Logo site Amarintv 34HD
Logo LiveSearch
Search
Logo Live
Logo site Amarintv 34HD
ช่องทางติดตาม AMARINTV
  • facebook AMARIN TV 34 HD
  • x AMARIN TV 34 HD
  • line AMARIN TV 34 HD
  • youtube AMARIN TV 34 HD
  • instagram AMARIN TV 34 HD
  • tiktok AMARIN TV 34 HD
  • RSS Feed AMARIN TV 34 HD
เกษตรกรรมพืชเชิงเดี่ยว ผู้ร้ายตัวจริงหรือแพะรับบาป? ต้นตอ "น้ำท่วมเชียงใหม่"

เกษตรกรรมพืชเชิงเดี่ยว ผู้ร้ายตัวจริงหรือแพะรับบาป? ต้นตอ "น้ำท่วมเชียงใหม่"

7 ต.ค. 67
10:59 น.
|
3.2K
แชร์

ผู้เชี่ยวชาญสิ่งแวดล้อม ให้ความเห็น "น้ำท่วมเชียงใหม่" สาเหตุเพราะฝนตกหนักบนดอยที่ถูกเปลี่ยนสภาพเป็น "เกษตรกรรมพืชเชิงเดี่ยว"

น้ำท่วมเชียงใหม่ มีหลายเหตุการณ์ใหญ่ที่ทำให้เราต้องกลับมาถอดบทเรียนเพื่อตัวเองว่าในฤดูฝนปีหน้า เราจะรับมือกับความเปลี่ยนแปลงนี้อย่างไรเพื่อไม่ให้เกิดซ้ำรอย เฉกเช่นการสูญเสีย "พังพลอยทอง" และ "พังฟ้าใส" ช้างของมูลนิธิอนุรักษ์ช้างและสิ่งแวดล้อม จมน้ำตาย

อีกเหตุสะเทือนใจไม่แพ้กัน กรณีอุบัติเหตุเรือกู้ภัยล่ม ขณะเข้าช่วยอพยพผู้สูงอายุ 3 คน ที่ อำเภอสารภี แต่ด้วยน้ำมีระดับสูงและไหลเชี่ยวทำให้เรือพลิกคว่ำ หนึ่งในผู้ประสบภัย ยายวัย 71 ปี จมน้ำ เจ้าหน้าที่พยายามช่วยชีวิตด้วยการทำ CPR ก่อนเร่งนำตัวส่ง
รพ. แพทย์ได้ให้การช่วยเหลืออย่างสุดความสามารถ แต่ผู้ป่วยมีของเหลวในปอดและหยุดหายใจเป็นเวลานาน ทำให้เสียชีวิตในที่สุด

น้ำท่วมเชียงใหม่

เปิดภาพมวลน้ำมหาศาลท่วม "เชียงใหม่" หนักสุดในรอบ 100 ปี

CCDC: Climate Change Data Center เผยภาพอ้างอิงจากเพจฯ URBAN TH ระบุความเห็นว่า "มวลน้ำมหาศาล กำลังเคลื่อนจากที่ระดับสูง ลงไปสู่ระดับต่ำกว่า และไม่เพียงเคลื่อนตัวบนลำน้ำ แม่น้ำ แต่เคลื่อนไปตามถนน ตามที่ลุ่ม ต่างๆ การอ้างอิงตัวเลขวัดระดับน้ำในลำน้ำอย่างเดียว อาจทำให้การประเมินป้องกัน และเตรียมการ เกิดความสับสน โกลาหล และผิดพลาดได้

ผลกระทบที่เกิดขึ้นในตัวเมืองเชียงใหม่ คงเป็นประสบการณ์ที่เจ็บปวด บอบช้ำ สาหัส เบาหนัก ต่างกันไป ในพื้นที่ด้านล่าง ที่ต้องรับมวลน้ำ ขอให้ประเมินบนความเสี่ยงสูงสุด ให้คน สัตว์ และทรัพย์สิน รอดปลอดภัยให้ได้มากที่สุดนะครับ"

462210595_950112117143127_128

"เกษตรกรรมพืชเชิงเดี่ยว" ถูกพูดถึง หรือนี่คือหนึ่งในสาเหตุน้ำท่วมเชียงใหม่ ?

ดร.สนธิ คชวัฒน์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ชมรมนักวิชาการสิ่งแวดล้อมไทย ชี้ "น้ำท่วมเมืองเชียงใหม่สาเหตุสำคัญคือฝนตกหนักบนดอยที่ถูกเปลี่ยนสภาพเป็นเกษตรกรรมพืชเชิงเดี่ยว

1. สาเหตุของน้ำท่วมหนักในเมืองเชียงใหม่เกิดจากฝนตกหนักหลายวัน โดยช่วงต้นเดือนตุลาคม 2567 มีฝนหนักติดต่อกัน 3 วัน
วัดปริมาณน้ำฝนได้ 200 ถึง 300 มิลลิเมตร ทั้งที่ไม่มีพายุเข้าแต่เกิดจากมวลอากาศเย็นเคลื่อนลงมาจากแผ่นดินใหญ่มาปะทะร่องมรสุมความกดอากาศต่ำ(อากาศร้อน) ที่พาดผ่านทำให้เกิดฝนตกหนักในเขตอำ เภอเชียงดาว อำเภอแม่แตง อำเภอแม่ริม และอำเภอพร้าวจนเกิดน้ำท่วมอย่างหนักในพื้นที่ราบเชิงเขาของอำเภอเชียงดาว อำเภอแม่แตงและอำเภอเมืองเชียงใหม่ โดยทั้งแม่น้ำแม่งัด แม่น้ำแม่แตงและแม่น้ำปิงมีปริมาณน้ำไหลเชี่ยวกรากลงมาท่วมพื้นที่เมืองเชียงใหม่

2. แม่น้ำปิง มีต้นกำเนิดจากเทือกเขาผีปันน้ำในพื้นที่อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียง ใหม่ไหลลงมาทางทิศใต้ผ่านหุบเขาเข้าสู่เขตอำเภอแม่แตง มีแม่น้ำแม่งัดไหลมาบรร จบทางฝั่งซ้ายและน้ำแม่แตงไหลมาบรรจบทางฝั่งขวาเข้าสู่พื้นที่ราบลุ่มผ่านอำ เภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ และมีน้ำแม่กวง ซึ่งเป็นสาขาของแม่น้ำปิงไหลมาบรรจบทางฝั่งซ้าย บริเวณพื้นที่อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน

จากนั้นแม่น้ำปิงจะไหลไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้โดยมีแม่น้ำลี้ ซึ่งไหลผ่านจากอำเภอลี้ มาบรรจบกับแม่น้ำปิงที่อำเภอจอมทอง ทางฝั่งซ้ายและจากอำเภอจอมทอง แม่น้ำปิงจะไหลลงไปทางใต้โดย มีแม่น้ำแม่แจ่มไหลมาบรรจบทางฝั่งขวาที่อำเภอฮอด ก่อนจะไหลเข้าสู่อ่างเก็บน้ำของเขื่อนภูมิพล จ.ตาก ที่อำเภอดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่ ต่อไป

เมื่อเกิดฝนตกหนักติดต่อกันยาวนานในพื้นที่ต้นน้ำจะเป็นผลให้ระดับน้ำและปริมาณน้ำในแม่ปิงสะสมตัวเพิ่มสูงขึ้น จนเกิดล้นตลิ่งและไหลเข้าท่วมพื้นที่ลุ่มต่ำใกล้เคียง เกิดอุทกภัยสร้างความเดือดร้อนเสียหายแก่บ้านเรือน ชีวิตและทรัพย์สินขึ้นได้ โดยเฉพาะในเขตตัวเมืองเชียงใหม่ โดยจะเกิดขึ้นเมื่อปริมาณน้ำเพิ่มสูงเกินความจุของลำน้ำ โดยความจุของน้ำปิงที่ตัวเมืองเชียงใหม่คือ 440 ลบ.เมตร/วินาที และระดับวิกฤติที่น้ำจะเริ่มล้นฝั่งไหลท่วมอยู่ที่ 3.70 เมตร

3. ปี2566/67 จังหวัดเชียงใหม่ มีพื้นที่เพาะปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ จำนวน 285,004 ไร่ ที่อำเภอเชียงดาวมีพื้นที่ปลูกข้าวโพด 19,878 ไร่ และอำเภอแม่แตงมีพื้นที่ปลูกข้าวโพดประมาณ1636.75ไร่ ส่วนใหญ่จะปลูกบนดอยสูง นี่อาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้น้ำป่าบนภูเขาต้นน้ำไหลลงมาได้รวด เร็วและเชี่ยวกรากไหลลงมาท่วมพื้นที่ราบเชิงเขาได้

หากฝนตกบนภูเขาที่เต็มไปด้วยป่าใหญ่ น้ำฝนจะขังอยู่ในป่าประมาณเก้าส่วน อีกหนึ่งส่วนไหลลงข้างล่าง และค่อยๆ ไหลรินไปหล่อเลี้ยงผู้คนด้านล่างตลอดทั้งปี แต่หากเป็นภูเขาหัวโล้น น้ำฝนจะขังอยู่หนึ่งส่วน อีกเก้าส่วนไหลลงข้างล่างทำให้เกิดมหาอุทกภัยใหญ่หลวง"

462267552_8970615539623693_76

461940588_8970615862956994_12

462298734_8970616352956945_41

Advertisement

แชร์
เกษตรกรรมพืชเชิงเดี่ยว ผู้ร้ายตัวจริงหรือแพะรับบาป? ต้นตอ "น้ำท่วมเชียงใหม่"