Logo site Amarintv 34HD
Logo LiveSearch
Search
Logo Live
Logo site Amarintv 34HD
ช่องทางติดตาม AMARINTV
  • facebook AMARIN TV 34 HD
  • x AMARIN TV 34 HD
  • line AMARIN TV 34 HD
  • youtube AMARIN TV 34 HD
  • instagram AMARIN TV 34 HD
  • tiktok AMARIN TV 34 HD
  • RSS Feed AMARIN TV 34 HD
หมอแนะ สายซอยจุ๊ แม้ไร้แอนแทรกซ์ แต่ก็เสี่ยงพยาธิ เป็นอัมพฤกษ์อัมพาต

หมอแนะ สายซอยจุ๊ แม้ไร้แอนแทรกซ์ แต่ก็เสี่ยงพยาธิ เป็นอัมพฤกษ์อัมพาต

14 มี.ค. 67
13:41 น.
|
780
แชร์

 

หมอแนะ สายซอยจุ๊ บริโภคเมนูเนื้อสัตว์ดิบ แม้ไร้แอนแทรกซ์ แต่เสี่ยงพยาธิชอนไช กลายเป็น อัมพฤกษ์ อัมพาต แนะควรทานสุกเท่านั้น 

วันที่ 14 มี.ค. 67 ที่ศูนย์สาธิตบริการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จ.ขอนแก่นพญ.จิราศักดิ์ ศศิธร รอง ผอ.สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น ได้ออกมาแนะนำ สำหรับผู้ที่ชื่นชอบรับประทานเมนูอาหารจากเนื้อสัตว์ดิบ โดยเฉพาะเมนูอาหารภาคอีสาน อย่าง ก้อยเนื้อดิบ ซอยจุ๊ 

ซึ่งทุกคนทราบดีว่า โรคระบาดในเนื้อวัวนั้นคือ แอนแทรกซ์ แต่ประเทศไทยได้รับการยืนยันว่าปลอดเชื้อ แอนแทรกซ์ ปัจจุบันไม่มีการแพร่ระบาดของเชื้อ หรือมีผู้ติดเชื้อ แอนแทรกซ์แต่อย่างใด 

โรคแอนแทรกซ์เป็นโรคติดต่อระหว่างสัตว์และคน เกิดจากเชื้อแบคที่เรียบาซิลลัสแอนทราชิส (Bacillusanthracis) สามารถเกิดโรคได้ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิด โดยเฉพาะในสัตว์เคี้ยวเอื้องที่กินหญ้าเป็นอาหาร การติดต่อในสัตว์สามารถติดต่อจากการกิน และเข้าทางบาดแผล การติดต่อในคนสามารถติดต่อจากการสัมผัสสัตว์ที่มีเชื้อทางผิวหนัง จากการรับประทานผลิตภัณฑ์สัตว์ที่ติดเชื้อ และทางการหายใจเอาสปอร์ของเชื้อเข้าไป 

พญ.จิราศักดิ์ ให้สัมภาษณ์ว่า เชื้อแอนแทรกซ์ในประเทศไทยนั้น ปัจจุบันยังมีการแพร่ระบาด หรือมีการติดเชื้อในประเทศไทยแต่อย่างใด แต่จะมีในประเทศเพื่อนบ้านติดการที่แขวงจำปาสัก 3 ราย โดยเชื้อแอนแทรกซ์นั้นจะสามารถติดต่อจากสัตว์สู่คนได้ 3 ช่องทางทั้งทางการสัมผัส จากการติดเชื้อในระบบทางเดินอาหาร และจากการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ โดยการติดเชื้อทางการสัมผัสนั้นจะมีตุ่มแดงที่ผิวหนังกลายเป็นถุงน้ำก่อนจะบวมน้ำแตกออกเป็นแผลเนื้อตาย เหมือนรอยบุหรี่จี้ หากไม่รักษาเชื้อก็จะเข้าสู่กระแสเลือด และทำให้ถึงตายได้ ซึ่งเป็นช่องทางการติดต่อของโรคที่พบว่าเกิดขึ้นมากที่สุดเป็นอันดับหนึ่ง รองลงมาคือการติดเชื้อในระบบทางเดินอาหารเกิดจากการที่เรากินเนื้อวัวดิบที่มีเชื้อก็จะมีแผลที่ลำคอกระเพาะอาหารลำไส้และจะมีอาการปวดท้องอาเจียนถ่ายเป็นเลือดและการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจนั้นมีโอกาสเกิดขึ้นน้อยมากแต่ก็มีอัตราการเสียชีวิตที่สูงที่สุดหากติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจซึ่งผู้ที่ติดเชื้อติดเชื้อจะมีอาการหายใจติดขัดแน่นหน้าอกตัวเขียวหน้าเขียวและเสียชีวิตไม่เกินห้าวัน 

พญ.จิราศักดิ์ กล่าวอีกว่า การป้องกันการติด เชื้อแอนแทรกซ์ที่ดีที่สุด คือไม่ทานเนื้อสัตว์ดิบทุกชนิด เพราะไม่ใช่เฉพาะ เชื้อแอนแทรกซ์ที่มากับเนื้อวัว แต่ยังมีโรคหูดับที่มากับหมูพยาธิชนิดต่างๆ ที่จะมากับเนื้อสัตว์ดิบเรานี้ และเข้ามาฝังไข่ชอนไชตามร่างกายเมื่อพยาธิขึ้นสมอง ก็จะชอนไชเนื้อหายไป จนกลายเป็นอัมพฤกษ์อัมพาต ซึ่งก็มีปรากฏให้เห็นในข่าวและโรคอื่นๆ จากสัตว์ทั้งเนื้อวัวหมูไก่และสัตว์ทุกชนิดที่สามารถกินได้ 

ในเรื่องนี้ก็อยากให้ทุกๆ คนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการชอบรับประทานเมนูอาหารดิบหรือเมนูครึ่งสุกครึ่งดิบให้รับประทานอาหารที่สุกร้อยเปอร์เซ็นต์ เพื่อไม่ให้ร่างกายติดเชื้อแบคทีเรียต่างๆ ที่อยู่ในเนื้อสัตว์ดิบ และจากข้อมูลพบว่าเคยมีคนไทยเคยติด เชื้อแอนแทรกซ์ครั้งแรกในรอบ 17 ปี เมื่อช่วงเดือน พ.ย. 60 และหลังจากนั้นผ่านมา 7 ปีถึงปัจจุบัน ก็ยังไม่มีการแพร่ระบาดของเชื้อแอนแทรกซ์ในประเทศไทยอีกเลย 

โดยในครั้งนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้ง กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ได้มีการลงพื้นที่ตรวจสอบทราบว่าเชื้อเกิดขึ้นหลังจากที่ชาวบ้านในพื้นที่ ต.มหาวัน อ.แม่สอด จ.ตาก ลักลอบชำแหละแพะที่นำข้ามฝั่งมาจากประเทศเพื่อนบ้านก่อนเริ่มมีอาการป่วย และตรวจสอบพบติดเชื้อแอนแทรกซ์จริง 2 รายโดยเป็นการนำสัตว์จากประเทศเพื่อนบ้านมาชำแหละและแบ่งกันรับประทาน โดย เชื้อแอนแทรกซ์ส่วนใหญ่มักพบในแพะแกะวัวและควาย ซึ่งหากพบสัตว์เหล่านี้ตายผิดธรรมชาติให้รีบแจ้งปศุสัตว์ 

ส่วนวิธีทำลายที่ดีที่สุดคือการเผา ไม่ควรฝังลงพื้นดิน เพราะเชื้อสามารถอยู่ได้เป็นสิบๆ ปี และไม่ควรนำเนื้อสัตว์เหล่านี้มารับประทานเด็ดขาด แม้จะทำให้สุกก็ตาม

Advertisement

แชร์
หมอแนะ สายซอยจุ๊ แม้ไร้แอนแทรกซ์ แต่ก็เสี่ยงพยาธิ เป็นอัมพฤกษ์อัมพาต