ยากแค่ไหนเมื่อต้องบินไปถ่ายหนังในอวกาศ เรื่องแรกของโลก!รู้ก่อนไปชม “The Challenge” ท้าทายมฤตยู ฝ่าวิกฤติ กู้อวกาศในโรงเครือ เอส เอฟ 15 ก.พ.นี้
เทศกาล “วันภาพยนตร์มอสโกในประเทศไทย” (Moscow Film Days in Thailand) เปิดตัวไปแล้วเมื่อเร็วๆ นี้ ซึ่งจัดโดย กรมวัฒนธรรมประจำรัฐบาลกรุงมอสโก, สำนักงานอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ประจำ กรุงมอสโก, สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ประจำประเทศไทย และดำเนินการโดยหน่วยงาน JMCC ระหว่างประเทศ โดยฉายภาพยนตร์เรื่อง “เดอะ ชาเลนจ์” (The Challenge) ท้าทายมฤตยู ฝ่าวิกฤติ กู้อวกาศ ซึ่งถือเป็นหนังเรื่องแรกที่ถ่ายทำในอวกาศ ให้สื่อมวลชนได้ชม จนเป็นที่ฮือฮา และกล่าวถึงในสื่อทุกแขนง ทำเอาคอหนังที่ชื่นชอบแนวอวกาศแทบจะอดใจรอชมไม่ไหว ที่จะได้ชมความสมจริง หลังจากที่เคยชมแต่หนังถ่ายในสตูดิโอ และใช้ CG เข้าช่วย และแล้วก็สิ้นสุดการรอคอย เมื่อเครือ SF พร้อมส่งภาพยนตร์ “เดอะ ชาเลนจ์” ลงจอในโรงภาพยนตร์ในเครือทั่วประเทศ ให้ชมพร้อมกัน ตั้งแต่ 15 กุมภาพันธ์นี้ เป็นต้นไป
เดอะ ชาเลนจ์ ท้าทายมฤตยู (The Challenge) เป็นภาพยนตร์เรื่องแรกที่ถ่ายทำบนสถานีอวกาศนานาชาติ (ISS) ซึ่งอยู่เหนือพื้นผิวโลก 400 กิโลเมตร ผู้กำกับ คลิม ชิเพนโก (Klim Shipenko) และนักแสดงหญิง ยูเลีย พีรีซิลด์ (Yulia Peresild) ใช้เวลา 12 วันบนสถานีอวกาศนานาชาติดังกล่าวในปลายพ.ศ. 2564 และกลายเป็นทีมงานภาพยนตร์มืออาชีพกลุ่มแรกของโลกที่ถ่ายทำในอวกาศ
กับเรื่องราวของ ศัลยแพทย์ทรวงอก เยฟกีเนีย บีเลเยวา มีเวลาหนึ่งเดือนในการเตรียมตัวเดินทางสู่สถานีอวกาศนานาชาติ เพื่อทำการผ่าตัดให้กับนักบินอวกาศ เธอจะพร้อมสำหรับความท้าทายครั้งนี้หรือไม่ จะเอาชนะความกลัวและความไม่มั่นใจของตัวเองได้หรือเปล่า เธอจะทำการผ่าตัดที่ซับซ้อนในสภาวะไร้แรงโน้มถ่วงได้สำเร็จ ให้นักบินอวกาศได้กลับสู่โลกโดยยังมีชีวิตอยู่หรือไม่ ติดตามเรื่องราวครั้งนี้ได้ใน “เดอะ ชาเลนจ์” ท้าทายมฤตยู ฝ่าวิกฤติ กู้อวกาศ
เมื่อปลายปีที่ผ่านมา “เดอะ ชาเลนจ์” ท้าทายมฤตยู ฝ่าวิกฤติ กู้อวกาศ ได้เข้าฉายในตะวันออกกลาง และหลายประเทศแถบบอลข่านมาแล้ว และประสบความสำเร็จจนเป็นที่จับตามอง โดยติดอันดับภาพยนตร์ 50 เรื่องที่ทำรายได้สูงสุดทั่วโลก ในปี 2023 นั่นอาจเป็นเพราะ นอกจากพล็อตเรื่องที่น่าสนใจแล้ว ผู้คนยังอยากไปชมความสมจริงของหนัง ที่บินไปถ่ายทำจริงบนอวกาศ เหนือพื้นผิวโลกถึง 400 กิโลเมตร แน่นอนว่า ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย...ยากแค่ไหน ต้องเตรียมตัวอย่างไร ไปฟังกันก่อนออกเดินทาง ยูเลีย พีรีซิลด์ (Yulia Peresild) และคลิม ชิเพนโก (Klim Shipenko) ได้รับการฝึกฝนเตรียมความพร้อมนานกว่าสี่เดือน อาทิ ออกกำลังกายแบบสภาวะพร่องออกซิเจน (oxygen starvation) ใช้อุปกรณ์สำหรับฝึกแบบ “กลับหัว” (orthostole: เพื่อให้เลือดไหลไปที่ศีรษะและเป็นการจำลองสถานการณ์ในสภาวะไร้น้ำหนัก) การใช้เก้าอี้ขนถ่าย (อบรมอุปกรณ์ขนถ่ายโดยการหมุน)
ยูเลีย พีรีซิลด์ (Yulia Peresild) นักแสดงนำหญิง เล่าว่า “ตอนนี้ฉันรู้สึกว่าการบินและการอยู่บนสถานีอวกาศนานาชาติดูเหมือนเป็นความฝันที่สมบูรณ์แบบ แต่ฉันเข้าใจดีว่ามันคือความจริง ชีวิตบนสถานีอวกาศนานาชาตินั้นแปลกใหม่ เหนือความคาดหมาย และท้าทาย มีหลากหลายอารมณ์ที่ต้องจัดการ”
พโยตระ ดูบอฟ (Pyotr Dobov) นักบินอวกาศเผยว่า “ในตอนแรกพวกเรากังวลกลัวการถ่ายภาพยนตร์บนสถานีอวกาศนานาชาติ สถานีนี้เป็นห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ และไม่เคยได้รับการออกแบบมาเพื่อการนี้มาก่อน พวกเราได้เตรียมการอย่างยอดเยี่ยมให้สมกับความคาดหวังของทีมงานภาพยนตร์ จึงส่งผลให้ทุกอย่างถูกจัดวางในลักษณะที่ไม่มีอะไรมารบกวนการทำงานของพวกเรา”
ขณะที่ อาเลียก นาวิทสกี้ (Oleg Novitskiy) นักบินอวกาศ วีรบุรุษแห่งสหพันธรัฐรัสเซียเล่าว่า “พวกเราทำงานกันเป็นทีมบนสถานีอวกาศนานาชาติ ด้วยทักษะ และประสบการณ์ของคลิมและยูเลีย พวกเราจึงได้ผลลัพธ์ที่ยอดเยี่ยม เป็นที่รู้กันอยู่แล้วว่านักบินอวกาศไม่ใช่นักแสดงมืออาชีพ จึงเป็นเรื่องที่ยากมากที่จะแสดงอารมณ์ในแบบที่คลิมขอให้พวกเราทำ และยูเลียสามารถทำสิ่งเหล่านั้นได้อย่างไร แต่เพราะประสบการณ์ของพวกเขาช่วยพวกเราได้จริงๆ”
ด้าน อเลกซี ดูดิน ช่างภาพ เล่าถึงความท้าทาย ในการถ่ายทำภาพยนตร์ในอวกาศเรื่องนี้ว่า มีการเตรียมความพร้อมเป็นเวลา 3 เดือน ก่อนจะขึ้นไปถ่ายทำจริงบนสถานีอวกาศนานาชาติ “จากปกติที่ต้องใช้เวลาเตรียมตัวประมาณ 9 เดือน การที่ใช้เวลาเตรียมตัวน้อยลงน่าช่วยจะกระตุ้นให้คนอยากทำงานเกี่ยวกับอวกาศมากขึ้น แม้จะไม่ได้เรียนมาด้านนี้โดยตรง ด้วยข้อจำกัดของพื้นที่ทำให้ทีมงานและนักแสดงขึ้นไปไม่ได้มาก ทำให้แต่ละคนต้องทำหลายหน้าที่ในคนเดียวกัน เช่น นักแสดงนำจะรับหน้าที่ช่างแต่งหน้า ช่างทำผม รวมถึงคอสตูมในคนเดียว นอกเวลาถ่ายทำแล้วทุกคนยังต้องทำหน้าที่เป็นนักบินอวกาศได้ด้วย แน่นอนว่าการถ่ายทำในอวกาศ ไม่สามารถยกกล้องและอุปกรณ์ต่างๆ ขึ้นไปได้หมด ดังนั้น กล้องที่ใช้ในการถ่ายทำจึงมีการออกแบบใหม่หมดให้เหลือแค่ตัวเดียวเพื่อให้ถ่ายทำได้จบในคนๆ เดียว เน้นน้ำหนักเบา ถือสะดวก ซึ่งก่อนจะนำขึ้นไปถ่ายทำจริงก็มีการนำกล้องมาทดสอบใช้งานในสภาพจำลองสภาะไร้แรงดึงดูดของสถานีอวกาศนานาชาติ”
ปิดท้ายที่ผู้กำกับ คลิม ชิเพนโก (Klim Shipenko) กล่าวว่า “การค้นพบครั้งใหญ่ที่สุดที่ผมเจอระหว่างการถ่ายทำ คือ ความช่วยเหลือจากทีมงานเพียง 5 คน ทำให้พวกเราสามารถสร้างภาพยนตร์ในอวกาศได้ และแน่นอนว่า ก่อนที่จะบินไปในอวกาศ พวกเราผ่านการฝึกอบรมร่วมกับผู้เชี่ยวชาญหลายท่าน แต่ที่บนสถานีอวกาศนานาชาติ มีเพียงพวกเรา 5 คนเท่านั้น ที่เกี่ยวข้องกับการถ่ายทำ ‘เดอะ ชาเลนจ์ ท้าทายมฤตยู ฝ่าวิกฤติ กู้อวกาศ’ (The Challenge)”
ได้ฟังเรื่องราวสุดหิน ก่อนจะได้ชมกันแบบนี้แล้ว ต้องห้ามพลาด “เดอะ ชาเลนจ์” (The Challenge) ท้าทายมฤตยู ฝ่าวิกฤติ กู้อวกาศ รับชมได้ในโรงภาพยนตร์เครือ เอสเอฟ ทั่วประเทศ ตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์นี้ เป็นต้นไป
ทั้งนี้ผู้ชมชาวไทยจะมีโอกาสชมภาพยนตร์ช่วงเทศกาล “วันภาพยนตร์ มอสโกในประเทศไทย” ด้วยสุดยอดภาพยนตร์ที่คัดสรรแนวแอคชั่น ดราม่า ไซไฟ จำนวน 5 เรื่อง ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ถึง เมษายน 2567 ที่โรงภาพยนตร์เครือ เอส เอฟ ทั่วประเทศ โดยวันที่ 15 กุมภาพันธ์นี้ โดย “เดอะ ชาเลนจ์” (The Challenge) ท้าทายมฤตยู ฝ่าวิกฤติ กู้อวกาศ เป็นเรื่องแรก
สำหรับผู้ที่สนใจสามารถตรวจสอบรอบฉายและซื้อบัตรชมภาพยนตร์ล่วงหน้าได้ผ่านแอปพลิเคชั่น SF Cinema และ www.sfcinema.com พร้อมทั้งสามารถติดตามข่าวสารและสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมผ่านโซเชียลมีเดีย SF cinema หรือ #SFcinema
Advertisement