ทำความรู้จัก “เรือนจำบางขวาง” ดินแดนสนธยา นักโทษเดนตาย ซึ่งเปิดรับน้องใหม่ “แป้ง นาโหนด” เข้าไปนอนคืนแรกวันนี้
จากกรณีการจับกุม เสี่ยแป้ง นาโหนด หรือ นายเชาวลิต ทองด้วง (ผู้ต้องขังรายสำคัญก่อเหต ที่หลบหนีออกจากสถานคุมขัง รพ.มหาราชนครศรีธรรมราช เมื่อวันที่ 22 ต.ค. 66) ไปกบดานอยู่บาหลี อินโดนีเซีย ก่อนทางการอินโดนีเซียยอมให้นำตัวกลับมาดำเนินคดีในประเทศไทย โดยนำเครื่องลงที่จังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อสอบปากคำเกี่ยวกับการหลบหนี และคดีคงค้างในพื้นที่
จากนั้น กรมราชทัณฑ์ได้ประสานไปยัง พล.ต.ท.จิรภพ ภูริเดช ผบช.ก. เพื่อขอรับการสนับสนุนจากกองบังคับการปราบปราม สำหรับภารกิจรับตัว จากท่าอากาศยานนานาชาตินครศรีธรรมราช เพื่อย้ายมาคุมขังยังเรือนจำกลางบางขวาง จ.นนทบุรี ประกอบด้วยกำลังหนุมานกองปราบฯ พร้อมอาวุธครบมือเป็นชุดควบคุมตัว จำนวน 4 นาย ประกบผู้ต้องหาบนอากาศยานกองบินตำรวจ ร่วมกับเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ เพื่อเดินทางไปยังท่าอากาศยานทหารดอนเมือง ปลายทางเรือนจำกลางบางขวาง
อย่างไรก็ตามสำหรับ เรือนจำบางขวาง ถือเป็นเรือนจำที่ใช้คุมขังนักโทษเด็ดขาด ก่อกำเนิดสืบเนื่องมาจากสมัยรัชกาลสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ทรงดำริเห็นว่า บ้านเมืองกำลังเดินเข้าสู่ความเจริญ ควรย้ายเรือนจำกองมหันตโทษ (คุก) ออกไปจากพระนคร จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เสนาบดีกระทรวงยุติธรรม (กรมพระราชบุรีดิเรกฤทธิ์) กับเสนาบดีกระทรวงนครบาล(กรมพระนเรศวรฤทธิ์) จัดซื้อที่ดิน ฝั่งตะวันออกแม่น้ำเจ้าพระยา ที่ตำบลบางขวาง อำเภอตลาดขวัญ จังหวัดนนทบุรีได้เนื้อที่ 60,776 ตารางวา ยังไม่ทันที่จะลงมือก่อสร้าง มีการเปลี่ยนเสนาบดีฯ นโยบายการสร้างเรือนจำก็เปลี่ยนไป
ปีพ.ศ.2470 สมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิจได้ทรงดำริจะตั้งกรมราชทัณฑ์ จึงได้ทรงแต่งตั้ง มหาอำมาตย์โทพระยามุขมนตรี (อวบ เปาโรหิต) อำมาตย์เอก พระยาศิริชัยบุรินทร ผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรี อำมาตย์โทพระทัรฑการประชานุชิตเป็นเจ้าพนักงานซื้อที่ดินต่อไปอีก จนมีเนื้อที่จำนวน 84,981ตารางวา
จากนั้นได้เริ่มก่อสร้างเรือนจำเมื่อปลายปี พ.ศ. 2470 เป็นต้นมา โดยมีเจ้าพระยามุขมนตรี (อวบ เปาโรหิต) สมุหนครบาลเป็นประธานกรรมการ นายชาล เบเกอแลง (ชาวฝรั่งเศษ) นายช่างใหญ่กรามสาธารณสุข เป็นผู้ออกแบบ และตรวจการก่อสร้าง พระยาอาชญาจักร (บุญมา โรจนวิภาต) ผู้ตรวจการเรือนจำเป็นผู้อำนวยการสร้าง
สำหรับ เจตนารมณ์ของการก่อสร้างเรือนจำกลางบางขวาง ต้องการให้เป็นเรือนจำแข็งแรงมั่นคงในระดับสูง(Maximum secuitty ) โดยได้นำแบบก่อสร้างเรือนจำต่างๆ ทั้งในยุโรปและสหรัฐอเมริกา มาเปรียบเทียบกับความประสงค์ของการราชทัณฑ์ไทย ได้พยายามขจัดอุปสรรคที่เคยเกิดขึ้นตามเรือนจำแต่ก่อน เช่น สร้างหอคอยสูง 30 เมตรตรงกลาง ให้เจ้าหน้าที่สังเกตการณ์ได้รอบเรือนจำ กำแพงคอนกรีตรอบนอกสูง 6 เมตร ยาว 2,406 เมตร ลึกลงไปในดินอีก 1 เมตร พร้อมทั้งป้อมรักษาการณ์เป็นระยะรวม 20 ป้อม เหนือกำแพงโดยรอบขึงไฟฟ้าแรงสูงอีกชั้นหนึ่ง กั้นกำแพงภายในให้แยกเป็นแดนๆ ยาว 1,298 เมตร มีประตูแต่ละแดนดุจเป็นเรือนจำเล็กๆ รวมกันด้วย 14 แดน อาคารนอนของผู้ต้องขังเป็นตึกสองชั้น พื้นคอนกรีตแบ่งเป็นห้องสองข้างมีทางเดินกลาง มีลูกรงเหล็กปิดกั้นหัวท้าย และกึ่งกลางตึกกั้นมิให้คนรวมกันแห่งเดียวได้
ต่อมาปี พ.ศ. 2474 การก่อสร้างได้เสร็จเป็นส่วนมาก ทางราชการจึงได้สั่งย้ายเรือนจำกองมหันตโทษไปอยู่ที่บางขวาง ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2474 เรือนจำกลางบางขวางจึงได้ชื่อว่า เรือนจำกองมหันตโทษ โดยมีอำมาตย์เอกพระยาอาญาจักร์เป็นผู้บัญชาการเรือนจำคนแรก
ปี พ.ศ. 2485 กระทรวงมหาดไทย ได้ออกกฎกระทรวงฯ ความตามพระราชบัญญัติราชทัณฑ์พุทธศักราช 2479 (ฉบับที่ 3 ) เปลี่ยนชื่อเรือนจำกองมหันตโทษเป็นเรือนจำกลางบางขวาง ตั้งแต่วันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2484 จนถึงปัจจุบัน
สำหรับหน้าที่และความรับผิดชอบของเรือนจำบางขวาง ประกอบด้วย
อัตราความจุปกติสามารถรองรับผู้ต้องขังได้ประมาณ 5,000 คน ปัจจุบันเรือน จำกลางบางขวางมีผู้ต้องขังประมาณ 5,200 คน ภายในกำแพงเรือนจำมีกำแพงคอนกรีตเสริมเหล็กสูง 6 เมตร ยาวโดยรอบ 2,406 เมตร มีสายไฟฟ้าแรงสูงอยู่บนสันกำแพงโดยรอบ มีป้อมรักษาการณ์รอบกำแพงจำนวน 21 ป้อม กำแพงชั้นในแบ่งออกส่วนๆมีความสูง 6 เมตร มีความยาวโดยรอบ 1,298 เมตร
เรือนจำกลางบางขวางมีแดน 10 ที่เรียกว่า “แดนควบคุมพิเศษ” ซึ่งจะมีผู้คุมที่ทำงานค่อนข้างเข้มงวด เพราะเป็นแดนคุมขังสำหรับผู้ต้องขังเกเร อยู่ร่วมกับสังคมผู้ต้องขังรายอื่นๆไม่ได้ ก่อเหตุทำร้ายตัวเอง หรือทำร้าย เจ้าหน้าที่ผู้คุมจะมีไม้ตะบองถือไว้ติดตัว รวมถึงมีอาวุธปืนลูกซอง ซึ่งเป็นปืนที่ใช้ในการระงับเหตุร้าย โดยจะมีมาตรการการพิจารณาใช้อาวุธปืนลูกซอง หากเข้าข้อกฎหมาย 3 ประการนี้ คือ 1.สั่งให้หยุดแล้วไม่หยุด 2.สั่งให้วางอาวุธแล้วไม่วาง และ 3.มีผู้ก่อเหตุตั้งแต่ 3 คนขึ้นไปก่อความวุ่นวาย ทั้งนี้ หากไม่เข้าข้อกฎหมายดังกล่าว เจ้าหน้าที่ผู้คุมจะใช้อาวุธปืนลูกซองยิงเตือนผู้ต้องขังไม่ได้
เรือนนอนของแดน 10 มีความสูง 4 ชั้น มีประตูจะมีหลายชั้น เพื่อรักษาความปลอดภัย เรือนนอนแดน 10 จะแตกต่างกับเรือนนอนทั่วไปเพราะไม่มีพัดลม ไม่มีโทรทัศน์ ไม่มีหนังสือ และจะถูกคุมขังตั้งแต่เวลา 15.00 – 06.00 น. จะร้อนหรือหนาวก็ต้องทนให้ได้ โดยจะต้องถูกลงโทษ 3 เดือน อย่างไรก็ตาม ลักษณะการปกครองของเจ้าหน้าที่ผู้คุมในแดน 10 ยังคงต้องมีความยุติธรรม ผู้ต้องขังประพฤติผิดก็ต้องถูกลงโทษ หากไม่ผิด แต่จะขอความช่วยเหลือ เจ้าหน้าที่ก็จะให้ความช่วยเหลือเต็มที่
การบริหารการจัดการในการควบคุมผู้ต้องขัง แบ่งออกเป็น 17 แดน
แดนแรก เรีนกว่า ฝ่ายควบคุมแดน 1 (ยขณะนี้อยู่ระหว่างปิดปรับปรุง)
ฝ่ายควบคุมแดน 2 (แดนควบคุมผู้ต้องขังเข้าใหม่ และควบคุมนักโทษเด็ดขาดซึ่งมีกำหนดโทษสูง ตั้งแต่ 50 ปี ถึงตลอดชีวิต และคุมขังนักโทษประหารชีวิต)
แดน 3 (แดนควบคุมนักโทษเด็ดขาด มีอำนาจรับและควบคุมนักโทษเด็ดขาดที่มีกำหนดจำคุกตั้งแต่ตลอดชีวิตลงมา และผู้ต้องขังระหว่างอุทธรณ์-ฎีกา หรือระหว่างพิจารณาของศาล ที่มีกำหนดโทษต่ำกว่าตลอดชีวิต)
แดน 4 (แดนควบคุมนักโทษเด็ดขาดที่มีโทษตั้งแต่ 50ปี ลงมา)
แดน 5 (แดนควบคุมผู้ซึ่งมีโทษประหารชีวิต ทั้งที่คดีเสร็จเด็ดขาดแล้ว และคดีอยู่ระหว่างอุทธรณ์-ฎีกา)
แดน 6 (แดนควบคุมเฉพาะผู้ต้องขังคดีผิด พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ ซึ่งมีโทษจำคุกตั้งแต่ตลอดชีวิตลงมา)
แดน 7 (มอบพื้นที่ให้เรือนจำจังหวัดนนทบุรี)
แดน 8 (ปิดปรับปรุง)
แดน 9 (จัดเป็นแดนสูทกรรมสำหรับหุงต้มอาหารเลี้ยงผู้ต้องขัง)
แดน 10 (แดนความมั่นคงสูง สำหรับลงโทษผู้กระทำผิดวินัยของเรือนจำ และควบคุมความประพฤติผู้ต้องขังที่มีปัญหาด้านความประพฤติกระทำผิดวินัยหลายๆครั้ง อยู่ร่วมกับผู้ต้องขังทั่วไปไม่ได้)
แดน 11 (สถานที่สำหรับประหารชีวิตโดยเฉพาะ ไม่มีตึกนอนของผู้ต้องขัง และเมื่อมีการดำเนินการประหารชีวิต จึงจะนำตัวนักโทษมาดำเนินการ)
แดน 12 (ที่ตั้งของสถานพยาบาล มีหน้าที่ควบคุมผู้ต้องขังป่วย)
แดน 13 (แดนสำหรับฝึกวิชาชีพให้แก่ผู้ต้องขัง)
แดน 14 (จัดเป็นหอประชุมสำหรับประกอบพิธี หรือประกอบกิจกรรมของผู้ต้องขัง เป็นสถานที่จัดงานวันพบญาติ จัดแข่งขันฟุตบอลประจำปี ไม่มีตึกนอน)
แดน 15 (แดนกลางซึ่งมีหน่วยงานต่างๆตั้งอยู่และหัวหน้าหน่วยงานนั้นๆ รับผิดชอบโดยเฉพาะ ได้แก่ ร้านสงเคราะห์ผู้ต้องขัง ศูนย์ฝึกอบรมจิตภาวนา ห้องเก็บพัสดุกลาง งานผู้ช่วยเหลือและประสานงานและตึกนอนสำหรับผู้ต้องขังที่จ่ายออกไปทำงานภายนอกเรือนจำ เป็นต้น)
แดน 16 (แดนที่ใช้เก็บพัสดุในการฝึกวิชาชีพ และใช้เป็นโรงย้อมผ้าไม่มีตึก)
คุมแดน 17 (แดนที่ใช้ควบคุมผู้ต้องขังสูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป)
เบื้องต้นการควบคุมตัวเสี่ยแป้ง จะขังเดี่ยว เพื่อปรับตัว จากนั้นจะพิจารณาแดนอยู่ร่วมกับยักโทษรายอื่นตามความเหมาะสมต่อไป
Advertisement