สังเวยแล้ว 2 ศพ คลัสเตอร์ยาดองเถื่อน ยอดผู้ป่วยพุ่ง 27 ราย

26 ส.ค. 67

สังเวยแล้ว 2 ศพ คลัสเตอร์ยาดองเหล้าเถื่อน ยอดผู้ป่วยพุ่ง 27 ราย ในจำนวนนี้อาการโคม่า 13 ราย ต้องใส่เครื่องช่วยหายใจ ฟอกไต เสี่ยงตาบอด

วันนี้ (26 ส.ค.67) นายแพทย์ไพโรจน์ สุรัตนวนิช รองอธิบดีกรมการแพทย์ พร้อมด้วย นพ.เกรียงไกร นามไธสง ผู้อำนวยการโรงพยาบาลนพรัตน์ราชธานี เจ้าหน้าที่ตำรวจจาก บก.น.3 และ สน.บางชัน ร่วมประชุมติดตามคดีจากกรณีคลัสเตอร์ซุ้มยาดองขายเหล้าเถื่อนผสมเมทานอล ส่งผลให้คนที่กินเข้าไปเกิดอาการเป็นพิษ ต้องนำส่งโรงพยาบาล โดยข้อมูลล่าสุดวันนี้พบผู้ป่วย 27 คน และในจำนวนนี้มีผู้เสียชีวิตแล้ว 2 ราย

นพ.ไพโรจน์ กล่าวว่า จากจำนวนผู้ป่วยทั้งหมดนี้แบ่งเป็นผู้ป่วยวิกฤต (สีแดง) จำนวน 13 ราย ผู้ป่วยเร่งด่วน (สีเหลือง) 3 ราย และผู้ป่วยไม่เร่งด่วน (สีเขียว) 9 ราย โดยในจำนวนนี้เสียชีวิตที่โรงพยาบาลเสรีรักษ์ 1 ราย และที่โรงพยาบาลนวมินทร์ 9 อีก 1 ราย ซึ่งทั้งหมดนี้เดินทางมาติดต่อคัดกรองเพื่อเข้ารับการรักษาด้วยตัวเอง และบางส่วนเป็นผู้ป่วยที่เจ้าหน้าที่ไปซีลพื้นที่เสี่ยง ในส่วนของผู้ที่อาการต้องสงสัยรายอื่น ประกอบกับอยู่ในจุดที่เป็นคลัสเตอร์ที่ทางกรมสรรพสามิตได้ประกาศเตือนออกไปในพื้นที่ 6 เขต 18 ร้าน ก็อยากให้รีบมาคัดกรองเพื่อทำการรักษา

1724655570132

สำหรับการประชุมในวันนี้ ในส่วนของการดูแลให้การช่วยเหลือเบื้องต้น ได้รับการประสานจากโรงพยาบาลขนาดใหญ่ ทั้งโรงพยาบาลราชวิถี,โรงพยาบาลเลิศสิน,โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และโรงพยาบาลสิรินธรให้การสนับสนุนช่วยเหลือในการถ่ายเทผู้ป่วยวิกฤตแล้ว ส่วนเรื่องการดำเนินการตัดตอนแหล่งผลิต และแหล่งจำหน่ายทางบก.น.3 ได้มีการส่งเจ้าหน้าที่ตำรวจรลงพื้นที่สอบสวนร่วมกับกรมสรรพสามิตและกรมควบคุมโรค

315646_0

นายแพทย์ไพโรจน์ เปิดเผยอีกว่า สำหรับผู้ป่วยทั้งหมดที่เข้ารับการรักษาพบว่าเป็นคนไทย ที่อาศัยอยู่ในเขตมีนบุรี หนองจอกและคลองสามวา ซึ่งทุกคนมีประวัติเคยดื่มสุราเถื่อนในพื้นที่ดังกล่าว ส่วนประชาชนที่เคยดื่มสุราเถื่อน หรือเคยดื่มในร้านที่เป็นจุดเสี่ยงที่เคยออกประกาศไป 18 ร้าน แล้วพบว่ามีอาการ วิงเวียนศรีษะ คลื่นไส้อาเจียนและสายตาพร่ามัว สามารถเข้ารับการตรวจได้ที่โรงพยาบาลใกล้เคียง โดยในผู้ป่วยบางรายอาจจะมีอาการออกฤทธิ์ช้าโดยจะออกฤทธิ์หลังจากดื่มไปแล้ว 24-48 ชั่วโมง

โดยปกติจากการกลั่นสุราจะพบเมทานอลขึ้นบ้างเล็กน้อยไม่เกิน 1,000 ppm (parts per million) แต่จากการตรวจสอบแหล่งผลิตโรงงานในซอยกาญจนา 25 พบว่ามีระดับเมทานอลสูงถึง 1 แสน ppm ซึ่งที่ผ่านมาโดยเฉลี่ยปีหนึ่งจะมีผู้ป่วย 50-100 ราย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสุราธรรมชาติชาวบ้านต้มกลั่นกันเอง ส่วนผลของส่วนประกอบอย่างละเอียดของสุราเถื่อนอยู่ระหว่างการตรวจสอบของศูนย์พิษวิทยาโรงพยาบาลรามาธิบดี ซึ่งผลน่าจะออกมาใน 1-2 วันนี้.

advertisement

advertisement

คุณอาจสนใจข่าวนี้

ข่าวยอดนิยม

ข่าวทั่วไป เป็นกระแส