ถอดบทเรียน เหตุยิงห้างฯดัง อาการคลุ้มคลั่งทางจิต โรคที่ไม่ไกลตัว
จากกรณี วันที่ 3 ตุลาคม 2566 เด็กชายวัย 14 ปี ได้ก่อเหตุที่ไม่มีใครคาดคิด ใช้อาวุธปืนยิงผู้คนภายในห้างสรรพสินค้าพารากอน โดยพล.ต.อ.ต่อศักดิ์ สุขวิมล ผบ.ตร. ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชน แจ้งว่า ผู้ก่อเหตุยังไม่สามารถให้การได้ เพียงแต่ทราบว่าผู้ก่อเหตุมีความรู้สึกว่าต้องยิง เพราะได้ยินเสียงคนจะเข้ามาทำร้าย โดยจากการตรวจสอบพบว่าผู้ก่อเหตุมีประวัติเข้ารับการรักษาทางจิตเวชที่โรงพยาบาลราชวิถี แต่พบว่าระยะหลังขาดการรักษา และไม่ได้รับยาตามที่แพทย์กำหนด นอกจากนี้ยังพบว่าผู้ก่อเหตุเป็นเด็กที่ผลการเรียนดี แต่ค่อนข้างเก็บตัว ชอบเล่นเกมแนวต่อสู้ใช้อาวุธ สำหรับอาวุธที่ใช้ก่อเหตุเป็น BB Gun ดัดแปลง ซึ่งซื้อผ่านช่องทางออนไลน์พร้อมกระสุน ในราคาหลักหมื่นบาท อย่างไรก็ตามภายในโทรศัพท์ตรวจพบคลิปซ้อมยิงปืนและการใช้ปืนเป็นจำนวนมาก
ขณะนี้ยังไม่ทราบแน่ชัดว่าผู้ก่อเหตุวัย 14 ปี ป่วยจิตเวชประเภทใด แต่จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นค่อนข้างแน่ชัดว่าผู้ก่อเหตุมีอาการจิตเภท ได้แก่ อาการคลุ้มคลั่งทางจิต ทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถควบคุมอารมณ์และพฤติกรรมได้ ซึ่งมักจะมีอาการได้ยินเสียงคนพูด ทั้ง ๆ ที่ไม่มีใครอยู่ใกล้ เห็นภาพแปลก ๆ หรือภาพหลอน มีอาการคลุ้มคลั่ง เกรี้ยวกราด ยิ้มหรือพูดพึมพำคนเดียว และทำร้ายคนใกลัตัว
อาการคลุ้มคลั่งทางจิต เป็นอาการป่วยทางจิตเวชชนิดหนึ่ง ส่งผลทำให้ผู้ป่วยมีความผิดปกติทางความคิด การรับรู้ที่ไม่ตรงกับความเป็นจริง ส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ซึ่งสังคมในวงกว้างไม่ให้การยอมรับและต่อต้านผู้ป่วย แต่ทั้งนี้โรคดังกล่าวสามารถบำบัดรักษาได้ เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยสามารถกลับมาใช้ชีวิตปกติในสังคม โดยต้องเริ่มต้นจากภายในครอบครัว
อาการป่วยทางจิตเวชทั่วไปเกิดจากสารเคมีสื่อประสาทในสมองถูกรบกวน โดยมีปัจจัยเสริมมาจากหลายสาเหตุ เช่น กรรมพันธุ์ ความกดดัน ความเครียด อุบัติเหตุทางสมอง การติดเชื้อ และจากสารเสพติด โดยเฉพาะสารเสพติดกับแอลกอฮอล์ ซึ่งมักจะเห็นตามหน้าข่าวอยู่บ่อย ๆ ที่ผู้ก่อเหตุมักจะเสพและดื่มแอลกอฮอล์ไปพร้อม ๆ กัน จนคลุ้มคลั่งก่อเหตุ
การทำงานที่ผิดปกติของสารเคมีในสมอง ทำให้ผู้ป่วยประสบปัญหาทางด้านอารมณ์และพฤติกรรม ส่งผลทำให้ผู้ป่วยมีความคิดและการรับรู้ที่ผิดเพี้ยน อาการส่วนใหญ่มักจะแสดงออก ได้แก่
อาการคลุ้มคลั่งทางจิตสามารถสังเกต เพื่อป้องกันตนเองและคนรอบข้างได้ โดยผู้ป่วยมักแสดงอาการ ดังนี้
อาการคลุ้มคลั่งทางจิตใช้วิธีการรักษาแบบเดียวกับการรักษาผู้ป่วยจิตเวช มีทั้งการใช้ยาและไม่ใช้ยา โดยการใช้ยาจะช่วยปรับสารเคมีในสมองที่เป็นผลต่อโรคให้มีความสมดุล ส่วนการรักษาโดยไม่ใช้ยาจะดูแลเกี่ยวกับความเครียดที่กระตุ้นให้เกิดโรค
ทั้งนี้ควรให้กำลังใจผู้ป่วย ไม่ควรมองผู้ป่วยว่าเป็นบุคคลอันตราย ไม่ควรแสดงอาการหวาดกลัวต่อผู้ป่วย หลีกเลี่ยงและไม่ควรพูดจาด้วยถ้อยคำรุนแรงกับผู้ป่วย เพราะจะยิ่งทำให้ผู้ป่วยมีอาการรุนแรงมากยิ่งขึ้น
Advertisement