Logo site Amarintv 34HD
Logo LiveSearch
Search
Logo Live
Logo site Amarintv 34HD
ช่องทางติดตาม AMARINTV
  • facebook AMARIN TV 34 HD
  • x AMARIN TV 34 HD
  • line AMARIN TV 34 HD
  • youtube AMARIN TV 34 HD
  • instagram AMARIN TV 34 HD
  • tiktok AMARIN TV 34 HD
  • RSS Feed AMARIN TV 34 HD
กต.งัดสนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส การันตี ''เกาะกูด'' เป็นของไทย

กต.งัดสนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส การันตี ''เกาะกูด'' เป็นของไทย

4 พ.ย. 67
16:35 น.
|
217
แชร์

กต.งัดสนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส การันตี ''เกาะกูด'' เป็นของไทย ยืนยัน MOU44 ไม่ทำไทยเสียดินแดน

 

วันที่ 4 พ.ย.67 นางสุพรรณวษา โชติกญาณ อธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศ แถลงชี้แจง พร้อมให้ข้อมูลต่อประเด็นพื้นที่ที่ไทยและกัมพูชา อ้างสิทธิในไหล่ทวีปทับซ้อนกัน หรือ OCA: Overlapping Claim Area ซึ่งเกี่ยวข้องกับ MOU44 และในโซเชียลมีเดีย ได้มีการกล่าวถึงและเกิดความเข้าใจผิด เกิดความคลาดเคลื่อนในหลายประเด็น

โดยยืนยันว่า MOU44 ไม่ได้ทำให้ประเทศไทยเสียดินแดนใดๆ โดยเฉพาะพื้นที่เกาะกูด เพราะตามสนธิสัญญาที่สยาม ได้ลงนามร่วมกับฝรั่งเศสนั้น บัญญัติชัดเจนว่า ''เกาะกูดเป็นของไทย'' ซึ่งมีความชัดเจนอยู่แล้ว และตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ประเทศไทยได้ใช้อำนาจอธิปไตยไทยเหนือเกาะกูด 100% และ MOU44 ก็สอดคล้องกับพระบรมราชโองการประกาศเขตไหล่ทวีปของประเทศไทยด้านอ่าวไทย ปี 2516

mfa_2467

เพราะมีการระบุพิกัดต่าง ๆ ตามแนวทางการประกาศเขตไหล่ทวีป ซึ่งไทยก็ยึดหลักการประกาศตามสนธิสัญญาเจนิวา ที่ทุกประเทศ มีสิทธิที่จะประกาศการอ้างสิทธิพื้นที่ทับซ้อน และเมื่อเกิดการทับซ้อน ก็จะต้องไปเจรจา และ MOU44 ก็เป็นความตกลงร่วมกัน เพื่อให้มีการเจรจาซึ่งเป็นไปตามแนวทางสากล โดยที่ประเทศไทยไม่ได้ใช้หลักการเจรจาที่แตกต่างจากประเทศอื่น ๆ เพราะต่างฝ่ายต่างมีสิทธิอ้างพื้นที่ และผูกพันเฉพาะผู้อ้างเท่านั้น เมื่อมีการทับซ้อนพื้นที่ ก็จะต้องมีการเจรจา ดังนั้น ใน MOU ข้อ 5 จึงระบุว่า การเจรจาจะไม่กระทบต่อการอ้างสิทธิของแต่ละฝ่ายผู้ทำสัญญา เมื่อมีข้อพิพาท จะต้องมีการพูดคุย และไม่ว่าการพูดคุยจะเป็นอย่างไร แต่เส้นการอ้างสิทธิของไทยยังคงมีอยู่ และไทยก็ไม่ได้ยอมรับการอ้างสิทธิของกัมพูชาเช่นเดียวกัน

1730714862402

''มีการกำหนดไว้ในข้อ 5 ของ MOU ว่า ภายใต้เงื่อนไขการมีผลบังคับใช้ของการแบ่งเขต สำหรับการอ้างสิทธิทางทะเล ของภาคีผู้ทำสัญญาในพื้นที่ที่ต้องมีการแบ่งเขต บันทึกความเข้าใจนี้ จะไม่มีผลกระทบต่อการอ้างสิทธิทางทะเลแต่ละภาคีของผู้ทำสัญญา หมายความว่า การอ้างสิทธิของแต่ละฝ่ายก็จะยังคงอยู่ตามกฎหมาย ผลสำเร็จของการเจรจาจะเป็นอย่างไร จะไม่เป็นการทำลายการอ้างสิทธิ ไทยจึงต้องรักษาสิทธิการอ้างสิทธินี้ ไทยไม่ต้องตกลงอะไรทั้งนั้น จนกว่าจะมั่นใจได้ว่า สิ่งที่ไทยได้ ได้สมประโยชน์ของไทย ดังนั้น ไทยจึงไม่เป็นการยอมรับการอ้างสิทธิของกัมพูชา และกัมพูชาเอง ก็ไม่ได้ยอมรับการอ้างสิทธิของไทย'' อธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมายฯ ยืนยัน

ส่วนที่หลายฝ่ายมองควรมีการยกเลิก MOU44 นั้น อธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมายฯ อธิบายว่า ในปี 2552 รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี เคยมีมติให้ยกเลิกไปแล้ว เพราะไม่มีความคืบหน้า และความพันธ์ระหว่างไทย-กัมพูชา ที่ท้าทายทั้งการขึ้นทะเบียนเขาพระวิหาร สถานการณ์ความตึงเครียดในพื้นที่ชายแดน กรเจรจาช่วงนั้นจึงยังลุ่ม ๆ ดอน ๆ ซึ่งการเจรจาให้สำเร็จ ก็จะต้องขึ้นอยู่กับความคืบหน้าในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศด้วย แต่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งกระทรวงการต่างประเทศ ได้หารือฝ่ายที่เกี่ยวข้อง และคณะกรรมการพิเศษ รวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งสภาความมั่นคงแห่งชาติ หรือ สมช., กระทรวงพลังงาน และคณกรรมการกฤษฎีกา ซึ่งได้ใช้เวลาศึกษาทบทวน 5 ปี จึงได้ข้อสรุปว่า MOU44 ยังคงมีข้อดีมากกว่าข้อเสีย เพื่อนำไปสู่การเจรจาให้ประสบความสำเร็จ ในปี 2557 จึงได้เสนอให้คณะรัฐมนตรี ทบทวน และยกเลิกมติคณะรัฐมนตรีในปี 2552 และกระทรวงการต่างประเทศ สนับสนุนให้ทุกรัฐบาลใช้กรอบ MOU44 เป็นกรอบพื้นฐานในการเจรจา เพราะเป็นที่ยอมรับทั้ง 2 ฝ่าย และเคยผ่านการหารือผ่านกรอบ MOU นี้มาแล้ว จึงน่าจะเป็นกลไกที่เหมาะสมที่สุด เพื่อรักษาผลประโยชน์สูงสุดของประเทศ และใช้คณะกรรมการร่วมด้านเทคนิค (Joint Technical Committee) หรือ JTC และคณะทำงานต่าง ๆ (SOM) Senior Officials' Meeting ในการเจรจาต่อไป ซึ่งสุดท้ายไม่ว่าผลการเจรจาจะเป็นอย่างไร แต่ MOU44 ได้ให้แนวทาง และความโปร่งใสในการดำเนินการไว้แล้ว และมีการรายงานความคืบหน้าให้คณะรัฐมนตรีทราบเป็นระยะ จึงถือเป็นเอกสารที่ให้ได้จริง

mfa_2425

อธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมายฯ ยังเปิดเผยความคืบหน้าในการเจรจาแก้ไขปัญหาข้อพิพาทดังกล่าวว่า MOU44 ถือเป็นตัวกำหนดกฎเกณฑ์ที่ไทยจะใช้ในการเจรจา เพราะมีการกำหนดกรอบพื้นที่ทับซ้อน 26,000 ตารางกิโลเมตร แบ่งเป็น 2 พื้นที่หลัก ได้แก่ พื้นที่เหนือเส้นละติจูด 11 องศาเหนือ เพื่อคุยพื้นที่แบ่งเขตทางทะเล และพื้นที่ใต้เส้นละติจูด 11 องศาเหนือให้คุยเรื่องการพัฒนาพื้นที่ร่วมกัน โดยมีเงื่อนไขว่า จะต้องเจรจาทั้ง 2 เรื่องไปพร้อมกันไม่สามารถแบ่งแยกได้ เพราะเส้นอ้างสิทธิเป็นเส้นเดียวกัน จึงต้องคุยเขตทางทะเลเพื่อให้เกิดความชัดเจน และเป็น 2 ผลประโยชน์ที่จะต้องรักษา และสร้างกลไกการเจรจาที่ให้มี JTC ที่มีความละเอียดอ่อน และซับซ้อน จึงได้ใช้หน่วยงานเฉพาะ และจะมีคณะกรรมการย่อย ๆ ลงไปอีกด้วย ซึ่ง MOU44 นี้ เป็นโอกาสที่ทำให้ไทยได้รักษาสิทธิตามกฎหมายระหว่างประเทศ ทั้งสิทธิการแบ่งเขต และการพัฒนาร่วม ซึ่งวิธีตาม MOU44 เป็นวิธีเดียว ที่จะทำให้ประเทศไทยบรรลุผลประโยชน์สูงสุดของประเทศได้

mfa_2486

ส่วนทางกัมพูชาเองนั้น อธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมายฯ ระบุว่า ก็ให้การยอมรับ MOU44 ที่เป็นพื้นฐานที่ดี ที่จะสามารถดำเนินการเจาต่อไป และกลไกลที่มีการตั้ง JTC ที่จะเป็นตัวกำหนดนโยบายใหญ่ จะขับเคลื่อนได้ เพราะมีองค์ประกอบส่วนราชการที่ครบถ้วน ทั้งกระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงพลังงาน กองทัพ และ สมช. และยังมีองค์ประกอบย่อยซึ่งมีความคล่องตัวคล้ายกับ SOM สามารถประชุมบ่อยครั้งได้ เมื่อมีความคืบหน้า ก็รายงานให้ JTC ทราบได้ และในการเจรจาผลประโยชน์พื้นที่ทางทะเล และการเจรจาผลประโยชน์ทางทรัพยากร ก็มีคณะทำงานแยก โดยในการเจรจาผลประโยชน์พื้นที่ทางทะเลนั้น ตนเองเป็นประธานคณะทำงาน และการเจรจาผลประโยชน์ทรัพยากร จะมีอธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติเป็นประธาน โดยจะทำงานร่วมกัน และรายงานให้ JTC ทราบเป็นระยะ

อธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมายฯ ยังเปิดเผยด้วยว่า กระทรวงการต่างประเทศ จะมีการเสนอคณะทำงานต่าง ๆ ใน JTC นี้ ให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาเร็ว ๆ นี้ เมื่อคณะรัฐมนตรีอนุมัติองค์ประกอบแล้ว ก็จะมีการจัดการประชุมฝ่ายไทย และทาบทามทางการกัมพูชาให้จัดองค์ประกอบที่ใกล้เคียงกัน เพื่อเปิดการเจรจาต่อไป

''หลักการของกระทรวงการต่างประเทศที่จะเจรจานั้น ประชาชนทั้ง 2 ฝ่ายจะต้องยอมรับข้อตกลงนี้ และผลที่ได้จากการเจรจา จะต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา และสอดคล้อง เป็นไปตามกฎหมายระหว่างประเทศ และกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง'' อธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมายฯ ยืนยัน

อธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมายฯ ยังระบุอีกว่า ที่ผ่านมาเคยเกิดปัญหาการอ้างสิทธิในพื้นที่ทับซ้อนลักษณะดังกล่าวกับประเทศมาเลเซีย และก็ได้มีกรอบความร่วมมือร่วมกัน จากการทะเลาะและประวิงการใช้เวลาทรัพยากรร่วมกัน จึงเป็นพื้นในการแบ่งผลประโยชน์ร่วมกัน 50:50 ซึ่งเป็นแนวทางที่ประเทศไทยทำสำเร็จมาแล้ว และจะใช้แนวทางนี้ได้กับประเทศกัมพูชา


ทั้งนี้ OCA เกิดขึ้น จากกรณีที่มีการประกาศอ้างสิทธิพื้นที่เขตไหล่ทวีป ซึ่งกัมพูชา ได้มีการประกาศอ้างสิทธิในปี 2515 ทั้งที่มีการเจรจากันตั้งแต่ปี 2513 แล้ว แต่ไทยไม่สามารถยอมรับการอ้างสิทธิดังกล่าวได้ เพราะเส้นผ่านไปที่เกาะกูดของประเทศไทย ประเทศไทยจึงได้ประกาศอ้างสิทธิเขตไหล่ทวีปในปี 2516 และรับทราบแล้วว่า จะเป็นการอ้างสิทธิทับซ้อนกัน ทั้งนี้ ก็เพื่อให้มีการไปเจรจากันต่อไป เพื่อให้เกิดความชัดเจน ซึ่งประเทศไทย เคยประสบความสำเร็จในการเจรจากับเวียดนาม และมาเลเซียบางส่วนมาแล้ว ทำให้เมื่อมีความชัดเจนเกิดขึ้น ก็สามารถบริหารผลประโยชน์ และทรัพยากรร่วมกันได้ แต่เมื่อการอ้างสิทธิ ที่ต่างฝ่าย ต่างอ้างสิทธิ ทั้ง 2 ฝ่าย ก็ยังไม่มีฝ่ายใดสามารถใช้สิทธิเข้าไปใช้ประโยชน์ได้ ดังนั้น ยิ่งเจรจาได้เร็ว ก็เป็นการเปิดโอกาสให้สามารถเข้าไปใช้ประโยชน์ และทรัพยากรในริเวณดังกล่าวได้

Advertisement

แชร์
กต.งัดสนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส การันตี ''เกาะกูด'' เป็นของไทย