19 ก.ย. 66 วันคเณศจตุรถี ฤกษ์ดีบูชาองค์พระพิฆเนศ เปิด 16 วิธีบูชาให้ได้สมดั่งใจ รายการสิ่งของเครื่องไหว้ และพิกัดไหว้องค์พระพิฆเนศ
องค์พระพิฆเนศ หรือ พระพิฆเนศวร นั้นเป็นเทพของชาวฮินดู ที่อยู่คู่กับชาวไทยมาช้านาน โดยเชื่อกันว่า พระพิฆเนศเป็นเทพแห่งการเริ่มต้น อุปสรรคและความสำเร็จ จะช่วยขจัดปัดเป่าอุปสรรคทั้งปวง ที่จะเกิดขึ้นให้หายสิ้นไป ช่วยให้ประสบความสำเร็จ สุขสมหวังดั่งปรารถนา ดังจะเห็นได้จากการประกอบพิธีกรรมต่างๆ ทางพราหมณ์-ฮินดู จะมีการอัญเชิญบูชาพระพิฆเนศก่อน เพื่อขจัดปัดเป่าอุปสรรคสิ่งเลวร้ายที่จะเกิดขึ้นให้หมดไป นำมาแต่ความสำเร็จความเป็นสิริมงคลให้แก่พิธีและผู้ร่วมพิธี
เชื่อว่าเป็นวันที่ องค์พระพิฆเนศจะเสด็จลงมายังโลกมนุษย์เพื่อประทานพรให้แก่ผู้ศรัทธาพระองค์ โดยเทศกาลนี้ถือเป็นการเฉลิมฉลองให้กังองค์พระพิฆเนศ ซึ่งชาวฮินดูเชื่อกันว่าเป็นเทพเจ้าแห่งการเริ่มต้นใหม่ และการขจัดอุปสรรค รวมทั้งเป็นเทพเจ้าแห่งปัญญา และความฉลาดเฉลียว ชาวฮินดูที่เคารพเลื่อมใสในองค์พระพิฆเนศจึงทำการบูชาเพื่อเฉลิมฉลองการกลับมาของพระองค์ในวันคเณศจุตรถีนี้ ในบ้านหรือที่เทวาลัย 3 วัน,5 วัน, 7 วัน, 9 วัน ตามสะดวก ในปัจจุบันนี้นิยมทำกัน 3 วัน,7 วัน, หากพิธีใหญ่ 10 วัน
โดยปกติพิธีนี้ในอินเดีย จะมีการสร้างเทวรูปขึ้นจากดิน ปั้นขึ้นมาเป็นองค์เพื่อใช้ในการบูชาในช่วงเทศกาลคเณศจตุรถีนี้ เมื่อเสร็จพิธีจะนำไปลอยน้ำ
1.โต๊ะเล็กๆ หรือ อาสนะ อาจจะเป็นผ้าปู ก็ได้นิยมสีแดง/ส้ม เพราะเป็นสีแห่งพลังงาน และเป็นสีที่พระคเณศทรงโปรดจัดสถานที่บูชาเป็นพิเศษหรือหน้าหิ้งบูชา ปูอาสนะบนโต๊ะเสมือนหนึ่งที่ประทับรับรอง เวลาท่านเสด็จลงมา
2.น้ำเปล่า ใส่ถ้วยพร้อมช้อนสะอาด สำหรับตักถวายเทวรูปในขั้นตอนต่างๆ
3.น้ำปัญจมรัตน์ (นม โยเกิร์ต เนย น้ำผึ้ง น้ำตาลทราย หรือน้ำอ้อย)
4.ผ้า ใช้สำหรับเช็ดน้ำสะอาดหรือสำหรับล้างเทวรูป
5.ผ้าสำหรับแต่งเทวรูป ถ้าไม่มีอาจใช้ด้ายฝ้ายสีแดงหรือย้อมสี ฉีกเป็นเส้น พอดีกับเทวรูป สำหรับคล้องแทนผ้าต่างๆ
6.ผงสำหรับจุ่มเจิม
7.น้ำหอมสำหรับประพรมเทวรูป
8.เครื่องประดับเซ่น เช่น สร้อย กำไล ถ้าไม่มีถวายอาจใช้เหรียญเงิน เหรียญทอง หรือข้าวสารแทนของมีค่า
9.ดอกไม้ มาลัย โดยเฉพาะ “ดอกชบา”
10.ธูป หรือ กำยาน
11.ดวงประทีป หรือ เทียน
12.ผลไม้ตามฤดูกาล เครื่องดื่ม อาหาร สำหรับถวาย
13.ขนมหวาน ลาดู โมทกะ
14.หมาก พลู หญ้าแพรก
15.หนูมุสิกกะ 1 คู่
1.พิธีอาวหนะ กล่าวอัญเชิญพระพิฆเนศด้วยบท “โอม ศรี คเณศายะ นะมะหะ ข้าพเจ้าขอเชิญพระองค์ประทับยังแท่นที่เตรียมไว้”
2.พิธีอาสนะ อัญเชิญเทวรูปประดิษฐ์ยังผ้า,แท่นที่เตรียมไว้ แล้วนำดอกไม้ ข้าวสารโปรยที่แท่น
3.พิธีปัธยะ (ถวายน้ำล้างพระบาท) ตั้งจิตอธิษฐานด้วยบท “โอม ศรี คเณศายะ นะมะหะ ข้าพเจ้าขอถวายน้ำล้างพระบาทต่อพระองค์” จากนั้นตักน้ำวนที่พระบาทของเทวรูป 3 ครั้ง เทลงที่พระบาทหรือเบื้องหน้าเทวรูป
4.พิธีอะระยะ (ถวายน้ำล้างพระหัตถ์) ตั้งจิตอธิษฐานด้วยบท “โอม ศรี คเณศายะ นะมะหะ ข้าพเจ้าขอถวายน้ำล้างพระหัตถ์ต่อพระองค์” จากนั้นตักน้ำวนที่พระหัตถ์ของเทวรูป 3 ครั้ง เทลงที่พระหัตถ์หรือเบื้องหน้าเทวรูป
5.พิธีอาจะมันยะ (ถวายน้ำชำระพระโอษฐ์) ตั้งจิตอธิษฐานด้วยบท “โอม ศรี คเณศายะ นะมะหะ ข้าพเจ้าขอถวายน้ำชำระล้างพระโอษฐ์ต่อพระองค์” จากนั้นตักน้ำวนที่พระโอษฐ์ของเทวรูป 3 ครั้ง เทลงที่พระโอษฐ์หรือเบื้องหน้าเทวรูป
6.พิธีสะนานิยัมอภิเษกกัม (ถวายน้ำสรงสนาน) ตั้งจิตอธิษฐานด้วยบท “โอม ศรี คเณศายะ นะมะหะ ข้าพเจ้าขอถวายน้ำสรงสนานต่อพระองค์” ถวายน้ำสะอาด,น้ำนมหรือน้ำปัญจมรัตน์ จากทรงเสร็จแล้วจึงล้างด้วยน้ำสะอาด เช็ดเทวรูปให้สะอาดแล้วจึงนำขึ้นกลับแท่นพิธี
7.พิธีวัตระ (ถวายผ้าทรง) ตั้งจิตอธิษฐานด้วยบท “โอม ศรี คเณศายะ นะมะหะ ข้าพเจ้าขอถวายผ้า เครื่องนุ่งห่มต่อพระองค์” จากนั้นนำเครื่องนุ่มห่มที่เตรียมไว้ถวาย จะจัดตกแต่งนุ่ง คลุมหรือถวายเบื้องหน้าก็ได้
8.พิธีอาภะระนะ (ถวายเครื่องหอม แป้งและผงเจิม) ตั้งจิตอธิษฐานด้วยบท “โอม ศรี คเณศายะ นะมะหะ ข้าพเจ้าขอถวายเครื่องหอมต่อพระองค์” จากนั้นนำเครื่องหอม แป้ง ผงเจิม ประทิน-ประพรมที่เทวรูป
9.พิธีอาภะระนะ (ถวายเครื่องประดับ) ตั้งจิตอธิษฐานด้วยบท “โอม ศรี คเณศายะ นะมะหะ ข้าพเจ้าขอถวายเครื่องประดับต่อพระองค์” นำเครื่องประดับต่างๆที่เตรียมไว้ จัดแต่ง สวมใส่ถวายต่อเทวรูป หรือวางไว้เบื้องหน้าเทวรูปก็ได้
10.พิธีปุษปะมาลา (ถวายดอกไม้และมาลัย) ตั้งจิตอธิษฐานด้วยบท “โอม ศรี คเณศายะ นะมะหะ ข้าพเจ้าขอถวายดอกไม้ มาลัยเหล่านี้ต่อพระองค์” นำดอกไม้ มาลัยที่จัดเตรียมไว้คล้องถวาย หรือ หรือวางไว้เบื้องหน้าเทวรูปก็ได้
11.พิธีธูปะ (ถวายธูปหอมและกำยาน) ตั้งจิตอธิษฐานด้วยบท “โอม ศรี คเณศายะ นะมะหะ ข้าพเจ้าขอถวายธูปหอมและกำยานนี้ต่อพระองค์” จุดธูปหอมและกำยานวนถวายเบื้องหน้าเทวรูป
12.พิธีดีปัม (ถวายดวงประทีป) ตั้งจิตอธิษฐานด้วยบท “โอม ศรี คเณศายะ นะมะหะ ข้าพเจ้าขอถวายแสงดวงประทีปนี้ต่อพระองค์) จุดเทียนวนถวายเบื้องหน้าเทวรูป
13.พิธีไนเวดยัม (ถวายเครื่องบริโภค ขนมหวาน ผลไม้) ตั้งจิตอธิษฐานด้วยบท “โอม ศรี คเณศายะ นะมะหะ ข้าพเจ้าขอนน้อมถวายผลไม้ตามฤดูกาลนี้ พร้อมขนมหวานต่างๆ และเครื่องดื่มบริโภคทั้งหลายนี้ต่อพระองค์”
จากนั้นนำผลไม้ต่างๆ ที่จัดเตรียมไว้ถวายต่อเทวรูป ถ้ามีเยอะมากหลายถาด ให้นำน้ำตักใส่ช้อนวนที่ผลไม้ ขนมหวานต่างๆ แล้วเทน้ำลงเบื้องหน้าเทวรูป
14.พิธีตัมปูรัม (ถวายหมาก พลู หญ้าแพรก) ) ตั้งจิตอธิษฐานด้วยบท “โอม ศรี คเณศายะ นะมะหะ ข้าพเจ้าขอนน้อมถวายถวายหมาก พลู หญ้าแพรกต่อพระองค์” จากนั้นนำหมาก พลู หญ้าแพรกที่เตรียมไว้ ขึ้นถวาย
15.พิธีสโตรตรัมปูชา (ถวายบทบูชาสรรเสริญ) สวดบทบูชาสรรเสริญต่างๆ เช่น
“โอม วักรตุนดะ มหากายา สุริยะโกฏิ สมะประภา นีระวิฆนัม กุรุเมเดวา สรวะกา เยรชุ สรวะดา”
16.พิธีอารตี สวดบูชาอารตี พร้อมวนไฟถวายต่อเทวรูป หากสวดไม่ได้อาจเปิด youtube ค้นหาว่า "ganpati aarti" หรือหากสวดไม่ได้อาจแค่วนไฟถวายพร้อมสวดบท "โอม ศรี คเณศายะ นะมะหะ"
ในวันสุดท้ายเมื่อทำบูชาเสร็จแล้ว จึงอัญเชิญเทวรูปกลับขึ้นหิ้งถือเป็นการสิ้นสุดการบูชาในช่วงเทศกาลคเณศจตุรถี แต่หากท่านใด ปั้นเทวรูปจากดินในการทำบูชาตั้งแต่วันแรกก็นำองค์ที่ปั้นจากดินที่เราบูชาเสร็จแล้วไปลอยน้ำ เพื่อเป็นการส่งเสด็จลอยน้ำในที่นี้ ลอยได้ทั้งแม่น้ำ คูน้ำ หนอง คลอง บึงหรือแม้แต่ อ่างใส่น้ำก็ได้เช่นกันในขั้นตอนนี้คือจะเรียกว่า พิรีวิสาชัน ส่งเสด็จท่านกลับสู่ คณปติโลก
“โอม ศรี คเณศายะ นะมะฮา”
ข้อมูลอ้างอิงจาก : พิพิธภัณฑ์พระพิฆเนศ,Wikipedia
Advertisement