ครม.เห็นชอบลดหย่อนการออกเงินสมทบของนายจ้างและผู้ประกันตน มาตรา 33 ประหยัดเฉลี่ย 1,022 บาท ส่วนมาตรา 39 เฉลี่ย 1,008 บาท
วันนี้ (1 ก.ย.) ดร.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยผ่านเฟซบุ๊กว่า ครม.เห็นชอบร่างประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขให้ลดหย่อนการออกเงินสนทบของนายจ้าง และผู้ประกันตน กรณีการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยลดหย่อนการออกเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมฝ่ายนายจ้างและฝ่ายผู้ประกันตนตามมาตรา 33 เหลือฝ่ายละ ร้อยละ 2 ของค่าจ้างผู้ประกันตน และผู้ประกันตนตามมาตรา 39 ส่งเงินสมทบในอัตราเดือนละ 96 บาท (จากเดือนละ 432 บาท) เป็นระยะเวลา 3 เดือน ตั้งแต่งวดค่าจ้างเดือนกันยายน - พฤศจิกายน 2563
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
- มาตรา 33 เช็กเลย! ติดเงื่อนไขนี้ ประกันสังคมไม่จ่ายเยียวยา 15,000 บาท
- เคาะวันแล้ว! ข่าวดีมาตรา 33 เตรียมรับเงินเยียวยา 15,000 บาท 31 ส.ค.นี้
- ครม.ไฟเขียว เยียวยาผู้ประกันตน มาตรา 33 รับทีเดียว 15,000 บาท
- เช็กเลย! มาตรการช่วยเหลือผู้ประกันตน ประกันสังคมมาตรา 33, 39 และ 40
- มาตรา 33 เช็กเลย! ประกันสังคมแนะช่องทาง ขั้นตอน และวิธีการขึ้นทะเบียนกรณีว่างงาน
การลดหย่อนการจ่ายเงินสมทบครั้งนี้ จะเป็นการลดภาระให้แก่ผู้ประกันตน จำนวน 12.79 ล้านคน คิดเป็นเงิน 1.3 หมื่นล้านบาท และนายจ้าง 4.87 แสนราย คิดเป็นเงิน 1.1หมื่นล้านบาท ซึ่งคาดว่าจะเป็นเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจรวม 2.4 หมื่นล้านบาท และหากคิดเป็นจำนวนเงินที่จะประหยัดได้ของผู้ประกันตน มาตรา 33 เฉลี่ย 1,022 บาท และผู้ประกันตนมาตรา 39 เฉลี่ย 1,008 บาท
ซึ่งก่อนหน้านี้ กระทรวงแรงงานได้ออกประกาศลดหย่อนการจ่ายเงินสมทบมาแล้ว งวดเดือนมีนาคม - พฤษภาคม โดยให้นายจ้างส่งเงินสมทบในอัตรา ร้อยละ 4 ผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ส่งเงินสมทบในอัตราร้อยละ 1