Logo site Amarintv 34HD
Logo LiveSearch
Search
Logo Live
Logo site Amarintv 34HD
ช่องทางติดตาม AMARINTV
  • facebook AMARIN TV 34 HD
  • x AMARIN TV 34 HD
  • line AMARIN TV 34 HD
  • youtube AMARIN TV 34 HD
  • instagram AMARIN TV 34 HD
  • tiktok AMARIN TV 34 HD
  • RSS Feed AMARIN TV 34 HD
พันธุ์กัญชาไทย 4 สายพันธุ์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์รับรองแล้ว

พันธุ์กัญชาไทย 4 สายพันธุ์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์รับรองแล้ว

30 พ.ค. 65
16:01 น.
|
51K
แชร์

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ สามารถจดทะเบียนรับรองพันธุ์กัญชาไทย กัญชาสายพันธุ์ไทย 4 สายพันธุ์ได้สำเร็จ 

 

นพ.ภูวเดช สุระโคตร ผู้ช่วยปลัดกระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับกองกฎหมาย ผลักดันระเบียบให้หน่วยงานในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข รับจ้างผลิต สกัด กัญชา กัญชง ได้สำเร็จ และจะเป็นการเปิดโอกาสให้ภาคเอกชน และวิสาหกิจชุมชนได้มีผลิตภัณฑ์กัญชา กัญชงเป็นของตนเอง ด้าน กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ สามารถจดทะเบียนรับรองกัญชาสายพันธุ์ไทย 4 สายพันธุ์ ได้สำเร็จคือ

 

พันธุ์กัญชาไทย กัญชาสายพันธุ์ไทย 4 สายพันธุ์

  1. กัญชาไทยพันธุ์ตะนาวศรีก้านขาว มีลักษณะของช่อดอกเป็นกระจุกแน่นที่ปลายกิ่ง มีช่อดอกจำนวนมาก มีทรงต้นที่เป็นพุ่ม และมีกลิ่นที่เฉพาะตัว หอมคล้ายเปลือกส้มผสมกลิ่นตะไคร้ มีกลิ่นฉุนน้อยกว่าพันธุ์หางเสือ
  2. กัญชาไทยพันธุ์ตะนาวศรีก้านแดง มีช่อดอกจำนวนมากเช่นเดียวกับพันธุ์ตะนาวศรีก้านขาว แต่มีลักษณะพิเศษที่แตกต่างคือ มีสีแดงที่กิ่ง ก้าน และก้านใบ มีกลิ่นหอมหวานคล้ายกลิ่นผลไม้สุกและไม่มีกลิ่นฉุน เป็นกัญชาพันธุ์ที่ให้สาร CBD สูง เหมาะสำหรับนำไปใช้ประโยชน์ทางการแพทย์และสาธารณสุข 
  3. กัญชาไทยพันธุ์หางเสือ มีลักษณะของช่อดอกยาว เป็นพวงยาวคล้ายหางเสือ มีกลิ่นเฉพาะตัวหอมคล้ายเปลือกส้ม และมีกลิ่นฉุนเล็กน้อย 
  4. กัญชาไทยพันธุ์หางกระรอก หรืออีกชื่อที่เป็นที่รู้จักคือ “ไทยสติ๊ก (Thai Stick)” สายพันธุ์กัญชานี้ขึ้นชื่อว่าเป็นหนึ่งในสายพันธุ์ที่ดีสุดในโลก เพราะมีค่า THC (Tetrahydrocannabinol) หรือสารที่ทำให้เคลิ้ม และนิยมใช้ในการรักษาอยู่ในระดับที่สูงมาก ราว ๆ 18-22 เปอร์เซ็นต์เลยทีเดียว ส่วนสรรพคุณของหางกระรอกนั้นก็เหมือนกับกัญชาตัวอื่นๆ ช่วยให้รู้สึกเคลิ้ม ลดความเครียด ช่วยให้เจริญอาหาร 
     

อย่างไรก็ตาม กรมการแพทย์ได้ศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนาขยายขอบเขตการใช้กัญชาไทยให้กว้างขวางมากยิ่งขึ้น ล่าสุดศึกษาวิจัยเบื้องต้นพบว่า กัญชาอาจมีผลช่วยลดการอักเสบของปอด และในอนาคตอาจนำมาใช้รักษาโรคโควิด-19 ได้ และกำลังเร่งศึกษาวิจัยเพื่อให้ได้ข้อสรุปที่ชัดเจนอีกครั้ง

 

สายพันธุ์กัญชายอดนิยม

กัญชาเป็นพืชสกุล Cannabis อยู่ในวงศ์ Cannabaceae มี 3 สายพันธุ์ที่พบบ่อย ได้แก่

  • สายพันธุ์ซาติวา (Cannabis sativa)
  • สายพันธุ์อินดิกา (Cannabis indica)
  • สายพันธุ์รูเดอราลิส (Cannabis ruderalis) ส่วนคำว่ามาลีฮวนน่า (Marijuana) เป็นคำแสลงที่ใช้ส่วนดอกของต้นกัญชานำมาสูบ

 

กัญชาพันธุ์ซาติวา (Cannabis sativa)

เป็นภาษาละติน แปลว่า เพาะปลูก ตั้งโดย คาโรรัส ลินเนียส Carolus Linnæus หรือ Carl Linnaeus) นักพฤกษศาสตร์ชาวสวีเดน โดยจัดวงศ์พืชชนิดนี้ไว้เมื่อปี ค.ศ. 1753 (พ.ศ. 2296) มีแหล่งกำเนิดบริเวณเส้นศูนย์สูตร เช่น โคลัมเบีย เม็กซิโก (ทวีปอเมริกา) ตอนกลางของทวีปแอฟริกา และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ซาติวามีลำต้นหนา ความสูงเมื่อเติบโตเต็มที่ประมาณ 6 เมตร ใบยาว เรียว สีเขียวอ่อน (เมื่อเทียบกับอินดิกา) ระยะเวลาการเติบโตพร้อมเก็บเกี่ยว 9-16 สัปดาห์ ชอบแดดและ อากาศร้อน ซาติวามีสาร THC (Tetrahydrocannabinol) ที่ออกฤทธิ์กระตุ้นประสาท (Psychoactive) สูงกว่าอินดิกา

 

กัญชาพันธุ์อินดิกา (Cannabis indica)

ผู้ค้นพบสายพันธุ์นี้คือ ฌอง-แบ๊บติสท์ ลามาร์ค (Jean-Baptiste Lamarck) ทหารนักชีววิทยา ชาวฝรั่งเศส ผู้ตั้งชื่อและตีพิมพ์ความรู้เรื่องกัญชาสายพันธุ์นี้ในปี ค.ศ. 1785 (พ.ศ. 2328) กัญชาสายพันธุ์อินดิกาได้ชื่อตามแหล่งกำเนิดที่ค้นพบในอินเดียและบริเวณตะวันออกกลาง

อินดิกามีลำต้นพุ่มเตี้ย ความสูงเมื่อเติบโตเต็มที่ประมาณ 180 เซนติเมตร ใบกว้าง สั้น สีเขียวเข้ม (เมื่อเทียบกับซาติวา) กิ่งก้านดกหนา ระยะเวลาการเติบโตพร้อมเก็บเกี่ยว 6-8 สัปดาห์ ชอบที่ร่มและอากาศเย็น อินดิกามีสาร CBD (Cannabidiol) ซึ่งออกฤทธิ์ระงับ ประสาท (Sedative) ทำให้กล้ามเนื้อผ่อนคลาย ลดอาการปวดเรื้อรัง

 

กัญชาพันธุ์รูเดอราลิส (Cannabis ruderalis)

ผู้ตีพิมพ์เรื่องราวกัญชาสายพันธุ์นี้คนแรก คือ นักพฤกษศาสตร์ชาวรัสเชีย ดี.อี. จานิสเชสกี้ (D. E. Janischewsky) เมื่อปี ค.ศ. 1924 (พ.ศ. 2467) กัญชาสายพันธุ์รูเดอราลิสมีแหล่ง กำเนิดบริเวณตอนกลางและตะวันออกของทวีปยุโรป

รูเดอราลิส มีลำต้นเตี้ยที่สุดในบรรดา 3 สายพันธุ์ ดูคล้ายวัชพืช ใบกว้างมี 3 แฉก เติบโตเร็ว อยู่ได้ทั้งอากาศร้อนและเย็น ปริมาณสาร THC น้อย (เมื่อเทียบกับสองสายพันธุ์แรก) แต่มี CBD สูง มักนำไปผสมข้ามสายพันธุ์ (hybrid) กับซาติวาและอินดิกา เพื่อให้ได้ คุณสมบัติทางยา

 

ข้อมูลจาก: กัญชาทางการแพทย์

Advertisement

แชร์
พันธุ์กัญชาไทย 4 สายพันธุ์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์รับรองแล้ว