ประวัติ "หลวงปู่แสง ญาณวโร" พระเกจิดังอีสาน ศิษย์หลวงปู่มั่น วัดป่าดงสว่างธรรม จังหวัดยโสธร ละสังขารแล้วอย่างสงบ สิริอายุ 99 ปี 75 พรรษา
วันที่ 19 มิ.ย.2566 เพจเฟซบุ๊ก "หลวงปู่แสง ญาณวโร" โพสต์ข้อความระบุว่า วันจันทร์ที่ 19 มิถุนายน 2566 เวลา 19.13 น. น้อมส่งพ่อแม่ครูบาอาจารย์ สู่แดนนิพพานละธาตุ วางขันธ์ ตามกฎธรรมชาติ ทั้งนี้ได้มีลูกศิษย์โพสต์แสดงความอาลัยเป็นจำนวนมาก
ข้อมูลจากเว็บไซต์ 108prageji เปิดเผยว่า “หลวงปู่แสง จันดะโชโต (ญาณวโร)” วัดป่าดงสว่างธรรม บ้านดงสว่าง ตำบลโคกนาโก อำเภอป่าติ้ว จังหวัดยโสธร
หลังอุปสมบท หลวงปู่แสง ได้จำพรรษา วิเวกธุดงค์ทั้งในประเทศไทย ลาว และพม่า โดยได้ศึกษาหลักธรรมกับหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ที่วัดป่าบ้านหนองผือ ตำบลนาใน อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร (ช่วงบั้นปลายของท่านอาจารย์มั่นที่อยู่บ้านหนองผือ) และได้วิเวกธุดงค์และไปมาหาสู่กับพระเกจิดังอีกหลายรูป ดังนี้
หลายคนคงคุ้นเคยกับฉายา "หลวงปู่แสง ญาณวโร" แต่แท้จริงท่ามีฉายาว่า"จันดะโชโต" โดยท่านได้เล่าให้ลูกศิษย์ฟังว่า สมัยหนุ่มๆ ได้เดินทางไปธุดงค์ที่ จ.ดอุดรธานี เพื่อที่จะไปปักกลดที่วัดร้างแห่งหนึ่ง ทางที่จะไปนั้นต้องนั่งเรือข้ามห้วยชื่อว่า “ห้วยหลวง” ขณะที่กำลังนั่งเรืออยู่นั้น เรือได้เกิดพลิกคว่ำ ทำให้บาตรของหลวงปู่ได้หล่นน้ำ ซึ่งในบาตรนั้นได้มีสูจิบัตรพระอยู่ด้วย ทำให้สูจิบัตรของหลวงปู่แสงได้ลอยหายไปกับกระแสน้ำ
หลังจากนั้นหลวงปู่ได้ไปทำสูจิบัตรพระใหม่ ซึ่งท่านมาเห็นในภายหลังว่า เจ้าหน้าที่พิมพ์ฉายาให้ท่านผิดไปเป็นฉายา “ญาณวโร” โดยแท้จริงแล้วหลวงปู่ท่านได้ใช้ฉายา “จันดะโชโต” มาตั้งแต่ต้น จึงทำให้หลวงปู่ได้ใช้ฉายา “ญาณวโร” ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาเป็นเวลาหลายปี
จนกระทั่งปี 2557 หลวงปู่ท่านได้มอบหมายให้พระครูสุทธิพรหมคุณ (สุทธิพงศ์ ชนุตตโม) เจ้าอาวาสวัดป่าวังเลิง เจ้าคณะจังหวัดมหาสารคาม ให้ดำเนินการ ในการเปลี่ยนฉายาของหลวงปู่กลับมาเหมือนเดิม จาก “ญาณวโร” เป็น “จันดะโชโต” ซึ่งเป็นฉายาที่แท้จริงของหลวงปู่ และหลวงปู่ยังได้กล่าวอีกว่า “จันดะโชโต” มีความหมายว่า “ผู้ที่รุ่งเรือง” หลวงปู่ท่านเคยจำพรรษาที่วัดป่าวังเลิง จังหวัดมหาสารคาม เมื่อปี 2532 – 2533
“ได้เกิดมาอัตภาพนี้ บ่บ้าใบ้เสียจริตผิดมนุษย์ ให้ตั้งใจทำความดี ให้เป็นหน้าเป็นตาพ่อแม่ สมกับที่ร่างกายนี้พ่อแม่ให้มา ให้คนเขาได้ย่อง ว่าลูกพ่อนั่นแม่นี่”
“เห็นบ่ว่ามันทุกข์ส่ำได๋ เกิดมามันทุกข์ อย่าสุอยากพากันมาเกิดหลาย”
“พากันคิดบ่จะตายมื้อได๋ มัวหลงโลกอยู่เด้อ ให้รีบสร้างความดีเข้า จะได้เป็นที่พึ่งได้ จนที่สุดบ่ต้องมาเกิดอีก”
“เขาว่าให้เฮา เฮาบ่ไปรับเอา แนวบ่ดีมันกะตกอยู่นำผู้นั้น เฮากะฮู้อุเบกขาอยู่ วางเฉยบ่ยินดีนำเขาว่า รู้แล้วกะวาง บ่หลงไปนำคำคน ไผเฮ็ดแนวได๋กะได้แนวนั้น ความดีความชั่วโตเฮาทำเอง บ่มีไผมาให้ดีให้ชั่วเฮาได้ เฮาสิดีกะย่อนเฮาทำดี เฮาสิชั่วกะย่อนเฮาทำชั่ว บ่มีไผมาเฮ็ดดี เฮ็ดชั่ว ให้เฮาได้ สรรเสริญ นินทามันเป็นธรรมประจำโลก อย่าไปหลงนำมัน คั่นไปหลงนำมัน มันกะเดือดร้อน ไปรับเอาฟืนเอาไฟมาเผาใจเจ้าของ เป็นเดือดเป็นร้อนขึ้นมา ฮู้จักอุเบกขา วางเฉย ใจมันกะร่มเย็น”
“ให้เอาชนะกิเลสตัวเอง อย่าไปเอาชนะกิเลสคนอื่น ชนะกิเลสในใจตนได้แล้ว ขี้นชื่อว่าชนะทุกสิ่งในโลกนี้ กิเลสอยู่ขอบฟ้ามหาสมุทรไหนก็ชนะทั้งหมด ถ้าเราชนะตัวเราแล้ว”
“มีแต่คนแตกกันซวดๆพากันมาเกิดมาตายหลายโพด คนทุกคนที่มานี่มีจิตมีใจกันเบิดทุกคนเด้อ ผู้หญิงก็มีใจ ผู้ชายก็มีใจ คนเฒ่าคนแก่ก็มีใจ พระเณรก็มีใจ อันได๋ๆกะว่าลงอยู่ใจนี่เด้อ ดีชั่วกะอยู่ใจเด้อ สะอาดกะอยู่ใจนี่ สกปรกกะอยู่ใจนี่ ถ้าใจมันสกปรกกะให้ชำระซักฟอกมันออก ให้มันสะอาดขึ้นมา เอาธรรมะเป็นเครื่องชำระซักฟอก ให้มีศีล ให้มีสมาธิ ให้มันเกิดสติ ให้มีปัญญากำกับรักษาใจ ให้มีสติปัญญากำกับรักษาใจไปตลอด เฮ็ดขึ้นทำขึ้นภายในใจเจ้าของ ใจนี่พาเกิดพาตายมานนานแล้ว”
Advertisement