ฮือฮา! กู้ภัยจับงูหายาก สีสันดูแปลกตาไม่ใช่งูหลามธรรมดา แต่เป็น “งูหลามปากเป็ด” ที่นานๆ ทีจะได้เจอสักตัว
1 ม.ค. 2566 ผู้ใช้เฟซบุ๊กชื่อ ชิติพัทธ์ ทองสัมฤทธิ์ เจ้าหน้าที่กู้ภัย มูลนิธิประชาร่วมใจ เทศบาลเมืองกระบี่ พสต์รูปภาพงูหลาม งูเหลือมแต่สีสันแปลกประหลาด รายละเอียดโพสต์ระบุว่ “นานๆได้เจอสักตัว งูหลามปากเป็ด หาดูยากที่เขาพนม” โดยเจ้าหน้าที่จับได้จากบ้านเรือนชาวบ้าน ก่อนนำปล่อยคืนสู่ธรรมชาติ
งูหลามปากเป็ด
งูหลามปากเป็ด (อังกฤษ: Blood python; ชื่อวิทยาศาสตร์: Python curtus) เป็นงูไม่มีพิษ มีลำตัวที่อ้วน หนา กว่างูหลามและงูเหลือม แต่มีหางที่สั้นแลดูไม่สมส่วน และมีลวดลายที่แปลกออกไป มีหลายหลากสี ทั้งน้ำตาล, แดง, เหลือง, ส้ม หรือ เขียว โดยงูแต่ละตัวจะมีสีสันและลวดลายต่างกันออกไป ขนาดโตเต็มที่ได้ประมาณ 1.50 เมตร จัดเป็นงูที่มีขนาดเล็กที่สุดในสกุลนี้
พบในประเทศไทยตั้งแต่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ลงไป ตลอดจนมาเลเซีย, สิงคโปร์จนถึงอินโดนีเซีย โดยสถานที่ค้นพบครั้งแรกอยู่ที่เกาะสุมาตรา เป็นงูที่ไม่ค่อยขึ้นต้นไม้ มักจะซุ่มรออาหารตามพื้นดินที่เฉอะแฉะใกล้แหล่งน้ำ ที่โดยมากเป็นสัตว์เลือดอุ่นขนาดเล็ก งูหลามปากเป็ดวางไข่ครั้งละประมาณ 30–50 ฟอง เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 นิยมเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยงของผู้ที่นิยมสัตว์เลื้อยคลานเพราะมีความสวยงาม
อาหาร :อาหารของงูหลามปากเป็ดคือหนู และนกน้ำ
พฤติกรรม : อาศัยตามริมน้ำ บางครั้งหมกตัวอยู่ในโคลนเพื่อรอจับเหยื่อ
สถานภาพปัจจุบัน : เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535
Advertisement