เกษตรกรได้เฮ คณะรัฐมนตรีเห็นชอบให้อนุมัติมาตรการ "เยียวยาเกษตรกร" ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 โดยช่วยเหลือเป็นรายเดือน 5,000 เป็นเวลาสามเดือนเหมือนกับการเยียวยาเราไม่ทิ้งกัน
ศ.ดร.นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยผลการประชุมคณะรัฐมนตรี โดยอนุมัติมาตรการเยียวยาเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด19 ซึ่งมีจำนวนที่อยู่ในระบบเกษตรกร 10 ล้านคน โดยแบ่งเป็น กลุ่มที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรไว้ที่กรมส่งเสริมการเกษตร กรมปศุสัตว์ กรมประมง 8.4 ล้านคน และกลุ่มที่อยู่ระหว่างการตรวจสอบการขึ้นทะเบียน 1.57 ล้านคน
ข่าวที่เกี่ยวข้องกับการเยียวยาเกษตรกร
- เปิดหลักเกณฑ์การขึ้นทะเบียนเกษตรกร ก่อนเยียวยาโควิด-19
- ปชช.ลุ้น SMS เงินเยียวยาโควิดล็อต 2 คลังจ่อเคาะเงินช่วยเกษตรกร
- เผยที่มา ทำไมอยู่ๆ ถูกจัดให้เป็น "เกษตรกร" ไม่ได้รับเงินเยียวยา 5,000 บาท
- เป็น "เกษตรกรรายใหม่" ไม่เคยขึ้นทะเบียนมาก่อน ทำอย่างไรถึงได้รับ เงินเยียวยา 15,000
- ไขข้อข้องใจ "ทะเบียนเกษตรกร" ด้านพืช ก่อนลงทะเบียนรับเงินเยียวยา 15,000
โดยเกษตรสามารถลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์ กรมส่งเสริมการเกษตร เพื่อปรับปรุงข้อมูลเกษตรกรได้จนถึงวันที่ 15 พ.ค. เพียงกรอกเลขบัตรประจำตัวประชาชน 13 หลักแล้วกดค้นหา
กรณีที่เป็นเกษตรกรรายใหม่ แปลงใหม่ หรือ เป็นเกษตรกรรายเดิม แปลงใหม่ ให้กรอกแบบฟอร์มคำร้องขึ้นทะเบียนเกษตรกร (ดาวน์โหลดแบบฟอร์มได้ ที่นี่) กรอกข้อมูลก่อนฝากผู้นำชุมชนส่งคำร้องให้
สำหรับเกษตรกรที่เคยลงทะเบียนเกษตรกรไว้แล้ว เข้าไปปรับปรุงข้อมูลของตนเอง ผ่านแอพลิเคชั่น Farmbook ได้เลย โดยไม่ต้องลงทะเบียนใหม่
โดยการปรับปรุงข้อมูลของตนเอง ผ่านแอพลิเคชั่น Farmbook สามารถทำได้ง่ายๆ ใน 6 ขั้นตอน ประกอบไปด้วย
ขั้นตอนแรก ให้ดาวน์โหลดแอพลิเคชั่น Farmbook ได้ทั้ง Playstore และ App store
ดาวน์โหลดแอพลิเคชั่น Farmbook ทาง Playstore ได้ที่นี่
ดาวน์โหลดแอพลิเคชั่น Farmbook ทาง App Store ได้ที่นี่
ขั้นตอนที่สอง ให้กดเลือกเมนูแจ้งปลูกบน แอพลิเคชั่น Farmbook
ขั้นตอนที่สาม เลือกแปลงปลูกที่ต้องการแจ้งปรับปรุงทะเบียนเกษตรกร
ขั้นตอนที่สี่ เลือกพืชที่ต้องการแจ้งปรับปรุงข้อมูลเกษตรกร
ขั้นตอนที่ห้า กรอกข้อมูลส่วนตัวต่างๆบน แอพลิเคชั่น Farmbook ที่มีอยู่ให้ครบถ้วน
ขั้นตอนที่หก กดบันทึก
เพียงเท่านี้การปรับปรุงข้อมูลของตนเองก็เสร็จสิ้น และทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะนำข้อมูลไปประมวลผล เพื่อจ่ายเงินเยียวยา 15,000 บาทต่อไป
Advertisement