เปรียบเทียบ เงินดิจิทัล นโยบายเพื่อไทยเหมือนหรือต่างกับโครงการ คนละครึ่ง รัฐบาล "ลุงตู่" ประชาชนจับตาทั้งประเทศหลัง "เศรษฐา" ได้เก้าอี้นายกฯ
เงินดิจิทัล จากนโยบายในการหาเสียงของพรรคเพื่อไทย สู่คำถามของประชาชนมากมายว่า "เงินดิจิทัลเข้าวันไหน?" หลังจากที่เมื่อ 22 ส.ค.66 ที่ผ่านมา นายเศรษฐ ทวีสิน ได้รับคะแนนโหวตจากทั้ง สส. พรรคร่วม และ สว. ทำให้ นายเศรษฐา ได้เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 30 ของประเทศไทย
สำหรับการแจกเงินดิจิทัลของรัฐบาลเพื่อไทยภายใต้การนำของ นำโดยนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี เป็นนโยบายเงินดิจิทัล 10,000 บาท ที่พรรคใช้ในการหาเสียงก่อนการเลือกตั้ง เพื่อการกระตุ้นเศรษฐกิจ คาดว่าน่าจะประกาศใช้เดือนมกราคม 2567
รัฐบาลไทยกับเงินสวัสดิการ
ในยุครัฐบาล คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้เกิดนโยบายทางการเงินหนึ่งขึ้นมานั่นก็คือ บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ หรือที่มักเรียกติดปากว่า ‘บัตรคนจน’ ซึ่งเป็นโยบายที่มห้ประชาชนผู้มีรายได้น้อยรับเงินสนับสนุนจากรัฐบาล สมารถใช้ได้ผ่านบัตรที่จัดทำจากภาครัฐ โดยสารมารถนำไปใช้จ่ายเพื่อซื้อสินค้า หรือชำระค่าสาธารณูประโภคต่างๆ ตามที่รัฐกำหนดได้ และด้วยนะโยบายนี้เองทำให้ประชาชนเริ่มมองว่าภาครัฐควรจัดสวัสดิการให้ประชาชนอย่างเท่าเทียมมากขึ้น
คนละครึ่ง อีกโครงการหนึ่งที่ รัฐบาลของ "ลุงตู่" พลเอกพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้จัดทำขึ้นเพื่อกระตุ้นการจับจ่ายใช้สอยภายในประเทศ ด้วยการแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายของประชาชน และช่วยเพิ่มสภาพคล่องให้แก่ร้านค้ารายย่อยทั่วประเทศ ช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 มีวิธีการใช้งานคือ ใช้งานผ่านแอปพลิเคชัน "เป๋าตัง" ภาครัฐจะช่วยออกเงินให้ครึ่งหนึ่ง ส่วนอีกครึ่งหนึ่งเป็นเงินที่ประชาชนต้องเติมเข้าไปเอง
นอกจากนี้ เงินสนับสนุนเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจจากภาครัฐ ในยุคของรัฐบาลลุงตู่ ยังมีโครงการอื่นๆ อยู่ เช่น เราเที่ยวด้วยกัน เป็น นโยบายเพื่อกระตุ้นการใช้จ่ายภาคประชาชนผ่านการท่องเที่ยวภายในประเทศ ช่วยเพิ่มสภาพคล่องให้ผู้ประกอบการธุรกิจโรงแรมและธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง สนับสนุนการสร้างงานและฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศ คล้ายกับ คนละครึ่ง
เปรียบเทียบ คนละครึ่ง กับ เงินดิจิทัล 10,000 บาท
แม้ คนละครึ่ง กับ เงินดิจิทัล 10,000 บาท จะเป็นนโยบายให้เงินสนับสนุนประชาชนเพื่อเป็นไปในการกระตุ้นเศรษฐกิจทั้งคู่ แต่ก็ไม่เหมือนกันไปเสียทั้งหมด โดยในเบื้องต้นมีความต่างกันดังนี้
ใครได้รับสิทธบ้าง?
- คนละครึ่ง
ต้องเป็นผู้มีสัญชาติไทย อายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ณ วันที่ลงทะเบียน มีหมายเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก และมีบัตรประจำตัวประชาชน และต้องเป็นผู้ที่ไม่ได้รับสวัสดิการอื่นจากรัฐเช่น ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ และไม่เป็นผู้ได้รับสิทธิโครงการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษ
- เงินดิจิทัล 10,000 บาท
คนไทยตั้งแต่อายุ 16 ปีขึ้นไป มีบัตรประชาชน เลข 13 หลัก ผู้ได้ที่ได้รับสวัสดิการ เช่น ผู้พิการ คนชรา ยังคงมีสิทธิ์ได้รับเงินดิจิทัลเต็มจำนวน ไม่หักลด
การลงทะเบียนรับสิทธิ
- คนละครึ่ง
ต้องลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์ คนละครึ่ง
- เงินดิจิทัล 10,000 บาท
ไม่ต้องลงทะเบียน จะผูกกับบัตรประชาชนของผู้ที่มีสิทธิ์
วิธีใช้งาน
- คนละครึ่ง
ใช้งานผ่านแอปพลิเคชัน "เป๋าตัง" โดยประชาชนผู้มีสิทธิ์เติมเงินเข้าไปครึ่งหนึ่ง และภาครัฐออกให้อีกครั้งหนึ่งในวงเงิน 150 บาท ต่อวัน หรือสามารถใช้วงเงิน 800 บาท ตลอดโครงการ
- เงินดิจิทัล 10,000 บาท
สามารถใช้งานได้ผ่านรหัสบัตรประชาชน 13 หลัก และสามารถใช้งานได้แม้ไม่มีสมาร์ทโฟน หรือแอปพลิเคชัน
ใช้จ่ายที่ไหนได้บ้าง
- คนละครึ่ง
สามารถใช้จ่ายได้ที่ร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการทั่วประเทศ
- เงินดิจิทัล 10,000 บาท
รัศมี 4 กิโลเมตร จากที่อยู่ตามทะเบียนบ้าน (ปรับเปลี่ยนได้ตามลักษณะภูมิประเทศ เพื่อประโยชน์สูงสุดของประชาชนทุกคน)
ซื้ออะไรได้บ้าง
- คนละครึ่ง
สินค้าจำเป็น อาหาร น้ำดื่ม
- เงินดิจิทัล 10,000 บาท
ใช้ซื้ออาหาร น้ำดื่ม ยารักษาโรค หรือเครื่องมือทำกินใดก็ได้ทั้งสิ้น
ระยะเวลาการใช้งาน
- คนละครึ่ง
ใช้จ่ายตามระยะเวลาที่โครงการกำหนดในแต่ละครั้ง
- เงินดิจิทัล 10,000 บาท
ต้องใช้ให้หมดภายใน 6 เดือน โดยสามารถใช้จ่ายรวดเดียว 10,000 บาท หรือทยอยใช้ก็ได้
แม้จะมีข้อแตกต่างกันอยู่บ้างของทั้งสองโครงการ แต่มีสิ่งหนึ่งที่เหมือนกันคือ ต้องใช้จ่ายตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้เท่านั้น ไม่สามารถถอนออกมาเป็นเงินสดเพื่อใช้จ่ายได้
ทั้งนี้ กระเป๋าเงินดิจิทัล 10,000 บาท ของพรรคเพื่อไทย ยังคงเป็นเพียงนโยบายเท่านั้น ยังไม่มีการบังคับใช้จริง ชึ่งต้องรอดูกันต่อไปว่า พรรคเพื่อไทยจะประกาศใช้นโยบายดังกล่าวตามกำหนดการเดิมตามที่เคยแจ้งในช่วงหาเสียงหรือไม่