นเดียวกัน
ภาพจาก : เทวาลัยพระพิฆเนศบางใหญ่
สักการะอย่างไรให้สัมฤทธิ์ผล?
คาถาบูชาครูกายแก้ว บรมครูผู้เรืองเวทย์
บทที่ 1
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (3 จบ)
มะอะอุ ครูกายแก้ว เมตตา จะมหาราชา สัพพะเสน่หา มะมะจิตตัง ปิยังมะมะ (9 จบ)
บทที่ 2
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ (3 จบ)
อิติปิโสภะคะวา กายแก้ว อิตินามะ วิสสุโต ครุ มหาลาโภ สัพพะลาโภ สัพพะเสน่หา นิรันตะรัง เอหิ เอหิธะนัง เอหิ เอหิ ลาภัง ภะวันตุ เม ( 5 จบ)
(ชื่อ-สกุล วันเกิดแล้วจึงอธิฐานขอพร 1 ข้อ)
เนื่องจากคาถาบูชาครูกายแก้วมีหลายบท ทั้งสั้นและยาว ขึ้นอยู่กับความสะดวกของผู้ขอพรว่าสะดวกสวดบทไหน ที่สำคัญคือต้องระลึกถึงครูกายแก้วขณะสวดบูชาสักการะ และต้องแน่วแน่ชัดเจนในพรที่ขอ
เครื่องสักการะบูชาครูกายแก้วมีอะไรบ้าง?
เครื่องสักการะบูชาที่มักนำมาไหว้ครูกายแก้วประกอบด้วย
- ธูป 5 ดอก
- เทียน 1 เล่ม
- มะพร้าวน้ำหอมเผา
- ผลไม้ 3-5 อย่าง
- ของหวาน 3-5 อย่าง
- ทองคำเปลว
- หมากพลู
- น้ำหอม น้ำปรุง
- ดอกไม้กลิ่นหอม และ ดอกไม้ 7 สี
เปิดพิกัดสถานที่บูชาสักการะครูกายแก้ว
- ครูกายแก้วบางใหญ่
- ครูกายแก้วห้วยขวาง
- ครูกายแก้ว ศาลพระพิฆเนศ อาเขตเชียงใหม่