การจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมเป็นการสร้างหลักประกันและความมั่นคงในชีวิตให้กับผู้ประกันตน โดยเงินที่จ่ายไปจะถูกนำไปใช้ในการบริหารจัดการ เพื่อให้ผู้ประกันตนได้รับสิทธิประโยชน์และความคุ้มครองในด้านต่างๆ
ผู้ประกันตนในระบบประกันสังคม ไม่ว่าจะเป็นมาตรา 33, 39 หรือ 40 ถือเป็นหลักประกันความมั่นคงในชีวิตที่สำคัญ เพราะจะได้รับความคุ้มครองและสิทธิประโยชน์ที่จะช่วยแบ่งเบาภาระและสร้างความอุ่นใจในยามที่ต้องเผชิญกับความไม่แน่นอนในชีวิต
ในฐานะผู้ประกันตนที่จ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมทุกเดือน คุณมีสิทธิได้รับประโยชน์และความคุ้มครองหลายด้าน ซึ่งจะแตกต่างกันไปตามมาตราที่คุณเป็นสมาชิกอยู่ โดยผู้ประกันตนตามมาตราต่าง ๆ ของสำนักงานประกันสังคมจะได้รับความคุ้มครองและสิทธิประโยชน์ที่แตกต่างกันไปตามเงื่อนไขของแต่ละมาตรา
ผู้ประกันตนมาตรา 33
ลูกจ้างที่ทำงานในสถานประกอบการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป จะได้รับความคุ้มครอง 7 กรณี
1.กรณีเจ็บป่วย
- สามารถเข้ารับการรักษาได้ฟรี ณ สถานพยาบาลตามสิทธิ
2.กรณีคลอดบุตร
- จะได้รับเงินสงเคราะห์การคลอดบุตร 15,000 บาท (ไม่จำกัดจำนวนครั้ง)
- เงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อคลอดบุตร จ่าย 50% ของค่าจ้างเฉลี่ย (เป็นเวลา 90 วัน)
3.กรณีทุพพลภาพ
- เงินทดแทนการขาดรายได้ 50% ของค่าจ้าง
- ถ้าทุพพลภาพรุนแรงได้รับตลอดชีวิต
4.กรณีเสียชีวิต
- ค่าทำศพ 50,000 บาท
- เงินสงเคราะห์กรณีเสียชีวิตให้กับทายาท (คิดตามระยะเวลาส่งเงินสมทบ)
5.กรณีชราภาพ
- บำเหน็จชราภาพ (เงินก้อน) กรณีส่งเงินสมทบไม่ถึง 180 เดือน
- บำนาญชราภาพ (เงินรายเดือน) กรณีส่งเงินสมทบครบ 180 เดือนขึ้นไป
6.กรณีสงเคราะห์บุตร
- ได้รับเงินช่วยเหลือ 800 บาท/ต่อเดือน ต่อบุตร 1 คน (อายุไม่เกิน 6 ปี) จำกัดสูงสุด 3 คน
7.กรณีว่างงาน
- กรณีถูกเลิกจ้างได้รับเงิน 50% ของค่าจ้างเฉลี่ย นานสูงสุด 6 เดือน
- กรณีลาออกเองได้รับเงิน 30% ของค่าจ้างเฉลี่ย นานสูงสุด 3 เดือน
ผู้ประกันตนมาตรา 39
ผู้ที่เคยเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 แล้วลาออกจากงาน แต่ยังต้องการรักษาสิทธิประกันสังคมไว้ จะได้รับความคุ้มครอง 6 กรณี
1.กรณีเจ็บป่วย
-สามารถเข้ารับการรักษาได้ฟรี ณ สถานพยาบาลตามสิทธิ
2.กรณีคลอดบุตร
- จะได้รับเงินสงเคราะห์การคลอดบุตร 15,000 บาท (ไม่จำกัดจำนวนครั้ง)
- เงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อคลอดบุตร จ่าย 50% ของค่าจ้างเฉลี่ย (เป็นเวลา 90 วัน)
3.กรณีทุพพลภาพ
- เงินทดแทนการขาดรายได้ 50% ของค่าจ้าง
- ถ้าทุพพลภาพรุนแรงได้รับตลอดชีวิต
4.กรณีเสียชีวิต
- ค่าทำศพ 50,000 บาท
- เงินสงเคราะห์กรณีเสียชีวิตให้กับทายาท (คิดตามระยะเวลาส่งเงินสมทบ)
5.กรณีชราภาพ
- บำเหน็จชราภาพ (เงินก้อน) กรณีส่งเงินสมทบไม่ถึง 180 เดือน
- บำนาญชราภาพ (เงินรายเดือน) กรณีส่งเงินสมทบครบ 180 เดือนขึ้นไป
6.กรณีสงเคราะห์บุตร
- ได้รับเงินช่วยเหลือ 800 บาท/ต่อเดือน ต่อบุตร 1 คน (อายุไม่เกิน 6 ปี) จำกัดสูงสุด 3 คน
ผู้ประกันตนมาตรา 40
ผู้ที่ประกอบอาชีพอิสระหรือแรงงานนอกระบบ จะได้รับความคุ้มครอง โดยขึ้นอยู่กับทางเลือกในการจ่ายเงินสมทบ มี 3 แผนทางเลือก
ทางเลือกที่ 1
จ่ายเงินสมทบ 70 บาท/ต่อเดือน จะได้รับความคุ้มครอง 3 กรณี
1.กรณีเจ็บป่วย สามารถเข้ารับการรักษาได้ฟรี ณ สถานพยาบาลตามสิทธิ
2.กรณีทุพพลภาพ จะได้รับเงินบำนาญทุพพลภาพ
3.กรณีเสียชีวิต ทายาทจะได้รับเงินสงเคราะห์กรณีเสียชีวิต
ทางเลือกที่ 2
จ่ายเงินสมทบ 100 บาท/ต่อเดือน จะได้รับความคุ้มครอง 4 กรณี
1.กรณีเจ็บป่วย สามารถเข้ารับการรักษาได้ฟรี ณ สถานพยาบาลตามสิทธิ
2.กรณีทุพพลภาพ จะได้รับเงินบำนาญทุพพลภาพ
3.กรณีเสียชีวิต ทายาทจะได้รับเงินสงเคราะห์กรณีเสียชีวิต
4.กรณีชราภาพ จะได้รับเงินบำนาญชราภาพ
ทางเลือกที่ 3
จ่ายเงินสมทบ 300 บาท/ต่อเดือน จะได้รับความคุ้มครอง 5 กรณี
1.กรณีเจ็บป่วย สามารถเข้ารับการรักษาได้ฟรี ณ สถานพยาบาลตามสิทธิ
2.กรณีทุพพลภาพ จะได้รับเงินบำนาญทุพพลภาพ
3.กรณีเสียชีวิต ทายาทจะได้รับเงินสงเคราะห์กรณีเสียชีวิต
4.กรณีชราภาพ จะได้รับเงินบำนาญชราภาพ
5.กรณีสงเคราะห์บุตร จะได้รับเงินสงเคราะห์บุตร
Advertisement