ปลอดประสพ อาสาป็นหัวเรือใหญ่ ค้านปรับปรุงแนวเขตป่าทับลาน ชี้มติครม. 43 ทำแนวกันชน แต่มติครม. 66 บิดเบือนเจตนาณ์ชัดเจน
วันที่ 10 ก.ค. 67 นาย ปลอดประสพ สุรัสวดี อดีตอธิบดีกรมป่าไม่ และอดีตปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ให้สัมภาษณ์ “อมรินทร์ทีวี ออนไลน์” ถึงกรณีโพสต์ภาพพกปืน พร้อมข้อความแคปชั่น “ใครกินป่าทับลาน เจอผมแน่นอน” ว่า
ตนเป็นอธิบดีกรมป่าไม้คนแรกที่ไปจับกุมคนมาบุกรุก ถ.304 ถือเป็นการท้าทาย บุกรุกเป็นนายทุน มีการสร้างโรงแรม และเป็นพื้นที่เชื่อมต่อกันระหว่างทับลานกับเขาใหญ่ ซึ่งจะขอเป็นมรดกโลก การทำแบบนี้เหมือนมาปิดประตู วันนี้แม้ตนไม่ได้เป็นเจ้าหน้าที่ก็พร้อมจะสู้ และสัญลักษณ์ปืนผู้ชายก็น่าจะเข้าใจได้ ซึ่งตนคงไม่ได้จะไปยิงใคร เพราะจะมีความผิดแต่ถ้าใครทำตนก่อน ก็พร้อมสู้ หมายถึงการปกป้องพื้นที่ทับลาน
ส่วนการเป็นอธิบดีกรมป่าไม้คนแรก ที่เข้าไปจัดการทับลาน นายปลอดประสพ ระบุว่า วันนี้ไม่ว่ารัฐบาลใดๆ หรือใครมีอำนาจ และอยากแก้ไขปัญหาทับทาน ตนมองว่าเป็นเป้าหมายถูกต้อง แต่วิธีคิดไม่ถูกต้อง เพราะเหตุขัดแย้งหรือการบุกรุกมี 4 กลุ่ม เหตุใดจึงไม่แก้ทีละเรื่อง และทำไมจึงเหมาจ่าย 2.6 แสนไร่ เป็นการพูดรวมและทำมั่วๆ และสิ่งที่ไม่เห็นด้วยมีคดีความ 400-500 คดีจำนวนแสนไร่ แบบนี้เหมือนนิรโทษกรรม เพราะฟ้องตามกฎหมายอุทยานฯ แต่เมื่อไม่เป็นพื้นที่อุทยานฯ ก็จะหลุดหมด
สุดท้ายสิ่งเป็นห่วงกัน หากแบบนี้ในวันข้างหน้าพื้นที่อุทยานกว่า 100 แห่ง เขตรักษาพันธ์สัตว์ป่า 70-80 แห่ง รวมแล้วกว่า 200 แห่งที่เป็นป่าอนุรักษ์สูงสุด จะนำหลักการนี้ไปคิด ซึ่งจะไม่เหลืออะไรไว้ปกป้อง และวันนี้ตนลุกขึ้นมาค้าน เป็นหัวเรือใหญ่ให้กำลังใจลูกน้องด้วยเหตุผลนี้ ไม่ใช่ไปโกรธ เกลียดบุคคล หรือเพราะอยู่การเมืองจึงต้องออกมาคัดค้าน
นอกจากนี้ พื้นที่ทับลานประกาศปี 2524 ถึงวันนี้ 43 ปี วันที่ประกาศมีปัญหาแต่ต้น ซึ่งตอนนั้นยังไม่รับตำแหน่งอธิบดี มารับตำแหน่งปี 41 จึงเห็นปัญหา กองอุทยานฯ ที่ต้องการพื้นที่ และกองจัดการที่ดินและป่าไม้ ที่บอกอย่าประกาศที่กรมป่าไม้ เพราะให้ส.ป.ก.ไปแล้วตั้งแต่ปี 21 ซึ่งมีการออกสารสิทธิ์และประชาชนเข้าไปทำกิน แต่อธิบดีและคณะกรรมการอุทยานฯ ไปเห็นด้วยกับกองอุทยานฯ เพราะอยากได้ที่ และอีกประเด็นคือ ตนเดาว่าการมอบที่ให้ ส.ป.ก. ด้วยความไม่เต็มใจ จึงประกาศพื้นที่ทับซ้อน สร้างปัญหาเริ่มแรก 5 หมื่นไร่ และหลังจากนั้นที่ดิน ส.ป.ก. ถูกใช้หมด จึงมีการแอบรังวัด และออกเอกสารสิทธิ์ 1-2 หมื่นไร่
นอกจากนี้ยังมีกลุ่มพัฒนาชาติไทย ในสมัย พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ได้มีการให้ที่ดินทำกิน เป็นพื้นที่ประมาณ 8-9 หมื่นไร่ ที่ปัจุบันมีการอ้างสิทธิ์มีคนอยู่ 3-4 พันคน ซึ่งจะตกคนละ 10 กว่าไร่ ซึ่งต้องหาทางแก้ปัญหา เนื่องจากเป็นการยุติความขัดแย้งและเชิญเขามาอยู่ และอีกปัญหาคือบางส่วนเสียชีวิต มีการตกถึงลูกหลาน และสิทธิ์นี้ส่งต่อได้หรือไม่ ส่วนอีกกลุ่มที่อยู่มาก่อนปี 2521 ต้องให้ที่ดินเขา แต่ความจริงภาษากฎหมายไม่ให้ก็ได้ เพราะเป็นป่าสงวน ป่าคุ้มครองมาก่อน มีกฎหมายตั้งแต่ปี 84 และหากให้สิทธิ์หากอยู่ในกลางป่าจะทำอย่างไร อาจจะต้องมีการเจราให้ขยับออกมา ส่วนที่เป็นการบุกรุกแท้ๆ กว่า 1 แสนไร่ มีการขายต่อ มีการสร้างบ้าน รีสอร์ต หากทำตามวิธีนี้จะเป็นการนิรโทษกรรม และทั้งประเทศจะอยู่อย่างไร
ด้วยปัญหาการรุกป่าในอดีต ทำให้เกิดมติ ครม. ปี41 ให้ชะลอการจับกุม และให้สำรวจสิทธิ์ว่าถูกต้องหรือไม่ ใช้เวลา 2 ปี จนปีมีมติ ครม.ปี 43 มีการทำแนวเขตป่ากันชนซึ่งพื้นที่เขาใหญ่มีถนนเป็นแนวกันชน ส่วนทับลานเป็นป่ามากกว่าจึงทำแนวกันชน แค่มติ ครม. 14 มี.ค. 66 กลับแปลงคำจากแนวกันชนเป็นแนวเขต สรุปเรื่องนี้ต้องทบทวนทำใหม่ ตั้งแต่เรื่องเทคนิคและนโยบาย โดยอาจจะเป็นการทบทวน ปรับปรุงมติ ครม. อาจจะไม่ต้องถึงกับยกเลิก แต่ควรไปศึกษาเสนอแนวทางมาใหม่ และทำทีละเรื่องและทีละพื้นที่แล้วจะไม่เป็นประเด็นเช่นทุกวันนี้
สำหรับพื้นที่ 2.6 แสนไร่ ตนเดาว่าเปลี่ยนสภาพเป็นป่สเสื่อมโทรม เพราะมีคนเข้าอยู่แล้ว แต่พื้นที่ดังกล่าวแม้ไม่มีสภาพเป็นป่า แต่เป็นป่าโดยกฎหมาย ซึ่งหน่วยงานก็สามารถเข้าไปฟื้นฟูได้ อย่างไรก็ตามถ้ามติ ครม. 14 มี.ค. 66 ยังอยู่และปฎิบัติอย่างจริงจัง ส.ป.ก. จะได้ที่ 5 หมื่นไร่ของตัวเอง และที่รุกเพิ่ม 2-3 หมื่นไร่ด้วย รวมถึงประชาชนเชื่อว่าเกินครึ่งคุณสมบัติจะไม่ตรงตามการถือครอง และที่ประกาศโดยไม่ขอกรมป่าไม้ก็มีปัญหา แล้วใครจะยอม ส่วนพัฒนาชาติไทยคงยินดี เพราะได้ที่เพิ่มมา และพวกรุกรุกที่ฟ้องร้องก็มีความสุข
Advertisement