การปลอมลายเซ็นในเอกสารราชการ ถือเป็นความผิดที่มีบทลงโทษรุนแรงตามกฎหมายของประเทศไทย โดยเฉพาะเมื่อเอกสารนั้นเกี่ยวข้องกับการบริหารราชการ หรือการดำเนินการที่มีผลต่อสิทธิ์และผลประโยชน์ของประชาชนและหน่วยงานต่าง ๆ
เนื่องจากเอกสารราชการมีความสำคัญและมีผลผูกพันทางกฎหมายสูง การปลอมแปลงจึงถือเป็นการทำลายความน่าเชื่อถือของระบบราชการและอาจก่อให้เกิดความเสียหายอย่างกว้างขวาง
ความผิดตามกฎหมาย
การปลอมลายเซ็นในเอกสารราชการจัดอยู่ในความผิดทางอาญา และมีกฎหมายที่ควบคุมการกระทำดังกล่าวอย่างชัดเจนตามประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา 265 ผู้ใดปลอมเอกสารสิทธิหรือเอกสารราชการ โทษจำคุก 6 เดือน ถึง 5 ปี และปรับตั้งแต่ 10,000-100,000 บาท
มาตรา 266 ผู้ใดปลอมเอกสารสำคัญ เอกสารสิทธิที่เป็นเอกสารราชการ พินัยกรรม ใบหุ้น ใบหุ้นกู้ใบสำคัญของใบหุ้นหรือใบหุ้นกู้ ตั๋วเงิน หรือบัตรเงินฝาก โทษจำคุกตั้งแต่ 1-10 ปี และปรับตั้งแต่ 20,000-200,000 บาท
มาตรา 267 แจ้งให้เจ้าพนักงานของรัฐ จดข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารมหาชนหรือเอกสารราชการ ด้วยวัตถุประสงค์สำหรับใช้เป็นพยานหลักฐาน เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน โทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 268 ใช้หรืออ้างเอกสารอันเกิดจากการกระทำความผิดตามมาตรา 265 มาตรา 266 หรือมาตรา 267 ให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน ต้องระวางโทษดังที่บัญญัติไว้ในมาตรานั้น ๆ
การกระทำที่เข้าข่ายความผิด
การปลอมลายเซ็นในเอกสารราชการสามารถเกิดขึ้นได้ในหลายกรณี ที่อาจดูเหมือนเล็กน้อยแต่ผลกระทบที่เกิดขึ้นนั้นมีความร้ายแรง ตัวอย่างที่ถือว่าเป็นการปลอมลายเซ็น
เซ็นแทนผู้มีอำนาจ - เมื่อบุคคลหนึ่งเซ็นลายเซ็นแทนหัวหน้าหน่วยงานหรือเจ้าหน้าที่โดยไม่ได้รับมอบหมายอำนาจอย่างเป็นทางการ
ปลอมลายเซ็นในเอกสารราชการ - การปลอมลายเซ็นในหนังสือราชการ เช่น ใบอนุมัติ งบประมาณ หรือสัญญาต่าง ๆ โดยไม่ผ่านการตรวจสอบหรืออนุมัติจากผู้มีอำนาจ
การใช้เอกสารปลอมเพื่อทุจริต - การใช้เอกสารปลอมเพื่อหลีกเลี่ยงกฎหมาย หรือก่อให้เกิดการเบิกจ่ายเงินจากภาครัฐโดยไม่ชอบ
การตรวจสอบเอกสารและลายเซ็นอย่างรอบคอบจึงเป็นสิ่งสำคัญในการป้องกันปัญหานี้ ไม่ควรเซ็นเอกสารโดยไม่อ่านให้ละเอียดหรือเซ็นแทนบุคคลอื่นโดยไม่ได้รับมอบหมายอย่างเป็นทางการ เพื่อหลีกเลี่ยงการตกเป็นผู้กระทำความผิด
Advertisement