หมอมานพ ยันวัคซีนทุกตัวประสิทธิภาพไม่เท่ากัน ยกเคสชีลีเปลี่ยนใช้ไฟเซอร์

28 มิ.ย. 64

28 มิ.ย. 64 หมอมานพ หรือ ศ.นพ.มานพ พิทักษ์ภากร หัวหน้าศูนย์วิจัยการแพทย์แม่นยำ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก มานพ พิทักษ์ภากร ระบุว่า ข้อมูลการใช้จริง (real world data) จากชิลีแสดงให้เห็นว่าวัคซีน Pfizer มีประสิทธิผล (vaccine effectiveness: VE) ดีกว่าวัคซีน Sinovac

ยืนยัน พบ โควิดสายพันธุ์เบตา (แอฟริกาใต้) ใน กทม. ⁣เป็นพ่อติดจากลูกชาย มาจาก จ.นราธิวาส 

สองวันก่อนมีการแถลงข่าวของ Ministerio de Salud (กระทรวงสาธารณสุข) ประเทศชิลี รายงานสถานการณ์ COVID ของประเทศซึ่งทำเป็นประจำ ในการแถลงข่าววันนั้น Dr. Rafael Araos รายงานผลการศึกษาประสิทธิผลของวัคซีน 2 ชนิดซึ่งใช้ในประเทศชิลี

หลายคนทราบดีว่าชิลีเป็นประเทศหนึ่งที่มี vaccination rollout เร็วมาก ในขณะนี้มีประชากรได้รับวัคซีนอย่างน้อยหนึ่งเข็มแล้วกว่า 12 ล้านคน (65.4% เป็นรองเพียงแคนาดา) และได้รับวัคซีนครบสองเข็มแล้วกว่า 10.2 ล้านคน ในช่วง 1-2 เดือนก่อน มีการระบาดหนักของ COVID แม้จะมีการปูพรมวัคซีนไปมากถึง 40% ของประชากรจนทำให้ประเทศต้องประกาศ lockdown ใหม่ ในช่วงแรกชิลีใช้วัคซีน Sinovac เป็นหลัก และมีข้อมูลประสิทธิผลการป้องกันการเจ็บป่วยจาก COVID ราว ๆ 67% หลังจากนั้นชิลีได้จัดหาวัคซีนจาก Pfizer เข้ามาใช้เพิ่มเติม จนถึงวันที่รายงาน มีการฉีดวัคซีนของ Pfizer ไปแล้วราว ๆ 5 ล้าน doses

เมื่อวิเคราะห์ประสิทธิผลของวัคซีน 2 ชนิดเปรียบเทียบกัน ในผู้ที่ได้รับวัคซีนครบ 2 เข็มแล้วอย่างน้อย 14 วัน ในด้านการป้องกันการเจ็บป่วย (หรือการติดเชื้อแบบมีอาการ : symptomatic infection / covid sintomático), การป่วยปานกลางต้องนอน รพ (hospitalization / hospitalización), การเข้า ICU (UCI) และการเสียชีวิต (death / muerte)

พบว่า Pfizer vaccine มีประสิทธิผลสูงกว่า Sinovac vaccine ในทุกด้าน ทั้งการป้องกันการป่วย (90.9% vs 63.6%), ป่วยปานกลาง (97.1% vs 87.3%), ป่วยหนักเข้า ICU (98.4% vs 90%) และเสียชีวิต (91.8% vs 86.4%)

อย่างที่เคยบอกในโพสต์ก่อนหน้านี้ว่า การศึกษาเพื่อเปรียบเทียบวัคซีน Pfizer vs Sinovac ทำได้ยากมาก เพราะมีไม่กี่ประเทศที่ใช้วัคซีนทั้งสองชนิดเป็นวงกว้าง และชิลีเป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศนั้น ถือเป็นครั้งแรกที่มี head to head study ทางคลินิกระหว่างวัคซีน 2 ชนิด หลังจากฮ่องกงทำการศึกษาเปรียบเทียบระดับ antibody ไปก่อนหน้านี้ (อ่านเพิ่มที่นี่ https://www.facebook.com/manopsi/posts/10161048398908448)
จากข้อมูลทั้งหมดที่ผ่านมา ทั้งการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลมิติต่าง ๆ ตั้งแต่ข้อมูล phase 1/2/3, การวัด antibody, การดูข้อมูลการใช้จริงในแต่ละประเทศของวัคซีนทุกชนิดในท้องตลาด สรุปได้ว่า

1. วัคซีนทุกชนิดมีประสิทธิภาพดีมากในการป้องกันไม่ให้เราป่วยหนักหรือเสียชีวิต ดังนั้น ‼️ใครได้ฉีดวัคซีน ฉีดไปเลยครับ ไม่ต้องรอ วัคซีนช่วยจริง ๆ‼️

2. ประสิทธิภาพดีมาก ไม่ได้แปลว่ากันได้ 100% เราเห็นแล้วจากการใช้จริงในประเทศต่าง ๆ

3. ผลดีของวัคซีนมีหลายระดับ ตั้งแต่กันติด, กันป่วย, กันป่วยหนัก, กันตาย วัคซีนทุกตัวป้องกันไม่ให้เราป่วยหนักและตายได้ดีมาก แต่ผลที่ดีที่สุดของวัคซีนที่เราอยากได้มากที่สุดคือ กันติด (เพราะถ้าเราไม่ติด เราก็จะไม่ป่วย ไม่ป่วยหนัก ไม่เสียชีวิตจากโรค) และมีวัคซีนเพียงบางตัวที่ทำได้

4. วัคซีนทุกตัว "ไม่ได้มีประสิทธิภาพเท่ากัน" ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์แสดงให้เห็นซ้ำแล้วซ้ำเล่าในทุกประเทศที่ใช้ เรามีวัคซีนที่ประสิทธิภาพสูงกว่า และประสิทธิภาพที่ด้อยกว่า ต้องยอมรับความจริงได้แล้วครับ

สนใจอ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่ (ภาษาสเปน สามารถใช้ Google translate ได้) https://www.minsal.cl/las-vacunas-sinovac-y-pfizer-biontech-muestran-en-chile-un-90-y-98-de-efectividad-para-prevenir-el-ingreso-a-uci-respectivamente/

หมอธนะพันธ์ ชี้ใส่ หน้ากากผ้า ไม่ปลอดภัย แนะรัฐจัดหาหน้ากากอนามัยให้ปชช. 

หมอนิธิพัฒน์ เชื่อ โควิดสายพันธุ์เดลตา แพร่ใน กทม. แล้ว หลังพบผู้ป่วยปอดอักเสบเร็วและรุนแรง 

advertisement

คุณอาจสนใจข่าวนี้

ข่าวยอดนิยม

ข่าวที่ได้รับความสนใจ